จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์
ประวัติการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง อาจจะกล่าวได้ว่า ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่มีประวัติการก่อสร้างที่นานที่สุดของไทย จากความคิดริเริ่มในการก่อสร้างในปี 2491 จนกระทั่งท่าเทียบเรือท่าแรกของท่าเรือแหลมฉบังเริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกในปี 2534 รวมระยะเวลาถึง 43 ปี ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ส่วน คือ - ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเพื่อหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมและออกแบบก่อสร้างท่าเรือ การดำเนินงานช่วงนี้ใช้เวลายาวนานถึง 33 ปี (พ.ศ. 2495-2528) ทำการศึกษาไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง ดำเนินการศึกษาทั้งโดยหน่วยงานของรัฐ และว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาถึง 4 บริษัท บางบริษัททำการศึกษามากกว่า 1 ครั้ง ได้แก่ - กระทรวงคมนาคมร่วมกับกองทัพเรือ ทำการศึกษา 1 ครั้ง ในปี 2495 - บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ NEDECO (Netherlands Engineering Consultants) ทำการศึกษา 3 ครั้ง ในปี 2504 ปี 2511 และปี 2520 - บริษัท Lyon Associates, King และ Gavaris ทำการศึกษา 1 ครั้งในปี 2510 - บริษัท Louis Berger ทำการศึกษา 2 ครั้ง ในปี 2516 และ 2525 - กลุ่มบริษัท PASS Consortium ทำการศึกษา 1 ครั้ง ในปี 2528 -ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างท่าเรือ หลังจากที่กลุ่มบริษัท PASS Consortium ออกแบบก่อสร้างท่าเรือแล้วเสร็จในวันที่ 30 มิถุนายน 25281 งานก่อสร้างเริ่มเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2530 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 48 เดือน โดยบริษัท อิตาเลียน เดเวลลอปเมนท์และคณะ การก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือเอนกประสงค์เป็นท่าแรกในวันที่ 21 มกราคม 25342
หากพิจารณาในเชิงการบริหาร โครงการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งภาคตะวันออก
ท่าเรือแหลมฉบังตั้งอยู่ที่ ละติจูดที่ 13 ํ 05' องศาเหนือ ลองกิจูด 100 ํ53' ตะวันออก6ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 110 กิโลเมตร การบริหารท่าเรือและประกอบการท่าเรือ ท่าเรือแหลมฉบังมีลักษณะเป็น Landlord Port กล่าวคือ ท่าเรือมีการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าของ และเป็นผู้บริหารงานท่าเรือโดยรวม การบริหารและประกอบการท่าเทียบดำเนินการโดยให้ผู้ประกอบการเอกชนเช่าประกอบการ7 ท่าเรือเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ. 2534 ปัจจุบันมีท่าเทียบเรือเปิดให้บริการแล้ว 15 ท่า คือ ท่าเทียบเรือชุด A ชุด B และชุด C และท่าเทียบเรือชุด D ซึ่งยังไม่ได้ก่อสร้างและให้บริการ 3 ท่า รวมเป็น 18 ท่า มีบริษัทเอกชนบริหารและประกอบการโดยเอกชน 12 บริษัท โดยบริษัทที่บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือในท่าเรือแหลมฉบังมีทั้งสายเดินเรือ ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการท่าเรือ ได้แก่ - กลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือ บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ต โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทฮ่องกงบริหารและประกอบการท่าเรือต่าง ๆ ทั่วโลก บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี 25498 ประกอบด้วยบริษัทในเครือ 3 บริษัท บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือในท่าเรือแหลมฉบัง 8 ท่า คือ9 1) บริษัท ไทยแหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด ประกอบการท่าเทียบเรือ A2 2) บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด ประกอบการท่าเทียบเรือ 6 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรือ A3 ท่าเทียบเรือ C1, C2 และท่าเทียบเรือ D1, D2, D3 3) บริษัท ฮัทชิสัน โร-โร เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบการท่าเทียบเรือ C0 - กลุ่ม LCB 1 ประกอบด้วยบริษัทในเครือ 2 บริษัท คือ 1) บริษัท แอลซีบี คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล 1 จำกัด หรือ LCB 1 บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ B1 2) บริษัท แอล ซี เอ็ม ที จำกัด บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ A0 - กลุ่ม LCIT หรือ บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินัล จำกัดบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ 2 ท่า คือ ท่าเทียบเรือ B5 และท่าเทียบเรือ C3 - บริษัท แหลมฉบังครูซเซ็นเตอร์ จำกัด บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ A1 - บริษัท อ่าวไทยคลังสินค้า จำกัด บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ A4 - บริษัท อีสเทริน์ ซี แหลมฉบัง จำกัด หรือ ESCO บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ B3 อย่างไรก็ตามบริษัท ESCO ยังถือหุ้นโดยผู้บริหารของบริษัท แอลซีบี คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล 1 จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ B1 - บริษัท ที ไอ พี เอส จำกัด หรือ TIPS บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ B4
สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือ ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังมีแอ่งจอดเรือ (Basin) 2 แอ่ง มีลักษณะเป็นรูปตัว U ได้แก่ แอ่งจอดเรือที่ 1 ขนาดกว้าง 450 เมตร ยาว 1,600 เมตร ความลึกบริเวณแอ่งจอดเรือ 14 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขื่อนกั้นคลื่นยาว 1,300 เมตร สามารถรับเรือขนาด Panamax (ขนาด 60,000-80,000 dwt)10 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 11 ท่า คือ ท่าเทียบเรือ ชุด A จำนวน 6 ท่า ได้แก่ A0, A1, A2, A3, A4 และ A5 และท่าเทียบเรือชุด B จำนวน 5 ท่า ได้แก่ B1, B2, B3, B4 และ B511 แอ่งจอดเรือที่ 2 ขนาดกว้าง 500 เมตร ยาว 1,800 เมตร ความลึกบริเวณแอ่งจอดเรือ 16 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขื่อนกั้นคลื่นยาว 1,900 เมตร (รวมกับแอ่งจอดเรือที่ 1 มีความยาวรวม 3,200 เมตร) สามารถรับเรือขนาด Post Panamax (ขนาด 80,000 dwt)12 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือชุด C จำนวน 4 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรือ C0, C1, C2 และ C3 และท่าเทียบเรือชุด D จำนวน 3 ท่า ได้แก่ D1, D2 และ D313
ท่าเทียบเรือในแอ่งจอดเรือทั้งสองประกอบด้วยท่าเทียบเรือต่าง ๆ ดังนี้ ท่าเทียบเรือสินค้าตู้ ท่าเรือแหลมฉบังมีท่าเทียบเรือตู้สินค้า 11 ท่าเรือ เป็นท่าเทียบเรือในแอ่งจอดเรือที่ 1 จำนวน 5 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรือ B1, B2, B3, B4 และ B5 ความยาวหน้าท่ารวม 1,600 เมตร ขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ 3.2 ล้านTEUsต่อปี และในแอ่งที่ 2 จำนวน 6 ท่า ได้แก่ ท่าเทียบเรือ C1, C2, และC3 ความยาวหน้าท่ารวม 1,700 เมตร มีขีดความสามารถในการรับตู้สินค้า 3.4 ล้านตู้ต่อปี และท่าเทียบเรือ D1, D2 และ D3 ความยาวหน้าท่ารวม 1,700 เมตร มีขีดความสามารถในการรับตู้สินค้า 3.4 ล้านตู้ต่อปี14 ทำให้ท่าเรือแหลมฉบังมีขีดความสามารถในการรับตู้สินค้ารวม 10 ล้านTEUs ต่อปี
ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป สินค้าเทกอง และท่าเรือโดยสาร ท่าเรือแหลมฉบังมีท่าเรือที่ให้บริการสินค้าทั่วไป สินค้าเทกอง และท่าเทียบเรือโดยสาร จำนวน 7 ท่า เป็นท่าเทียบเรือในท่าเทียบเรือชุด A 6 ท่า ได้แก่ A0, A1, A2, A3, A4 และ A5 และท่าเทียบเรือในท่าเทียบเรือชุด C 1 ท่า ได้แก่ C0 โดยมีรายละเอียดดังนี้ - ท่าเทียบเรือ A0 เป็นท่าเทียบเรือชายฝั่ง ความยาวหน้าท่า 590 เมตร ความลึกหน้าท่า 10 เมตร ขีดความสามารถในการรับเรือ 1,000 dwt และความสามารถรองรับสินค้าทั่วไปที่ขนส่งโดยเรือลำเลียง เรือเดินทะเลชายฝั่ง และเรือสินค้าทั่วไป ปีละประมาณ 750,000 ตัน ปัจจุบันสินค้าผ่านท่าส่วนใหญ่เป็นตู้สินค้า - ท่าเทียบเรือ A1 เป็นท่าเทียบเรือโดยสารและท่าเทียบเรือรถยนต์ (โร-โร)
- ท่าเทียบเรือ A2 เป็นท่าเรือเอนกประสงค์ ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วไปและตู้สินค้า ความยาวหน้าท่า 400 เมตร ความลึกหน้าท่า 14 เมตร ขีดความสามารถในการรับเรือ 50,000 dwt มีสมรรถวิสัยในการรับสินค้าปีละประมาณ 0.6 ล้านเมตริกตัน และรับตู้สินค้าได้ปีละประมาณ 0.4 ล้านTEUs - ท่าเทียบเรือ A3 เป็นท่าเรือเอนกประสงค์ ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วไปและตู้สินค้า ความยาวหน้าท่า 350 เมตร ความลึกหน้าท่า 14 เมตร ขีดความสามารถในการรับเรือ 83,000 dwt สามารถรองรับตู้สินค้าได้ปีละ 0.4 ล้านTEUs
- ท่าเทียบเรือ A5 เป็นท่าเทียบเรือโร-โร เพื่อรองรับรถยนต์ส่งออก ประมาณปีละ 700,000 คัน ความยาวหน้าท่า 527 เมตร ความลึกหน้าท่า 14 เมตร ขีดความสามารถในการรับเรือ 70,000 dwt - ท่าเทียบเรือ C0 เป็นท่าเทียบเรือโร-โร ความยาวหน้าท่า 500 เมตร ความลึกหน้าท่า 16 เมตร ขีดความสามารถในการรับเรือ 80,000 dwt
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อู่ต่อเรือ ตั้งอยู่ในพื้นที่สำรองด้านเหนือสุดของท่าเทียบเรือฝั่ง A ประกอบการ โดยบริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เช่าพื้นที่ถมทะเลด้านเหนือ ประมาณ 300 ไร่ ประกอบด้วยอู่ลอย (Floating Dock) 2 อู่ สามารถซ่อมเรือขนาดไม่เกิน 140,000 dwt ความยาวไม่เกิน 282 เมตร น้ำหนักตัวเรือไม่เกิน 40,000 ตัน แผนพัฒนาท่าเรือในอนาคต ได้มีการประมาณการณ์ว่าท่าเรือแหลมฉบังจะมีสินค้าผ่านท่ามากกว่า 10 ล้านTEUs ในปี 2558 ซึ่งเกินขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังในขั้นที่ 1 และ 215 ได้แก่ ท่าเทียบเรือตู้สินค้า ชุด B, C และ D ดังนั้นจึงมีการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม และออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 316 โดยจะก่อสร้างท่าเทียบเรือเพิ่มอีก 9 ท่า แบ่งเป็น ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 7 ท่า ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป/ตู้สินค้า 1 ท่า และท่าเทียบเรือโดยสาร 1 ท่า ท่าเทียบเรือเหล่านี้มีขีดความสามารถรับเรือขนาด 100,000 dwt และมีขีดความสามารถในการรับตู้สินค้า 8 ล้านTEUs ปัจจุบันการศึกษาดังกล่าวอยู่ในช่วงพิจารณาผลกระทบด้านต่าง ๆ เช่น สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่17 บทความที่เกี่ยวข้อง สุมาลี สุขดานนท์. การตำนานการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งภาคตะวันออก. [สายตรง] สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. แหล่งที่มา: http://www.tri.chula.ac.th/trireserch/leamchabang/history.html งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กิตติ ลิ่มสกุล. การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพาณิชยนาวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.แหล่งที่มา: http://www.tri.chula.ac.th/trireserch/bangkokport/abs3.html สุภัตรา โล่ห์วัชระกุลและคณะ. ท่าเรือและการใช้ท่าเรือของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันธุรกิจพาณิชยนาวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532.แหล่งที่มา: http://www.tri.chula.ac.th/trireserch/bangkokport/abs1.html สุมาลี สุขดานนท์และคณะ. การศึกษาศักยภาพจลของท่าเรือไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.แหล่งที่มา: http://www.tri.chula.ac.th/trireserch/bangkokport/abs2.html สุมาลี สุขดานนท์และคณะ. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.แหล่งที่มา: http://www.tri.chula.ac.th/trireserch/bangkokport/abs4.html อิทธิพล ปานงามและคณะ. การศึกษาปัจจัยเปรียบเทียบศักยภาพของท่าเรือในภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพาณิชยนาวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.แหล่งที่มา: http://www.tri.chula.ac.th/trireserch/singaporeport/abs2.html 1 เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 3 (กันยายน-ธันวาคม 2532).10-11. 2ท่าเรือแหลมฉบัง. เกี่ยวกับ ทลฉ /ข้อมูลทั่วไปท่าเรือแหลมฉบัง/ประวัติท่าเรือแหลมฉบัง [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.laemchabangport.com/lcp/Internet/TH/lcp_history2.php [9 สิงหาคม 2554]. 3 สำนักงานเลขาการคณะรัฐมนตรี. ประวัตินายกรัฐมนตรี. [สายตรง]. 2554. แหล่งมที่มา: http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb_main21.htm [26 สิงหาคม 2554]. 4เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 1. 5สำนักงานเลขาการคณะรัฐมนตรี. ประวัตินายกรัฐมนตรี. [สายตรง]. 6Charles W. Fairplay Ports Guide 1999-2000, Volume 3. (United Kingdom: Fairplay Publications, n.d.), p. 3749. 7ท่าเรือแหลมฉบัง. เกี่ยวกับท่าเรือแหลมฉบัง/ข้อมูลทั่วไป [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.laemchabangport.com/lcp/Internet/TH/lcp_general1.php [27 กรกฎาคม 2554]. 8Hutchison Port Thailand. Background [Online]. Available from: http://www.tlt-th.com/profile.asp#background [1 October 2008]. 9ท่าเรือแหลมฉบัง. ผู้ประกอบการท่าเรือ [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.laemchabangport.com [2 ตุลาคม 2551]. 10การท่าเรือแห่งประเทศไทย.ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3/การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง/ผลิใบขยายกิ่งก้านแรก (โครงการขั้นที่ 1) [สายตรง]. โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม และออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 แหล่งที่มา: http://www.laemchabangportphase3.com/port_02.html [27 กรกฎาคม 2554]. 11ท่าเรือแหลมฉบัง. ผู้ประกอบการท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ A และท่าเทียบเรือ B [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.laemchabangport.com/lcp/Internet/TH/terminal.php [27 กรกฎาคม 2554]. 12การท่าเรือแห่งประเทศไทย. ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3/การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง/แตกหน่อเสริมศักยภาพ (โครงการขั้นที่ 2) [สายตรง].โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม และออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 แหล่งที่มา: http://www.laemchabangportphase3.com/port_02.html [27 กรกฎาคม 2554]. 13ท่าเรือแหลมฉบัง. ผู้ประกอบการท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ A และท่าเทียบเรือ B [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.laemchabangport.com/lcp/Internet/TH/terminal.php [27 กรกฎาคม 2554]. 14ท่าเรือแหลมฉบัง. เกี่ยวกับท่าเรือแหลมฉบัง/ข้อมูลท่าเรือแหลมฉบัง/ผู้ประกอบการท่าเรือ [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.laemchabangport.com/lcp/Internet/TH/terminal_c1.php [28กรกฎาคม 2554]. 15การท่าเรือแห่งประเทศไทย. ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3/พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง/สู่การขนส่งอย่างยั่งยืน [สายตรง]. โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม และออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 แหล่งที่มา: http://www.laemchabangportphase3.com/port_04.html [26 สิงหาคมคม 2554]. 16การท่าเรือแห่งประเทศไทย. ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3/ดาวน์โหลดเอกสาร/การสัมมนาครั้งที่ 1/สื่อการสัมมนาครั้งที่ 1/power point [สายตรง]. โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม และออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 แหล่งที่มา: http://www.laemchabangportphase3.com/Present_01.html [26 สิงหาคมคม 2554]. 17การท่าเรือแห่งประเทศไทย. ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3/พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง/สู่การขนส่งอย่างยั่งยืน [สายตรง]. |
|