จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์ ความเป็นมา1 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ประเทศไทยมีแนวความคิดที่จะสร้างท่าเรือที่ทันสมัย เพื่อให้เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่สามารถบรรทุกขนถ่ายสินค้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย แทนการขนส่งสินค้าถ่ายลำระหว่างเรือเดินสมุทรซึ่งจอดอยู่ที่อ่าวจอดเรือในเกาะสีชังกับกรุงเทพ ฯ รัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือจากสำนักงานใหญ่สันนิบาตชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ขอให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจสภาพเศรษฐกิจการค้าในกรุงเทพ ฯ และสถานที่ก่อสร้างท่าเรือ ในปี 2477
งานก่อสร้างท่าเรือและขุดลอกร่องน้ำ เริ่มในปี 2481 และได้จัดตั้งสำนักงานท่าเรือกรุงเทพเพื่อควบคุมงาน ในปี 2843 การก่อสร้างต้องหยุดชะงักไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่าเรือที่ก่อสร้างไปแล้วมีเพียงท่าเทียบเรือยาว 1,500 เมตร โรงพักสินค้า 4 หลัง และคลังสินค้า 3 ชั้น 1 หลัง เมื่อสงครามยุติ งานก่อสร้างท่าเรือได้ดำเนินต่อจนแล้วเสร็จ ในปี 2490 ท่าเรือกรุงเทพได้เปิดดำเนินเป็นครั้งแรก ในปีถัดมาได้ซ่อมแซมท่าเรือที่ได้รับความเสียหายจากสงครามและก่อสร้างท่าเรือเพิ่มเติม ต่อมาในปี 2494
ทำเลที่ตั้งของท่าเรือ ท่าเรือกรุงเทพ ตั้งอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ +26.5 ถึง +28.5 บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองพระโขนง ตำบลคลองเตย กรุงเทพฯ2 อาณาบริเวณทางน้ำประกอบด้วยร่องน้ำตอนนอก จากปากร่องกิโลเมตรที่ -18 ถึงป้อมพระจุลฯ กิโลเมตรที่ 0 ยาว 18 กิโลเมตรและร่องน้ำตอนในตั้งแต่ป้อมพระจุลฯ กิโลเมตรที่ 0 ถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ กิโลเมตรที่ 48 ยาว 48 กิโลเมตร รวมเป็นระยะทางน้ำ 66 กิโลเมตร3
ร่องน้ำสันดอนท่าเรือกรุงเทพมีความยาว 18 กิโลเมตร ความกว้างร่องน้ำในทางตรง 150 เมตร และความกว้างร่องน้ำในทางโค้ง 250 เมตร ร่องน้ำดังกล่าวได้รับการบำรุงรักษาให้คงความลึกที่ 8.5 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางหรือ 6.5 เมตร จากระดับต่ำกว่าน้ำทะเลต่ำสุด แม่น้ำบริเวณ ท่าเรือกรุงเทพ มีความลึกระหว่าง 8.5-11 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง4 การบริหารและประกอบการท่าเรือ การท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 เป็นหน่วยงานที่เป็นเจ้าของ บริหารและประกอบการท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรืออื่น ๆ อีก 4 ท่า คือ แหลมฉบัง ระนอง เชียงแสน และเชียงของ เรือและสินค้าผ่านท่าเรือ เรือที่ผ่านท่าเรือกรุงเทพมีหลายประเภท ได้แก่ เรือตู้สินค้า เรือสินค้าทั่วไป เรือท่องเที่ยว และเรืออื่น ๆ โดยร้อยละ 75 เป็นเรือตู้สินค้า ท่าเรือกรุงเทพมีข้อจำกัดด้านร่องน้ำ เรือที่ผ่านเข้ามายังท่าหรือที่จอดเรือของท่าเรือกรุงเทพจึงมีขนาดไม่เกิน 12,000 เดดเวทตัน ยาวไม่เกิน 172 เมตร และกินน้ำลึกไม่เกิน 8.2 เมตร ปัจจุบันเรือที่เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพเป็นประจำมีขนาด 8,000-10,000 เดดเวทตัน ที่ระดับความลึก 8 เมตร เท่านั้น5 สินค้าผ่านท่าได้แก่ สินค้าตู้ และสินค้าทั่วไป นอกจากนี้ยังมีสินค้าผ่านแดนซึ่งส่วนใหญ่ผ่านเข้า-ออกไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ท่าเทียบเรือ ทุ่นผูกเรือ หลักผูกเรือ ท่าเรือกรุงเทพประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่เรือและสินค้าดังนี้6
เขื่อนตะวันตก เขื่อนตะวันตกเป็นท่าเทียบที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ท่าเรือเริ่มดำเนินการ
ในระยะแรกสินค้าผ่านท่าเรือเป็นสินค้าทั่วไปและสินค้าเทกอง ต่อมาสินค้าเหล่านี้มีปริมาณลดลง จึงมีการปรับเปลี่ยนท่าเทียบเรือมาให้บริการอื่น ๆ ปัจจุบันเขื่อนตะวันตกให้บริการเรือสินค้าทั่วไป เรือขนส่งชายฝั่ง และเรือท่องเที่ยว ท่าเทียบเรือเหล่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของกองปฏิบัติการสินค้า 1-3 และกองคลังสินค้า ประกอบด้วย - ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป ได้แก่ ท่าเทียบเรือหมายเลข 22B-H ความยาวหน้าท่ารวม 1,179 เมตร สามารถรับเรือที่มีความยาวไม่เกิน 172.25 เมตร กินน้ำลึกไม่เกิน 8.23 เมตร ได้พร้อมกัน 7 ลำในคราวเดียว - ท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือลำเลียง ได้แก่ ท่าเทียบเรือหมายเลข 22I-J ความยาวหน้าท่ารวม 348 เมตร สามารถรับเรือที่มีความยาวไม่เกิน 172.25 เมตร กินน้ำลึกไม่เกิน 8.23 เมตร ได้ พร้อมกัน 2 ลำในคราวเดียว - ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว ได้แก่ ท่าเทียบเรือหมายเลข 22A ความยาวหน้าท่า 133 เมตร สามารถรับเรือที่มีความยาวไม่เกิน 172.25 เมตร กินน้ำลึกไม่เกิน 8.23 เมตร ได้ 1 ลำ เขื่อนตะวันออก
เขื่อนตะวันออกเป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าที่ก่อสร้างขึ้นในปี 2518-2520 และเริ่มดำเนินการในปี 2520 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 2 ชุด คือ - ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 1 อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริการตู้สินค้า 1 ความยาวหน้าท่ารวม 680 เมตร ระดับความลึก 8.2 เมตร สามารถรับเรือขนาด 10,000-12,000 เดดเวทตัน ประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 4 ท่า คือ ท่า 20A ความยาวหน้าท่า 162 เมตร ท่า 20 AB ความยาวหน้าท่า 152 เมตร ท่า 20B ความยาวหน้าท่า 183 เมตร ท่า 20C ความยาวหน้าท่า 183 เมตร - ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 2 อยู่ในความรับผิดชอบของกองบริการตู้สินค้า 2 ความยาวหน้าท่ารวม 640.5 เมตร ระดับความลึก 8.2 เมตร สามารถรับเรือขนาด 10,000-12,000 เดดเวทตัน ประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 4 ท่า คือ ท่า 20D ความยาวหน้าท่า 183 เมตร ท่า 20E ความยาวหน้าท่า 183 เมตร ท่า 20F ความยาวหน้าท่า 183 เมตร ท่า 20G ความยาวหน้าท่า 91.5 เมตร หลักผูกเรือและทุ่นผูกเรือ
ทุ่นผูกเรือและหลักผูกเรือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการบรรทุกขนถ่ายสินค้ากลางน้ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าทั่วไป ได้แก่ - หลักผูกเรือกลางน้ำคลองเตย ประกอบด้วยหลักผูกเรือ 36 หลัก ความยาวรวม 1,400 เมตร สามารถรับเรือที่มีความยาวไม่เกิน 172.25 เมตร กินน้ำลึกไม่เกิน 8.23 เมตร ได้พร้อมกัน 7 ลำในคราวเดียว - หลักผูกเรือกลางน้ำบางหัวเสือ ประกอบด้วยหลักผูกเรือ 36 หลัก ความยาวรวม 1,600 เมตร สามารถรับเรือที่มีความยาวไม่เกิน 172.25 เมตร กินน้ำลึกได้ไม่เกิน 8.23 เมตร ได้พร้อมกัน 8 ลำในคราวเดียว - ทุ่นผูกเรือสาธุประดิษฐ์ ประกอบด้วยทุ่นผูกเรือ 5 ทุ่น ความยาวรวม 1,580 เมตร สามารถรับเรือที่มีความยาวไม่เกิน 137.19 เมตร กินน้ำลึกไม่เกิน 7.62 เมตรได้พร้อมกัน 4 ลำในคราวเดียว และความยาวไม่เกิน 91.46 เมตร กินน้ำลึกไม่เกิน 7.00 เมตรได้ 1 ลำ
พื้นที่เก็บรักษาสินค้า ท่าเรือกรุงเทพมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาสินค้า ได้แก่ โรงพักสินค้าและคลังสินค้าเนื้อที่รวม117,578 ตารางเมตร ลานวางและบรรจุตู้สินค้าเนื้อที่รวม357,840 ตารางเมตร7
- บริการตู้สินค้าขาเข้า ประเภท LCL/CFS, LCL/Direct ได้แก่ โรงพักสินค้า หมายเลข 7, 8, 9, 11, 13, 16 และ 17 - บริการบรรจุสินค้าเพื่อการส่งออก ได้แก่ โรงพักสินค้าหมายเลข 14 - ลานวางตู้สินค้า พื้นที่รอบ ๆ โรงพักสินค้ายังมีพื้นที่ที่ใช้เป็นลานวางตู้สินค้า - ลานบรรจุตู้สินค้า 2 ลาน และลานตู้สินค้าเปล่า 2 ลาน - คลังสินค้า ประกอบด้วยคลังสินค้าผ่านแดน คลังสินค้าทัณฑ์บน คลังสินค้าตกค้าง คลังสินค้ารถยนต์และคลังสินค้าอันตราย สำหรับเขื่อนตะวันออกซึ่งเป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า ประกอบด้วยลานวางตู้สินค้า 2 ลาน ![]() หมายเหตุ : Ground Slots เป็นหน่วยนับพื้นที่สำหรับวางตูสินค้าขนาด 20 ฟุตชั้นเดียว ที่มา : การท่าเรือแห่งประเทศไทย. รายงานประจำปี 2551. [มปป]. พื้นที่แนวหลังของท่าเรือ9 ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นท่าเรือหลักของประเทศ จึงมีโครงข่ายคมนาคมทั้งทางถนนและทางรถไฟเชื่อมต่อไปพื้นที่แนวหลังบริเวณใกล้เคียงและไกลออกไปจนถึงประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
นอกจากสินค้าตู้แล้วสินค้าที่ผ่านท่าเรือกรุงเทพยังประกอบด้วยสินค้าทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรซึ่งมาจากแหล่งเพาะปลูกในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งขนส่งมาทางแม่น้ำเจ้าพระยาบรรทุกขนถ่ายลงเรือเดินสมุทรที่หลักและทุ่นผูกเรือกลางน้ำ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กิตติ ลิ่มสกุล. การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพาณิชยนาวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. สุภัตรา โล่ห์วัชระกุลและคณะ. ท่าเรือและการใช้ท่าเรือของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันธุรกิจพาณิชยนาวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532. สุมาลี สุขดานนท์และคณะ. การศึกษาศักยภาพจลของท่าเรือไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. สุมาลี สุขดานนท์และคณะ. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. อิทธิพล ปานงามและคณะ. การศึกษาปัจจัยเปรียบเทียบศักยภาพของท่าเรือในภูมิภาคอินโดจีน.กรุงเทพมหานคร: สถาบันพาณิชยนาวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. 1 การท่าเรือแห่งประเทศไทย. รู้จักการท่าเรือ/ประวัติความเป็นมา. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.port.co.th/pat/topic1/know_01.html [24 มิถุนายน 2554]. การท่าเรือแห่งประเทศไทย. ข่าวประชาสัมพันธ์/ 60 ปี PAT/ความเป็นมา. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.port.co.th/60year/index. [24 มิถุนายน 2554]. 2ท่าเรือกรุงเทพ. ข้อมูลท่าเรือกรุงเทพ/สถานที่ตั้ง. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.bkp.port.co.th/bkp/about/thai/about.asp?link=1 [24 มิถุนายน 2554]. 3ท่าเรือกรุงเทพ. ข้อมูลท่าเรือกรุงเทพ/อาณาบริเวณ. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.bkp.port.co.th/bkp/about/thai/about.asp?link=2 [24 มิถุนายน 2554]. 4ท่าเรือกรุงเทพ. ข้อมูลท่าเรือกรุงเทพ/ร่องน้ำทางเข้า. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.bkp.port.co.th/bkp/about/thai/about.asp?link=3 [24 มิถุนายน 2554]. 5สุมาลี สุขดานนท์และคณะ. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. (กรุงเทพฯ: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552), หน้า 230. 6การท่าเรือแห่งประเทศไทย.รายงานประจำปี 2551. (มปป), หน้า 24-25. 7ท่าเรือกรุงเทพ. ข้อมูลท่าเรือกรุงเทพ/บริการ. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.bkp.port.co.th/bkp/about/thai/about.asp?link=8 [5 กรกฎาคม 2554]. 8การท่าเรือแห่งประเทศไทย. โครงการพัฒนา/การส่งเสริมให้มีการเปิดตู้สินค้าขาเข้า. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.port.co.th/pat/topic4/project_mkt_lcl.html [4 กรกฎาคม 2554] 9สุมาลี สุขดานนท์และคณะ. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. หน้า 111. |
|