แนะนำสถาบัน
สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความเป็นมา
สถาบันพาณิชยนาวีได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2534 มีหน้าที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชยนาวี รวมทั้งดำเนินงานด้านวิจัย และการให้บริการข้อมูลข่าวสาร และเผยแพร่ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ของการพาณิชยนาวี ประสานงานกับคณะต่าง ๆ ที่เปิดสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพาณิชยนาวี ได้แก่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ นอกจากนั้น ยังเป็นศูนย์กลางการประสานงานของผู้รู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจพาณิชยนาวีและการขนส่งระหว่างประเทศ ตลอดจนการจัดอบรม สัมมนา และประชุมทางวิชาการ รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบธุรกิจด้านพาณิชยนาวี และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับพาณิชยนาวี
สืบเนื่องมาจากพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่คณะผู้แทนผู้บริหารจากบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2538 ถึงเรื่องการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจราจรและขนส่งที่มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ทาง ด้านนี้ โดยเฉพาะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ได้นำความตามพระราชกระแสรับสั่งเข้าหารือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าวิธีการที่ดีที่สุดที่จะตอบสนองพระราชดำรัส คือ การตั้งสถาบันการขนส่งขึ้น แต่เนื่องจากความไม่ชัดเจนของนโยบายและแผนงานในการออกนอกระบบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงทำให้การก่อตั้งสถาบันฯ มีความล่า ช้าออกไป แต่ด้วยจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยต่อประเทศ สภามหาวิทยาลัยจึงได้มีมติเห็นชอบให้ขยายขอบเขตการดำเนินงานของ สถาบันพาณิชยนาวีให้ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนาด้านการขนส่งในทุกระบบครบวงจรในเดือนมิถุนายน 2545
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้สถาบันพาณิชยนาวีเปลี่ยนเป็นสถาบันการขนส่ง เพื่อให้สถาบันการขนส่งได้เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้และการถ่ายทอดในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ อีกทั้งให้การสนับสนุนการศึกษาด้านการขนส่งและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยเพิ่มแนวทางการพัฒนาให้เป็นไปอย่างครบทุกด้าน ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ
วิสัยทัศน์
เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการด้านการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
พันธกิจ
- ดำเนินการวิจัยและอำนวยการประสานงานให้เกิดการผลิตผลงานด้านการวิจัยด้านการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ในลักษณะสหศาสตร์ (Multi-disciplinary) ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพทั้งในระดับประเทศ อาเซียน และระดับนานาชาติ
- พัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ในสาขาวิชาชีพ
- บูรณาการองค์ความรู้และข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อพัฒนาสารสนเทศด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค สำหรับการเผยแพร่สู่สาธารณะชน
- สนับสนุนการเรียนการสอนด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ในระดับบัณฑิตศึกษา ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานหรือคณาจารย์ในการบูรณาการผลงานวิจัยของสถาบันสู่การเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้นิสิตเข้าร่วมงานวิจัยกับสถาบัน
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใน เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรของสถาบันปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของสถาบัน
สถาบันการขนส่งมุ่งมั่นในการทำงานวิจัยและพัฒนาในสาขาวิชาการขนส่งและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
แผนการพัฒนาของสถาบันการขนส่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกันคือการสร้างศักยภาพให้มั่นคง การมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจ และการรักษาชื่อเสียงและคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง
เสริมสร้างศักยภาพความมั่นคง : ในระยะนี้การจัดหาปัจจัยพื้นฐานเพื่อการดำเนินงานวิจัยและพัฒนา (ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรทางวิชาการ และแหล่งข้อมูลข่าวสาร) เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการ ดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการปรับปรุงพัฒนาจากสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความท้าทายในระยะนี้คือการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล สำหรับเงินทุนที่จะใช้ในการพัฒนาในส่วนนี้ คาดว่าส่วนหนึ่งจะได้รับจากการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก และรายได้จากการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นต่าง ๆ กับการให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานเอกชน พัฒนาระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี
มุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจ : สถาบันฯ มุ่งมั่นในการที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หลังจากบรรลุวัตถุประสงค์ในระยะแรกแล้ว ก้าวต่อไปสถาบันฯจะดำเนินการนำเสนอโครงสร้างแผนระยะยาว ในการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวกับการขนส่ง ต่อสาธารณชนและรัฐบาล ซึ่งเงินทุนที่จะมาสนับสนุนการดำเนินงานในระยะนี้ส่วนใหญ่จะมาจากรายได้จากการทำโครงการวิจัยและการจัดอบรมสัมมนา โดยบุคลากรของสถาบันจะเข้าไปมีบทบาทที่จะเสริมสร้างชื่อเสียงของสถาบันให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปในฐานะเป็นผู้นำด้านการขนส่ง พัฒนาระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 5 ปี
ธำรงรักษาชื่อเสียงและคุณภาพของงานอย่างต่อเนื่อง : ณ เวลานี้สถาบันฯ จะอยู่ในฐานะผู้นำด้านงานวิจัยและงานพัฒนาทางด้านการขนส่งโดยรวม มีผลงานส่วนใหญ่เป็นไปในการให้ความช่วยเหลือ รัฐบาลและเอกชนในเรื่องการขนส่ง และพยายามประยุกต์ใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการปฏิบัติตามแผนระยะยาวที่ได้กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
01-1-ยุทธศาสตร์ 01-3-การดำเนินการตามกลยุทธ์ลักษณะงานที่รับผิดชอบ
การบริหารงาน
สถาบันการขนส่งมีคณะกรรมการอำนวยการสถาบันฯทำหน้าที่กำหนดนโยบายในการดำเนินงานสถาบันและมีคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันฯ