ชื่อโครงการ :การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือกรุงเทพ ชื่อผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติ ลิ่มสกุล หัวหน้าโครงการ เดือนปีที่เสร็จสิ้นโครงการ :กันยายน 2541 รายงานวิจัยฉบับนี้ เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการ "การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือกรุงเทพ" โดยในรายงานฉบับนี้ ได้กล่าวถึง ความเป็นมาของโครงการและภาวการณ์ขนส่งของไทย ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมามีแนวโน้ม การขยายตัวมาโดยตลอดตามสภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย จวบจนมาถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2540-2541) ประเทศไทยประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ เกิดความผันผวนของค่าเงิน จึงต้องหันมาใช้นโยบายค่าเงินบาทลอยตัว ซึ่งมีแนวโน้มทำให้การส่งออกดีขึ้น แต่เนื่องจากว่าประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีสินค้าส่งออกประเภทเดียวกัน ก็ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และมีการลดค่าเงินเช่นกัน จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยที่การส่งออกของไทยต้องอาศัยการขนส่งทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้การขนส่งได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการศึกษาได้กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลในการสร้างท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการขนส่งของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ศึกษาองค์ประกอบของท่าเรือที่สำคัญ ๆ 3 แห่ง ซึ่งได้แก่ ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือเอกชน ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านกายภาพ และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้วิเคราะห์ถึงวิสัยสามารถ และประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานให้บริการของท่าเรือแต่ละแห่ง โดยที่ความมีประสิทธิภาพของท่าเรือแต่ละแห่งนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเชื่อมโยงเข้ากับระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยายตัวมาโดยตลอดตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาระบบการขนส่งในแต่ละหมวดขนส่ง (Mode) ซึ่งประกอบด้วยการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ จะต้องสอดคล้องประสานกันเป็นระบบ (Intermodel Linkage) เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง รวมถึงลดระยะเวลาในการขนส่งลงด้วย จากการวิเคราะห์ในเรื่องความได้เปรียบ เสียเปรียบระหว่างท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้นำเอาต้นทุนอัตราค่าภาระของท่าเรือและต้นทุนค่าขนส่งสินค้า มาเป็นตัวแปรหลักในการวิเคราะห์ โดยกำหนดว่าต้นทุนด้านอัตราค่าภาระของท่าเรือเป็นต้นทุนคงที่ เพราะไม่ว่าจะขนถ่ายสินค้าปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ ก็จะต้องเสียอัตราค่าภาระในจำนวนที่เท่ากัน ส่วนต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเป็นต้นทุนแปรผัน เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะทาง และตามประเภทของหมวดการขนส่ง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบระยะทางของจุดขึ้นสินค้าระหว่างท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบังกับปริมณฑลและภาค ระยะทางจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังปริมณฑลและภาคกลางจะไกลกว่า ระยะทางจากท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงกว่า แต่ถ้ามองกันในระยะยาวแล้ว ท่าเรือแหลมฉบังจะได้เปรียบกว่าท่าเรือกรุงเทพ เนื่องจากการพัฒนาระบบการขนส่งของประเทศ นอกจากนี้ ในส่วนท้าย ได้นำแบบสอบถาม ซึ่งสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือเอกชน มาสรุปเป็นประเด็นปัญหาข้อคิดเห็น ซึ่งนำไปสู่การสรุปแนวทางและนโยบายเสนอแนะในด้านการบริหารท่าเรือ ด้านการขนส่ง และด้านยุทธศาสตร์ท่าเรือ ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับท่าเรือ และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของท่าเรือ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของท่าเรือแต่ละแห่งด้วย Project Title :Comparative Study of the Potential of Leam Chabang Port and Bangkok Port Name of Researcher : Dr.Kitti Limskul Associate Professor Month and Year :September, 1998 The final report of the project "Comparative Study of the Potential of Leam Chabang and Bangkok Port" mentions to the introduction of the project and the transportation systems which have been continuing to develop together with economic growth. At the present, (1997-1998) Thailand has faced with economic crisis and devaluation in currency, causing the high competition exporting in the world market. Due to the high competition in exporting, there is large amount impact on Thai international trade which is mainly passed through water way mode. Under the government policy to construct Leam Chabang Port and the transportation systems have been continuously supporting and improving to accelerate economic growth. In the study, analyzing the component of Leam Chabang Port, Bangkok Port and private port in both physical and economical part which relate to capacity and efficiency in operation which linkage to transportation of country. The developing in transportation consists of road mode, rail way mode, water way mode must be intermodal linkage for reducing time and cost. In the study, the analysis of comparative advantage between Leam Chabang Port and Bangkok Port which use two parameters (assumed that other factors are constant) in evaluation consist of The first one is the tariff charge which is fixed cost in any amount of transportation and the second one is the cost of transportation which is variable cost and vary along with the distance and mode of transportation. From the finding show that the distrance from Leam Chabang Port to distination of goods in Bangkok metropolitant and central part is farther than Bangkok Port's that lead to more expense in transportation cost. Considering in the long term, Leam Chabang Port must be more comparative advantage than Bangkok Port due to the transportation systems improvement. In addition, at the last part there is the conclusion of questionnaire from who are affected by operation and service in these ports and including, the suggestion policies in management, transportation and strategy which lead to improving in service, enhancing the efficiency of personal management and so on. |