งานสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับสถาบันวิจัยจากต่างประเทศ
วันที่ 23 สิงหาคม 2562 สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัด International Forum ในหัวข้อ The Impact of Ride-hailing Mobile Applications in Southeast Asian Countries ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันกับอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยจากสถาบันวิจัยในต่างประเทศ
โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Jason Jackson อาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) มาบรรยายในหัวข้อ The Global Rise of Platform Firms in Urban Mobility Markets โดยเล่าถึงรูปแบบการเข้ามามีบทบาทของ Ride-hailing Application ในประเทศต่าง ๆ ประเด็นที่ต้องพิจารณาและคำนึงถึงในการกำหนดกฏระเบียบ ผลกระทบของ Ride-haling ที่เกิดขึ้น เช่น ทำให้ราคาเหรียญแท็กซี่ในอเมริกา (Taxi Medallion) มีแนวโน้มถูกลง (รถแท็กซี่ที่ได้รับอนุญาตให้บริการในนิวยอร์คต้องติดเหรียญตรา คล้ายกับเสื้อวินมอเตอร์ไซค์ของไทย) ประเด็นสำคัญที่ควรให้ความสนใจคือ ความเสี่ยงทางการเงิน โดยเฉพาะความเสี่ยงของผู้ขับ ตามหลักการของการให้บริการ Ride-hailing App นั้น รถที่นำมาให้บริการเป็นรถที่มีอยู่แล้วและนำมาให้บริการ แต่ในความเป็นจริง ตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ เช่น ลอนดอน นิวยอร์ค ส่วนใหญ่ของผู้ให้บริการ Ride-haling App เป็นคนขับ full-time ซึ่งแตกต่างจากเมืองดาเรสซาลาม ในประเทศแทนซาเนีย ที่ผู้ขับที่ให้บริการ Ride-haling App ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของรถเอง ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าของรถ ซึ่งอาจสูงถึง 1 ใน 4 ของรายรับที่ได้ ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของแอพ และค่าน้ำมัน ทำให้คนขับได้รายรับสุทธิจริงเพียง 1 ใน 4 ของรายรับทั้งหมด การจะกำหนดกฎระเบียบควบคุมให้เป็นอย่างไรนั้น ก็ต้องอิงจากบริบทของแต่ละประเทศ แต่ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
ศาสตราจารย์ Hironori Kato จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้อภิปรายการบรรยาของ Dr. Jackson โดยกล่าวว่า แต่ละท้องถิ่นก็มีบริบทที่แตกต่างกัน มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการที่ Ride-hailing App ได้รับความนิยมแพร่มหลายจึงต่างกัน รวมถึงการตอบสนองต่อเทคโนโลยีที่เข้ามาต่างกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องคิดและพิจารณาให้ดีว่าอะไรหรือการจัดการแบบไหนที่เหมาะกับบริบทของประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีการเสวนาถึงทิศทางและประเด็นที่สำคัญของการให้บริการรถ Ride-hailing App โดยอาจารย์และนักวิจัยจากนานาประเทศในภูมิภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น Vietnamese-German University, Institute of Technology of Cambodia, University of Indonesia, National Institution for Environment Studies, Japan ซึ่งทางสถาบันการส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะร่วมมือกับนักวิจัยจากประเทศต่าง ๆ เพื่อศึกษา ผลิตผลงานวิจัยเกี่ยวกับ Ride- haling App ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบคมนาคมที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป