ตำนานการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งภาคตะวันออก

จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์
ปีที่จัดทำ : สิงหาคม 2554

        ในขณะที่เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับการนำเข้า-ส่งออกของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือหลักของประเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้งทั้งบนบกและในน้ำ กล่าวคือ เป็นท่าเรือแม่น้ำซึ่งร่องน้ำไม่สามารถรองรับเรือสินค้าขนาดเกิน 12,000 เดดเวทตัน และตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่ออกไปได้ รัฐบาลในทุกยุคทุกสมัยมีความคิดที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่ชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศ ตลอดระยะเวลาโครงการก่อสร้างท่าเรือต้องพบกับอุปสรรคนานัปการ แต่ในที่สุด ท่าเรือแหลมฉบัง ได้ก่อสร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าทางทะเลของประเทศ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมประวัติการศึกษาและก่อสร้างท่าเรือในชายฝั่งภาคตะวันออก ซึ่งทั้งหมดใช้เวลายาวนานถึง 43 ปี กล่าวคือ นับตั้งแต่มีความคิดที่จะก่อสร้างในปี พ.ศ.2491 จนกระทั่งท่าเทียบเรือท่าแรกในท่าเรือแหลมฉบังเริ่มดำเนินการในปี 2534

2491 ริเริ่มความคิดการก่อสร้างท่าเรือใหม่

        เมื่อท่าเรือกรุงเทพเปิดให้บริการในปี 2490 ให้หลังเพียง 1 ปี ประเทศไทยก็มีความคิดที่จะสร้างท่าเรือแห่งใหม่ โดยในปี 2491 เกิดอัคคีภัยในตลาดศรีราชา จังหวัดชลบุรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม
จอมพล ป.
พิบูลสงคราม
ที่มา : เครือข่าย
ข้อมูลกาญจนาภิเษก.
เจ้าผู้ครองนครลพบุรี
จอมพล ป. พิบูลสงคราม

. [สายตรง] แหล่งที่มา:
http://kanchanap
isek.or.th/kp8/lbr/lbr202.htm

[27 กรกฎาคม 2554].
ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอให้ต่อกระทรวงคมนาคม ออกแบบวางผังเมืองใหม่เพื่อก่อสร้างท่าเรือ แต่กรมเจ้าท่าคัดค้านความคิดดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าชายหาดศรีราชามีหินปะการังและชายฝั่งน้ำตื้นมาก ไม่สามารถจอดเรือใกล้ฝั่งได้ จึงไม่เหมาะสมที่จะวางผังเมืองให้เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่ากระทรวงมหาดไทยจะยืนยันให้มีการสร้างท่าเรือแห่งใหม่ หากศรีราชาไม่เหมาะสมก็ควรพิจารณาทำเลที่อื่น1 แต่ก็มิได้มีการศึกษาหรือก่อสร้างท่าเรือแต่อย่างใด

ศึกษาและออกแบบก่อสร้างท่าเรือ (2495-2528)

         แนวคิดการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่ชายฝั่งตะวันออกปรากฏเรื่อยมา จนนำมาสู่ขั้นตอนการศึกษาและการออกแบบท่าเรือ ซึ่งเป็นระยะเวลานานที่สุดในกระบวนการก่อสร้างท่าเรือ กล่าวคือ ใช้เวลาถึง 33 ปี การศึกษานี้รวมถึงการศึกษาเพื่อหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ซึ่งได้ทำการศึกษาทบทวนอยู่หลายครั้งระหว่างบริเวณแหลมฉบังและสัตหีบ และการศึกษาเพื่อออกแบบท่าเรือ โดยได้ทำการศึกษาไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง

การศึกษาครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2495-2503)

        หลังจากที่มีการเสนอความคิดในการก่อสร้างท่าเรือใหม่ที่ชายฝั่งภาคตะวันออกในปี 2491 ซึ่งก็ยังไม่ได้รับการขานรับในทันที จนกระทั่งอีก 4 ปีต่อมา คณะรัฐมนตรีมีข้อคิดเห็นว่า
พลเรือตรี จรูญ เฉลิมเตียรณ
ที่มา : กองทัพเรือ. รายพระนาม
และรายนามผู้บัญชาการทหารเรือ

. [สายตรง] แหล่งที่มา:
http://www.navy.mi.th/newwww/
code/picture/cnc24.htm

[27 กรกฎาคม 2554].
ในอนาคตการเดินเรือผ่านร่องน้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยามายังท่าเรือคลองเตยจะไม่ได้รับความสะดวก อีกทั้งต้องขุดลอกสันดอนไม่ให้ตื้นเขินอยู่เสมอ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรเตรียมสร้างท่าเรือเดินสมุทรขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ศรีราชา โดยใช้พื้นที่อ่าวกระสือ (อ่าวอุดม) ถึงพัทยา จึงมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2495 ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับกองทัพเรือทำการสำรวจและพิจารณาวางโครงสร้างท่าเรือที่ศรีราชา พร้อมทั้งเสนอร่างพระราชบัญญัติ เวนคืนที่ดินเพื่อสร้างท่าเรือโดยด่วน ส่งผลให้ในวันที่ 24 เมษายน 2497 ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี2 เพื่อก่อสร้างท่าเรือศรีราชา หลังจากนั้นการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้เสนอแผนผังและโครงการสร้างท่าเรือศรีราชา โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้น การก่อสร้างท่าเรือขั้นแรกต้องใช้งบประมาณ 1,051 ล้านบาท และขั้นที่ 2 เป็นเงิน 806 ล้านบาท แต่พลเรือตรี จรูญ เฉลิมเตียรณ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่า การสร้างท่าเรือนี้มีผลเสียมากกว่าผลดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติวันที่ 19 มกราคม 2501 ให้ระงับการเวนคืนที่ดินและโครงการก่อสร้างท่าเรือศรีราชาไว้ก่อน3

ในเดือนกันยายน 2501 สมาชิกสภาจังหวัดสมุทรปราการ ได้ร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกถนอม กิตติขจร ว่าการขุดร่องน้ำเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพนั้น เป็นสาเหตุให้ประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการเดือดร้อน จึงขอให้ย้ายท่าเรือออกไปที่ศรีราชา ซึ่งจะประหยัดค่าขุดลอกสันดอนลงไปได้ด้วย การท่าเรือ ฯ จึงได้เสนอโครงการการก่อสร้างท่าเรือศรีราชาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2502 ให้ทำการสำรวจทางเศรษฐกิจเพื่อก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่พร้อมทั้งหาแหล่งเงินทุนในการดำเนินการ4 ต่อมาได้มีมติในวันที่ 12 พฤษภาคม 2503 ให้ตั้งคณะกรรมการก่อสร้างท่าเรือศรีราชา (โดยคณะกรรมการชุดนี้พิจารณาการขุดคอคอดกะด้วย)5 และมีมติอีกครั้งในวันที่ 27 กันยายน ของปีเดียวกันให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาเรื่องการก่อสร้างท่าเรือรวมถึงเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับต่อเรือ6

การศึกษาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2504-2506)

        สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในวันที่ 27 กันยายน 2503 ให้กระทรวงคมนาคมรับได้ดำเนินการเรื่องการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2504 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการสำรวจภาวะเศรษฐกิจเพื่อสร้างท่าเรือใหม่ที่ศรีราชา7 โดยว่าจ้างบริษัท เนเดโก (NEDECO) ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อดำเนินการสำรวจชายฝั่งด้านตะวันออกของอ่าวไทย ผลการศึกษามีดังนี้8

        - ตั้งแต่แหลมฉบังไปจนถึงปากแม่น้ำบางปะกงแหลมฉบัง พบว่าไม่เหมาะสมที่จะก่อสร้างท่าเรือ เนื่องจากดินใต้พื้นทะเลเป็นดินเลนที่เกิดจาการทับถมของตะกอนที่ถูกน้ำพัดออกไปจากแผ่นดินเป็นชั้นหนามาก บางแห่งหนาถึง 14 เมตร หากใช้เป็นสถานที่สร้างวัตถุถาวร เช่น เขื่อนเทียบเรือ เขื่อนกันคลื่น จำเป็นต้องขุดดินเลนออกเสียก่อนแล้วถมด้วยทราย ซึ่งจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งในบริเวณน้ำลึก 10 เมตร ใต้ระดับทะเลต่ำสุด ก็อยู่ห่างไกลจากชายฝั่งมากด้วย

        - ตั้งแต่สัตหีบไปจนถึงตราด พบว่าไม่เหมาะสมเช่นกัน เนื่องจากชายฝั่งด้านนี้อยู่ประชิดกับทะเลเปิดรับคลื่นลมโดยตรง อีกทั้งพื้นดินชายฝั่งหลังท่าของสัตหีบเป็นเนินเขา ทำให้ยากลำบากในการก่อสร้างและเสียค่าก่อสร้างสูง

        การศึกษาได้เสนอแนะให้ ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่แหลมฉบัง ทั้งนี้เพราะแหลมฉบังอยู่ตอนในของอ่าวไทย คลื่นลมน้อย ดินใต้พื้นทะเลเป็นทราย ขุดลอกไม่ยากและพื้นดินชายฝั่งเป็นที่ราบจึงเหมาะสมที่สร้างท่าเรือน้ำลึก และควรให้เปิดใช้งานได้ในปี 25159

        สืบเนื่องจากผลการศึกษาข้างต้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 16 กรกฎาคม 2506 อนุมัติให้มีการลงทุนทำการสำรวจออกแบบก่อสร้างท่าเรือที่แหลมฉบัง โดยให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยขอความช่วยเหลือในการสำรวจทางวิศวกรรมเกี่ยวกับการสร้างท่าเรือศรีราชาจากกองทุนพิเศษสหประชาชาติผ่านสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติจำนวน 641,363 เหรียญสหรัฐ ฯ โดยรัฐบาลไทยต้องจ่ายสมทบเป็นเงิน 390,137 เหรียญสหรัฐ ฯโดยรัฐบาลไทยต้องเตรียมเงินสมทบโครงการเพิ่มร้อยละ 15 คิดเป็นเงินไทยประมาณ 9 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีจึงมีมติในคราวเดียวกันอนุมัติให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติผูกพันงบประมาณค่าใช้จ่ายสมทบโครงการดังกล่าวในวงเงิน 9 ล้านบาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2507 และในวันที่ 31 มีนาคม 250710 ได้รับทราบผลการดำเนินงานตามโครงการสำรวจทางเศรษฐกิจและวิศวกรรมเพื่อสร้างที่แหลมฉบัง ศรีราชา11

การศึกษาครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2509-2511)

        หลังจากการศึกษาสำรวจทำเลที่ตั้งในการก่อสร้างท่าเรือที่เหมาะสมโดยเนเดโกและคณะรัฐมนตรีได้มีมติในปี 2506 ให้ทำการสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเรือที่แหลมฉบัง แต่ดูเหมือนจะยังไม่ใช่ข้อยุติอย่างแท้จริง เพราะในวันที่ 31 พฤษภาคม 2509 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอีกครั้งให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติรับไปพิจารณาเสนอความเห็นว่าสมควรสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่ใดหรือไม่ เมื่อใด และอย่างไร เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา12 และในวันที่ 17 มิถุนายน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติได้รายงานต่อคณะรัฐมนตรี ดังนี้13

1) ควรสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังตามที่บริษัท เนเดโก เสนอแนะ

2) ควรให้กระทรวงคมนาคม สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และกรมวิเทศสหการ พิจารณาโครงการสำรวจทางวิศวกรรม และออกแบบท่าเรือแหลมฉบัง และขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ในการนี้หากการช่วยเหลือล่าช้าก็ให้ใช้งบประมาณแผ่นดิน

3) ควรรีบดำเนินการเวนคืนที่ดินตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้ราคาที่ดินสูงเกินไป ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2510 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ทำการสำรวจทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับการก่อสร้างท่าเรืออีกครั้งเพื่อเปรียบเทียบบริเวณแหลมฉบังและสัตหีบ โดยขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ให้เนเดโกสำรวจบริเวณแหลมฉบัง ส่วนการสำรวจบริเวณสัตหีบให้ขอความช่วยเหลือจากยูซอม (United States Operation Mission/ USOM)14 ซึ่งบริษัท Lyon Associates และบริษัท King and Gavaris ร่วมกับ ยูซอม ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบทำเลที่จะสร้างท่าเรือระหว่างสัตหีบกับแหลมฉบัง และสำรวจบางเสร่เพิ่มอีกแห่งหนึ่ง ผลการศึกษาปรากฏว่า ควรก่อสร้างท่าเรือที่อ่าวสัตหีบ เพราะค่าก่อสร้างถูกกว่าที่แหลมฉบัง และเสนอแนะให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือน้ำมัน ส่วนหาดทรายยาว ช่องแสมสารและบางเสร่ไม่เหมาะสมเป็นท่าเรือน้ำลึก15 อย่างไรก็ตามในวันที่ 15 สิงหาคม 2510 คณะรัฐมนตรีมีมติให้งดการสำรวจเพื่อก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นผลให้การสำรวจทำเลเพื่อก่อสร้างท่าเรือใหม่คงเป็นที่แหลมฉบังเพืยงแห่งเดียว โดยให้กรมวิเทศสหการติดต่อขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ และให้วิศวกรของการท่าเรือแห่งประเทศไทยร่วมกับผู้แทนเนเดโกจัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะทำการสำรวจภายใต้ความช่วยเหลือของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะเสนอขอกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อใช้ในการก่อสร้างต่อไป16 สำหรับค่าใช้จ่ายการสำรวจให้ใช้เงินรายได้ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย17 เป็นเงินจำนวน 8.4 ล้านบาทเพื่อเป็นเงินสมทบค่าใช้จ่ายในการสำรวจ18 และให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้ลงนามในสัญญว่าจ้างเนเดโกเพื่อทำการสำรวจและออกแบบท่าเรือ19 เป็นผลให้ในวันที่ 25 ตุลาคม 2511 การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ลงนามในสัญญาจ้างเนเดโกเพื่อสำรวจและออกแบบท่าเรือแหลมฉบัง20 และในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2511 ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี21 เพื่อก่อสร้างท่าเรือ โดยเนเดโกได้เสนอรายงานการศึกษาต่อรัฐบาลไทยในปี 251522

การศึกษาครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2515-2516)

        ในขณะที่ข้อสรุปเรื่องทำเลที่ตั้งในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ดูเหมือนจะได้ข้อยุติตั้งแต่ปี 2511 ซึ่งในปี 2515 เนเดโกได้เสนอรายงานต่อรัฐบาลไทย และในปีเองท่าเรือสัตหีบซึ่งก่อสร้างในปี 2509 เพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหารของสหรัฐ ฯ และแล้วเสร็จในปี 2512 (และในปีเดียวกัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงท่าเทียบเรือบางท่าในท่าเรือเรือสัตหีบเป็นท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าตู้)23 โอนกลับมาเป็นของรัฐบาลไทย กระทรวงคมนาคมได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐ ฯ ว่าจ้างบริษัท หลุยส์เบอร์เจอร์ ทำการศึกษาเพื่อพัฒนาท่าเรือสัตหีบให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ และในเดือนมีนาคม 2516 บริษัท ฯ ได้ส่งรายงานผลต่อกระทรวงคมนาคม ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เปรียบเทียบรายงานการศึกษาของเนเดโกกับการศึกษาของบริษัท หลุยลส์เบอร์เจอร์ แล้วปรากฏว่าการลงทุนก่อสร้างท่าเรือที่มีวิสัยสามารถ 7 ล้านตันต่อปี การลงทุนที่สัตหีบต่ำกว่าที่แหลมฉบัง ถึง 1,389.5 ล้านบาท แสดงว่า การลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือสัตหีบให้เป็นท่าเรือพาณิชย์มีความเหมาะสมกว่าที่แหลมฉบัง24 อย่างไรก็ตามสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอข้อคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรีว่า ท่าเรือสัตหีบเป็นท่าเรือทหาร ด้วยเหตุผลด้านการรักษาความปลอดภัยได้กำหนดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพเรือ เรือพาณิชย์ของเอกชนต้องขออนุญาตพิเศษเข้าเทียบท่าได้เป็นครั้งคราว จากข้อคิดเห็นดังกล่าวทำให้ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2516 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่แหลมฉบัง โดยให้เหตุผลว่าการพัฒนาท่าเรือสัตหีบเป็นท่าเรือพาณิชย์จะประสบปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย ความคล่องตัวในการดำเนินงาน ของท่าเรือ และการขยายท่าเรือในอนาคต

        อย่างไรก็ตามหลังจากปี 2516 โครงการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากประเทศไทยประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ขาดแคลนเงินทุนอย่างมาก การก่อสร้างท่าเรือใหม่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล จึงไม่สามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาอันใกล้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติวันที่ 23 ธันวาคม 2519 ให้ใช้ท่าเรือสัตหีบเป็นท่าเรือพาณิชย์ชั่วคราวจนกว่าการก่อสร้างท่าเรือที่แหลมบังจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 6 ปี26

การศึกษาครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2520-2523)

        ในปี 2520 ได้มีการจ้างเนเดโกอีกครั้งให้มาศึกษาทบทวนรายงานที่ได้ทำการศึกษาเมื่อปี 2515 เพื่อจะเร่งก่อสร้างท่าเรือตามนโยบายรัฐ จากการศึกษาครั้งนี้ เนเดโกได้ปรับปรุงผังหลักของท่าเรือที่จะก่อสร้างใหม่ที่แหลมฉบัง โดยให้ทยอยสร้างท่าเทียบเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกทุก ๆ 5 ปี ดังนี้27

        ระยะ 5 ปีแรก เพื่อรับสินค้า 4.2 ล้านตัน งบประมาณลงทุน 2,100 ล้านบาท

        ระยะ 5 ปีที่สอง เพื่อรับสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 1.9 ล้านตัน งบประมาณลงทุน 1,150 ล้านบาท

        ระยะ 5 ปีที่สาม เพื่อรับสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 2.0 ล้านตัน งบประมาณลงทุน 1,750 ล้านบาท

        ระยะ 5 ปีที่สี่ เพื่อรับสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 2.4 ล้านตัน งบประมาณลงทุน 2,000 ล้านบาท

        ในวันที่ 3 เมษายน 2521 ได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อก่อสร้างท่าเรือใหม่28 ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม 2523 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และให้กระทรวงคมนาคมเสนอรายละเอียดในการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป29

การศึกษาครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2525-2526)

         ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ได้มีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการตามที่คณะกรรมการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกได้เสนอข้อยุติเกี่ยวการกำหนดแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมหลักและท่าเรือน้ำลึก30 โดยกำหนดให้การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้และเป็นท่าเรือน้ำลึกสำหรับสินค้าทั่วไปซึ่งรวมถึงสินค้าตู้31 และมีมติอีกครั้งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2525 ให้เร่งรัดการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังโดยตั้งเป้าหมายเพื่อให้สามารถเริ่มใช้งานระยะที่ 1 ได้ภายในปี 2530 และไม่ควรเกินปี 253332

         ในปี 2525 สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ว่าจ้างบริษัทหลุยส์ เบอร์เจอร์ ทำการศึกษาเพื่อกำหนดท่าเทียบเรือ (Berth Requirement) ของท่าเรือแหลมฉบัง รายงานการศึกษาสรุปได้ว่า ในปี 253333

การศึกษาครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2527-2528)

        หลังจากที่ได้มีการผลักดันให้โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ก็ได้ข้อยุติที่แน่ชัดว่าจะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่แหลมฉบัง คณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่ 29 มีนาคม 2526 เห็นชอบในการก่อสร้างท่าเรือดังนี้34

        1) อนุมัติให้กระทรวงคมนาคมเจรจาขอรับความช่วยเหลือด้านเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งสำหรับการสำรวจออกแบบ การควบคุมงานก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง

         2) ให้กระทรวงการคลังพิจารณาความเหมาะสมในการจัดหาแหล่งเงินสมทบทั้งจากรายได้ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเงินงบประมาณ เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคสำหรับโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง

        รัฐบาลได้กู้เงินจากญี่ปุ่นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างท่าเรือเป็นเงิน 650 ล้านเยน35 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี กำหนดชำระคืนต้นเงินกู้ภายใน 30 ปี ชำระต้นเงินกู้งวดแรกในวันที่ 20 กันยายน 2536 และงวดสุดท้ายวันที่ 20 กันยายน 255636

        รัฐบาลได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา PASS Consortium ประกอบด้วย บริษัท Pacific Consultants International บริษัท Southeast Asia Technology (SEATEC) บริษัท Asian Engineering Consultants (AEC) และบริษัท AR Group Consultants เป็นผู้ออกแบบรายละเอียดท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่หนึ่ง โดยลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2527 ค่าจ้างในการออกแบบประกอบด้วยเงินกู้ 528,840,820 เยน และเงินสมทบ 33,793,523 บาท งานออกแบบเริ่มในวันที่ 7 ธันวาคม 2527 ระยะเวลาออกแบบ 1 ปี และแล้วเสร็จในวันที่ 30 มิถุนายน 2528 ซึ่งล่าช้ากว่าที่กำหนด 6 เดือน37

ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือ ( 2530-2534)

        ในวันที่ 26 มิถุนายน 2530 ได้มีการเปิดซองประกวดราคาผู้รับเหมาก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ผลการตัดสินได้พิจารณาให้บริษัท อิลาเลียน เดเวลลอปเมนท์ และคณะ (ได้แก่ บริษัท ไดโฮ คอนสตรักชั่น บริษัท ไดโต ค็อกโย และบริษัท เคร็จจิง อินเตอร์เนชั่นแนล) เป็นผู้ชนะการประกวด ราคาค่าก่อสร้างเป็นเงิน 2,029,425,769.35 ล้านบาท38 ประกอบด้วยเงินกู้จากประเทศญี่ปุ่น 7,930,204,430.60 ล้านเยน เงินสมทบ 608,827,730.81 ล้านบาท งานก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 1 เป็นไปตามที่บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาได้ออกแบบไว้ดังนี้39

        1) ท่าเทียบเรือ ประกอบด้วยท่าเทียบเรือตู้สินค้า 2 ท่า ยาว 600 เมตร ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป 1 ท่า ยาว 250 เมตร ท่าเทียบเรือชายฝั่งยาว 1 ท่า 200 เมตร ท่าเทียบเรือบริการ 1 ท่า ยาว 100 เมตร และท่าเทียบเรือเกษตร 2 ท่า ยาว 250 เมตร

        2) ขุดลอกร่องน้ำและก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่น ยาว 1,300 เมตร

        3) อาคารที่ทำการ คลังสินค้า และสาธารณูปโภคพื้นฐาน

        งานก่อสร้างเริ่มเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2530 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 48 เดือน การก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือเอนกประสงค์เป็นท่าแรกในวันที่ 21 มกราคม 253440

หน่วยงานที่ศึกษาและออกแบบก่อสร้างท่าเรือ

        จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าท่าเรือในชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศ มีประวัติเฉพาะในส่วนที่ทำการศึกษาเพื่อหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมในการก่อสร้างท่าเรือและออกแบบก่อสร้างท่าเรือที่ยาวนานถึง 33 ปี กว่าจะได้ข้อยุติเรื่องทำเลที่ตั้งและนำไปสู่การออกแบบและดำเนินการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังได้มีการศึกษาไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง มีทั้งดำเนินการเองโดยกระทรวงคมนาคมและกองทัพเรือ และว่าจ้างบริษัทผู้ชำนาญการจากต่างประเทศเพื่อทำการศึกษา 4 บริษัท และบางบริษัทก็ทำการศึกษามากกว่า 1 ครั้ง ได้แก่

        - บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ NEDECO (Netherlands Engineering Consultants) ทำการศึกษา 3 ครั้ง ในปี 2504, 2511 และ 2520

        - บริษัท Lyon Associates บริษัท King และบริษัท Gavaris ทำการศึกษา 1 ครั้งในปี 2510

        - บริษัท Louis Berger ทำการศึกษา 2 ครั้ง ในปี 2515 และ 2525

        - กลุ่มบริษัท PASS Consortium ทำการศึกษา 1 ครั้ง ในปี 2529

รายละเอียดการศึกษาและออกแบบท่าเรือแหลมฉบัง จำแนกตามบริษัทที่ทำการศึกษา
ที่มา : เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี 3 (กันยายน-ธันวาคม 2532).

รัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง

        โครงการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งภาคตะวันออกซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 43 ปี อยู่ในช่วงเวลาการบริหารราชการของรัฐบาลถึง 14 ชุด มีมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ 30 มติ อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ ๆ ดังนี้

        - ทำเลที่ตั้งในการก่อสร้างท่าเรือใหม่ในภาคตะวันออก พื้นที่ที่พิจารณากันมากที่สุด คือ แหลมฉบัง และสัตหีบ ซึ่งใช้เวลาในพิจารณามากที่สุด
        - งบประมาณในการก่อสร้างท่าเรือใหม่ ตั้งแต่การสำรวจ การออกแบบ จนถึงการก่อสร้างท่าเรือ
        - รูปแบบการบริหารและประกอบการท่าเรือใหม่ที่เหมาะสม เมื่อท่าเทียบเรือท่าแรกในท่าเรือแหลมฉบังก่อสร้างแล้วเสร็จ

        นอกจากนี้ยังมีประกาศเวนคืนที่ดิน 3 ฉบับ คือ ในปีพ.ศ. 2495, 2511 และ 2521

ข้อมูลการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง จำแนกตามผู้นำรัฐบาลและช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
ที่มา : รวบรวมและประมวลโดยผู้เขียน สืบค้นจาก
1. ราชกิจจานุเบกษา สืบค้นจาก ราชกิจจานุเบกษา. ค้นหาราชกิจจานุเบกษา แหล่งที่มา: www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp
2. มติคณะรัฐมนตรี สืบค้นจาก สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-1.jsp?menu=1
3. เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี 3 (กันยายน-ธันวาคม 2532)


ผลพลอยได้จากการศึกษาเพื่อก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง

        นอกจากแหลมฉบังแล้ว สัตหีบเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการศึกษาและพบว่ามีความเหมาะสมในการสร้างท่าเรือ ดังการศึกษาของ บริษัท Lyon Associates , King and Gavaris ร่วมกับ USOM ในปี 2509 และการศึกษาของ บริษัท Louis Berger ในปี 2515 โดยให้เหตุผลว่าการลงทุนก่อสร้างท่าเรือสัตหีบต่ำกว่าที่แหลมฉบัง แม้ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่แหลมฉบัง แต่ท่าเรือสัตหีบได้ก่อสร้างในปี 2509 โดยกองทัพสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในกิจการทหาร และโอนกลับมาเป็นของรัฐบาลไทยในปี 2515 และในปีถัดมา ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจผันผวน ขาดแคลนเงินทุนเป็นอย่างมาก จึงไม่สามารถก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังได้ตามกำหนด เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จึงปรับปรุงท่าเรือสัตหีบเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2516 จนกระทั่งเมื่อท่าเรือแหลมฉบังเริ่มเปิดดำเนินการในปี 2534 รัฐบาลจึงยกเลิกการใช้ท่าเรือสัตหีบเพื่อการพาณิชย์ อย่างไรก็ตามในวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 เมื่อกองทัพเรือโดยการท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ได้รับมอบท่าเรือสัตหีบจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์ต่อจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อในการดำเนินการว่า "ท่าเรือสัตหีบ กองทัพเรือ" หรือ "ทสพ. ทร."41

รายละเอียดการศึกษาและก่อสร้างท่าเรือสัตหีบ จำแนกตามปี
ที่มา : รวบรวมและประมวลผลโดยผู้เขียน สืบค้นจาก
1. ราชกิจจานุเบกษา สืบค้นจาก ราชกิจจานุเบกษา. ค้นหาราชกิจจานุเบกษา แหล่งที่มา: www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp
2. มติคณะรัฐมนตรี สืบค้นจาก สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-1.jsp?menu=1
3. เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี 3 (กันยายน-ธันวาคม 2532).




1 เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี 3 (กันยายน-ธันวาคม 2532): 1. 2ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 71 ตอนที่ 50 หน้า 1075 - 1077, 10 สิงหาคม 2497.

3เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 2. 4เพิ่งอ้าง.

5สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การสร้างท่าเรือศรีราชาและการขุดคอคอดกระ มติวันที่ 12 พฤษภาคม 2503 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [3 กรกฎาคม 2551].

6สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การสร้างท่าเรือ มติวันที่ 27 กันยายน 2503 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [3 กรกฎาคม 2551].

7 สำนักงานเลขาธิการคระรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การสำรวจภาวะเศรษฐกิจสร้างท่าเรือใหม่ที่ศรีราชา มติวันที่ 29 สิงหาคม 2504 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

8เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 3. 9เพิ่งอ้าง. 10สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การขอลงทุนทำการสำรวจออกแบบก่อสร้างท่าเรือศรีราชา มติวันที่ 16 กรกฎาคม 2506 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552]. และ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การขอความช่วยเหลือจากกองทุนพิเศษสหประชาชาติทำการสำรายทางวิศวกรรมเพื่อสร้างท่าเรือที่แหลมมกระบัง ศรีราชา มติวันที่ 29 มกราคม 2506 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

11 สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง ผลการดำเนินงานตามโครงการสำรวจทางเศรษฐกิจและวิศวกรรมเพื่อสร้างท่าเรือที่แหลมกระกระบัง ศรีราชา มติวันที่ 31 มีนาคม 2507 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

12 สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง (1) บันทึกช่วยจำของบริษัทเนเดโก (เกี่ยวกับการปรับปรุงท่าเรือ) (2) อำนาจหน้าที่ของกรมเจ้าท่าและของการท่าเรือแห่งประเทศไทย มติวันที่ 31 พฤษภาคม 2509 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [4 สิงหาคม 2554].

13 เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 3. 14สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การปรับปรุงท่าเรือกรุงเทพและการสำรวจท่าเรือทะเลลึก มติวันที่ 16 พฤษภาคม 2510 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [3 กรกฎาคม 2551]. และ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การสำรวจท่าเรือทะเลลึก มติวันที่ 7 มิถุนายน 2510 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552]. 15เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 3. 16 สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การสำรวจท่าเรือทะเลลึก มติวันที่ 17 ตุลาคม 2510 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

17สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การสำรวจท่าเรือทะเลลึก มติวันที่ 16 เมษายน 2511 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

18สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การสำรวจท่าเรือทะเลลึก มติวันที่ 9 กันยายน 2511 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

19สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การสำรวจท่าเรือทะเลลึก มติวันที่ 27 สิงหาคม 2511 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

20เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 4. 21 สำนักงานคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา/ประกาศ/ค้นหาราชกิจจากนุเบกษา/ค้นหาราชกิจจานุเบกษา/ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 108 หน้า 849 - 851, 19 พฤศจิกายน 2511. [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp [23 สิงหาคม 2554].

22เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 6. 23สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การอนุมัติให้ท่าเรือสัตหีบเป็นท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า มติวันที่ 16 กันยายน 2512 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [3 กรกฎาคม 2551].

24 เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 4. 25เรื่องเดียวกัน: 5.

26สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การใช้ท่าเรือสัตหีบเพื่อการพาณิชย์ มติวันที่ 23 ธันวาคม 2519 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [3 กรกฎาคม 2551].

27เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 6. 28สำนักงานคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา/ประกาศ/ค้นหาราชกิจจากนุเบกษา/ค้นหาราชกิจจานุเบกษา/ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 44 หน้า 1-2, 21 เมษายน 2521. [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp [23 สิงหาคม 2554].

29สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง มติวันที่ 7 กรกฎาคม 2523 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

30สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมหลักและท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก มติวันที่ 21 เมษายน 2524 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

31เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 8. 32เรื่องเดียวกัน: 9. และ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง แผนงานแร่งด่วนระยะแรกการพัฒนาพื้นที่พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก มติวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [24 สิงหาคม 2554].

33เรื่องเดียวกัน: 9. และ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน/เรื่อง มติคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก มติวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http:www.cabinet.soc.go.th [20 กรกฎาคม 2552].

34เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 8. 35 เพิ่งอ้าง. 36สำนักงานคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา/ประกาศ/ค้นหาราชกิจจากนุเบกษา/ค้นหาราชกิจจานุเบกษา/ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 169 หน้า 26-27, 21 ตุลาคม 2526. [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp [23 สิงหาคม 2554].

37เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 10-11.

38เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี: 15.

39เอกสารเผยแพร่ ฝ่ายวิชาการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย. อ้างใน การท่าเรือแห่งประเทศไทย, "ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง" วารสารการพาณิชยนาวี : 13-14.

40ท่าเรือแหลมฉบัง. เกี่ยวกับ ทลฉ /ข้อมูลทั่วไปท่าเรือแหลมฉบัง/ประวัติท่าเรือแหลมฉบัง [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.laemchabangport.com/lcp/Internet/TH/lcp_history2.php [9 สิงหาคม 2554].

41ท่าเรือสัตหีบ กองทัพเรือ. ประวัติความเป็นมา [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.sattahipport.com/hisotry.php [23 สิงหาคม 2554].
ท่านคือผู้เข้าชมคนที่
สงวนลิขสิทธิ์ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 6 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10330 Email : tri@chula.ac.th