ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Port)

จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์

ปีที่จัดทำ : มีนาคม 2555

ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ เป็นท่าเรือหลักของเขตสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแยงซี (หรือแม่น้ำฉางเจียง) เป็นท่าเรือรวบรวมและกระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยร้อยละ 20 ของปริมาณสินค้านำเข้า-ส่งออกของจีนขนส่งผ่านท่าเรือ1 ในปี 2011 ท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นท่าเรือที่มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าสูงที่สุดในโลกแทนที่ท่าเรือสิงคโปร์ คือ 29.05 TEUs2

ความเป็นมาของท่าเรือ

ในอดีตเซี่ยงไฮ้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลเจียงซูและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในมณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบัน3 ในช่วงราชวงศ์ถังพื้นที่บริเวณนี้เป็นเพียงเมืองในชนบทซึ่งประกอบด้วยท่าเรือเล็ก ๆ สองท่าในเมืองหวาถิงและเมืองชิงหลง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1264-1265 ตรงกับปลายราชวงศ์ซ่งใต้ จึงได้มีการก่อสร้างเมืองเซี่ยงไฮ้และก่อสร้างท่าเรือในเขตเมืองใหม่ ในปี ค.ศ. 1404 ตรงกับราชวงศ์หมิงได้มีนโยบายใช้แม่น้ำฮวังผู่ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองเซี่ยงไฮ้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า ส่งผลให้ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ทวีความสำคัญขึ้นตามลำดับ4

ครั้งถึงสมัยราชวงศ์ชิงเมืองเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการค้าขายกับตะวันตก ทั้งนี้เป็นผลมาจากท่าเรือตั้งอยู่ปากแม่น้ำแยงซีซึ่งเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในแผ่นดินจีนในปี 1684 ท่าเรือรับเรือเดินสมุทรเป็นครั้งแรก5 ในปี ค.ศ.1842 เมื่อประเทศจีนพ่ายแพ้สงครามฝิ่น ท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งในห้าท่าเรือซึ่งต้องเปิดให้ชาวตะวันตกค้าขายได้โดยเสรีตามข้อตกลงในสนธิสัญญานานกิ่ง โดยเริ่มดำเนินการในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1843 และอีก 10 ปี ต่อมา คือ ค.ศ. 1853 ท่าเรือเซี่ยงไฮ้มีปริมาณสินค้าผ่านท่าสูงกว่าท่าเรือกวางโจวซึ่งเป็นท่าเรือหลักของประเทศมาตั้งแต่โบราณ ส่งผลให้ท่าเรือเซี่ยงไฮ้กลายเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ6

ต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการขุดลอกปากน้ำบริเวณอู่ซงโข่วและแม่น้ำฮวังผู่เพื่อให้เรือเดินสมุทรขนาด 10,000 ตัน สามารถแล่นเข้าไปขนส่งสินค้าในแหล่งอุตสาหกรรมบริเวณฝั่งแม่น้ำฮวังผู่ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลของตะวันออกไกลโดยมีปริมาณสินค้าผ่านท่าสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก7

ในปี ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปกครองประเทศจีน ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ได้รับการปลดปล่อยจากการครอบครองของมหาอำนาจตะวันตก เมื่อมีการปฏิรูปเศรษฐกิจเปิดประเทศอีกครั้งในปี 1991 ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในฐานะท่าเรืออันดับหนึ่งของประเทศและของโลก8

ทำเลที่ตั้งท่าเรือ

ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 31 ํ 15′ เหนือ และลองกิจูด 121 ํ 30′ ตะวันออก9 ซึ่งอยู่ตรงกลางแนวชายฝั่งทะเลที่ยาว 18,000 กิโลเมตรของประเทศจีนมีอาณาบริเวณทางน้ำครอบคลุมแม่น้ำฮวังผู่ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองเซี่ยงไฮ้ ปากแม่น้ำแยงซี (ทะเลจีน) และอ่าวหางโจว10

แผนผังที่ตั้งท่าเรือเซี่ยงไฮ้
ที่มา: China Ports and Harbours Association. 24 September, 2008.
Techonology/Data/Terminal in Port of Shanghai (12-1)
[Online]. Available from:
http://english.chinaports.org/info/ 200809/000078.html[10 June, 2011].

สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือ

จากอาณาบริเวณทางน้ำที่กล่าวมาข้างต้น ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ได้แบ่งท่าเรือออกเป็น8 เขต คือ เขตท่าเรือในแม่น้ำฮวังผู่ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง เขตเป่าซาน หลู่จิง เขตว่ายเกาเฉียว เขตอ่าวหางโจวเขตหยางซาน และเขตฉงหมิง11

ที่ตั้งเขตท่าเรือในแม่น้ำฮวังผู่และปากแม่น้ำเยงซี
ที่มา: จูเต๋อหมิง.
Port of Shanghai Marching Towards The 21st Century. Port of Shanghai,
มปป. (แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดย สุมาลี สุขดานนท์)

ในปี 2007 ท่าเรือเซี่ยงไฮ้มีท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ 1,155 ท่า ความยาวหน้าท่าคิดเป็นระยะทาง 101.5 กิโลเมตร และมีขีดความสามารถรวมกันสามารถรับสินค้าได้ 373 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้มีท่าเทียบเรือ 133 ท่าที่สามารถรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่กว่า 10,000 ตัน หากจำแนกท่าเทียบเรือตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการแบ่งเป็น12

ท่าเทียบเรือสาธารณะ (Public Terminal) มีจำนวน 175ความยาวหน้าท่ารวม 24.6 กิโลเมตร เป็นท่าเทียบเรือที่มีการผลิต (Production Berth) 121 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 22.2 กิโลเมตร และท่าเรือที่ไม่มีการผลิต 54 ท่า ความยาวหน้าท่า 2.4 กิโลเมตร

ท่าเทียบเรือเอกชน (Owner-User Terminal) มีจำนวน 965 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 67 กิโลเมตร เป็นท่าเทียบเรือที่มีการผลิต 495 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 38.2 กิโลเมตรสามารถรับเรือขนาดใหญ่ถึง 100,000 ตันท่าเทียบเรือที่ไม่มีการผลิต 470 ท่าความยาวหน้าท่ารวม 28.8 กิโลเมตร

ท่าเทียบเรือแม่น้ำ (Inland River Berths) มีจำนวน 1,052 ท่าสามารถรับเรือขนาด 3,000 ตัน

ท่าเทียบเรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ได้แก่ ท่าเทียบเรือข้ามฟาก ท่าเทียบเรือเพื่อกิจการทหารท่าเทียบเรือของอู่ต่อเรือและซ่อมเรือ

การบริหารและประกอบการท่าเรือ

ท่าเรือเซี่ยงไฮ้อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารนครเซี่ยงไฮ้ (Municipal Government of Shanghai) โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบท่าเรือ คือ Shanghai Municipal Transport and Port Authority ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการท่าเรือและการเดินเรือของนครเซี่ยงไฮ้ และวางแผนพัฒนาท่าเรือเพื่อสนองนโยบายทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น13 สำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือสาธารณะส่วนใหญ่ในท่าเรือเซี่ยงไฮ้บริหารและประกอบการโดยบริษัท Shanghai International Port (Group) หรือ SIPG SIPGเป็นบริษัทที่แปรรูปมาจากการท่าเรือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Port Authority) โดยเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2003 ต่อมาในปี 2006 ได้พัฒนาให้เป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือหรือกิจการท่าเรือ โดยองค์การบริหารมหานครเซี่ยงไฮ้ถือหุ้นมากที่สุดคือร้อยละ 44.23 บริษัท China Merchants International Terminals (Shanghai) ร้อยละ 26.54 บริษัท Shanghai Tongsheng Investment (Group) ร้อยละ 16.81%บริษัท Shanghai State-assets Operation และบริษัท Shanghai Dashen Assess ถือหุ้นร้อยละ 0.44 (ทั้งนี้หุ้นที่ถือครองไม่สามารถเปลี่ยนมือ)14

ในปัจจุบันท่า SIPG บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือสาธารณะ 125 ท่า มีความยาวท่ารวมกัน 20 กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นท่าเทียบเรือซึ่งสามารถรับเรือขนาด 10,000 dwt82 ท่า ประกอบด้วยท่าเทียบเรือสินค้าตู้ สินค้าทั่วไป สินค้าเทกอง สินค้ารถยนต์ และเรือท่องเที่ยว ในการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือต่าง ๆ บริษัท SIPG ได้จัดตั้งบริษัทสาขา 16 บริษัท และบริษัทที่ SIPG ถือหุ้นใหญ่ 8 บริษัท และบริษัทที่ถือหุ้นร้อยละ 50 จำนวน 3 บริษัท15 โดยมีรายละเอียดดังนี้

การบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้า

เขตอู๋ซงโข่ว

– ท่าเทียบเรือสินค้าตู้ในเขตอู๋ซงโข่วซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 นับเป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าชุดแรกของท่าเรือเซี่ยงไฮ้ ท่าเทียบเรือส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำผู่ตงต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือตู้สินค้าใหม่ที่สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ขึ้น ท่าเทียบเรือเหล่านี้จึงเปลี่ยนไปให้บริการเรือประจำเส้นทางระยะใกล้ ท่าเทียบเรือประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 10 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 2,281 เมตร และลานตู้สินค้า 829,000 ตารางเมตร ได้แก่16

– ท่าเทียบเรือตู้สินค้าจวินกงลู่ (Jung Gong Lu Container Terminal) ตั้งบนฝั่งขวาของแม่น้ำฮวังผู่ ห่างจากปากแม่น้ำ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองเซี่ยงไฮ้

– ท่าเทียบเรือตู้สินค้าจางหัวป่าง (Zhang Hua Bang Container Terminal) ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮวังผู่ ห่างจากท่าเทียบเรือจวินกงลู่ 1.5 กิโลเมตร และห่างจากปากแม่น้ำฮวังผู่ 3.5 กิโลเมตร

– ท่าเทียบเรือตู้สินค้าเป่าซาน (Bao Shan Container Terminal) ตั้งอยู่บนแม่น้ำแยงซีห่างจากปากแม่น้ำฮวังผู่ช่วงที่บรรจบกับแม่น้ำแยงซี 4 กิโลเมตร

ท่าเทียบเรือในเขตอู๋ซงโขว
ที่มา: *Shanghai Container Terminal Ltd.Facilities and Equipment [Online]. Available from: http://www.sctport.com.cn [12 June, 2011].
(แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).
** China Europe International Business School, Port of Barcelona. December 2007. Organization of the Logistics Chain in
the Chinese International Trade. [Online]. Available from: http://www.ceibs.edu/barcelona/images/20110705/33373.pdf [11 July, 2011].

บริษัทที่บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าตู้ในเขตอู๋ซงโข่ว คือ บริษัท Shanghai Container Terminal จำกัด หรือ SCT ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง SIPG และ บริษัท Hutchison Port Holding จำกัด หรือ HPH โดยแต่ละฝ่ายถือหุ้นร้อยละ 50 ระยะเวลาร่วมทุน 50 ปี17

เขตว่ายเกาเฉียว

เขตว่ายเกาเฉียว ตั้งอยู่ทิศใต้ของปากแม่น้ำแยงซี และทิศตะวันตกห่างจากอู๋ซงโขว 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่เขต A ของเขตปลอดอากรว่ายเกาเฉียวในเขตเมืองใหม่ผู่ตง โครงการพัฒนาท่าเรือในเขตว่ายเกาเฉียวเริ่มในปี 1992 ประกอบด้วย 5 ระยะซึ่งในปัจจุบันได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 20 ท่า ความยาวหน้าท่า 5,020 เมตร และลานตู้สินค้า 2.45 ล้านตารางเมตร18 เรือที่เข้าเทียบท่าส่วนใหญ่เป็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ซึ่งให้บริการแบบประจำเส้นทาง และบางส่วนเป็นเรือที่วิ่งประจำเส้นทางระยะใกล้ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 5 ชุด ดังนี้

ท่าเทียบเรือในเขตท่าเรือว่ายเกาเฉียว
ที่มา: * China Europe International Business School, Port of Barcelona. December 2007. Organization of the Logistics Chain in
the Chinese International Trade. [Online]. Available from: http://www.ceibs.edu/barcelona/images/20110705/33373.pdf [11 July, 2011].
**China Ports and Harbours Association. 24 September, 2008. Techonology/Data/Terminal in Port of Shanghai (12-4)
[Online]. Available from: http://english.chinaports.org/info/ 200809/000078.html [10 June, 2011].
*** Shanghai Mingdong Container Terminals Ltd. ข้อมูลท่าเทียบเรือ[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.smct.com.cn/
web/webpages/general/miss/jsp
 [12 กรกฎาคม 2554]. (แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).

– ท่าเทียบเรือระยะที่ 1 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 3 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 900 เมตร ระดับน้ำลึก -12 เมตร มีขีดความสามารถรับเรือตู้สินค้ารุ่นที่ 5 และรุ่นที่ 619
– ท่าเทียบเรือระยะที่ 2-3 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 5 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 1,580 เมตร ระดับน้ำลึก -12 เมตร
– ท่าเทียบเรือระยะที่ 4 ประกอบด้วยท่าเทียบเรือที่รับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ 4 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 1,250 เมตร ความลึกหน้าท่า -14.2 เมตร และท่าเทียบเรือลำเลียงตู้สินค้าภายในประเทศ 2 ท่า ความยาวรวม 180 เมตร20
– ท่าเทียบเรือระยะที่ 5 ประกอบท่าเทียบเรือย่อย 4 ท่าสามารถรับเรือขนาด 50,000 ตัน ความยาวหน้าท่า 1,110 เมตร ระดับน้ำหน้าท่าลึก 12.8 เมตร และท่าเทียบเรือย่อยรับเรือ feeder ซึ่งขนส่งตู้สินค้าภายในประเทศขนาด 3,000 ตัน 2 ท่าระดับน้ำหน้าท่าลึก 4 เมตร21

แผนผังท่าเทียบเรือในเขตว่ายเกาเฉียว
ที่มา: China Europe International Business School, Port of Barcelona. December 2007.
Organization of the Logistics Chain in the Chinese International Trade. [Online].
Available from: http://www.ceibs.edu/barcelona/images/20110705/33373.pdf [11 July, 2011].

บริษัทที่ประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าในเขตว่ายเกาเฉียวมีทั้งสิ้น 4 บริษัท ได้แก่

  • บริษัท Shanghai Pudong International Container Terminal จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2003 เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท Shanghai Waigoaqiao Free Trade Zone Stevedoring บริษัท Hutchison Ports Pudongบริษัท COSCO Pacific (China) Investmentsและบริษัท COSCO Port (Pudong) เพื่อประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าในเขตท่าเรือว่ายเกาเฉียว ระยะที่ 122
  • บริษัท SIPG Zhendong Container Terminal Brach จำกัด เป็นบริษัทสาขาของ SIPG ประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าตู้ในเขตท่าเรือว่ายเกาเฉียวระยะที่ 2 และ 323
  • บริษัท Shanghai East Container Terminals จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง SIPG และบริษัท APMT Terminals ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2002 เพื่อประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าตู้ในเขตท่าเรือว่ายเกาเฉียวระยะที่ 424
  • บริษัท Shanghai Mingdong Container Terminals จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง SIPG และ Hutchison ก่อตั้งในเดือนกันยายน 2004 เพื่อประกอบการท่าเทียบเรือในเขตท่าเรือว่ายเกาเฉียวระยะที่ 5 ซึ่งนอกจากท่าเทียบเรือสินค้าตู้และยังมีสินค้าทั่วไปและสินค้าเทกอง25

เขตหยางซาน (Yangshan)

เขตหยางซานตั้งอยู่บนเกาะเสี่ยวหยางซานในอ่าวหางโจวซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครเซี่ยงไฮ้ ห่างจากช่องทางเดินเรือระหว่างประเทศ 104 กิโลเมตร ร่องน้ำที่เข้าเขตท่าเรือมีระดับน้ำลึก 16 เมตร โครงการพัฒนาเขตหยางซานเริ่มในเดือนมิถุนายน ปี 200226 แบ่งออกเป็น 6 ระยะ27 และท่าเทียบเรือในเขตหยางซางเป็นท่าเทียบเรือปลอดภาษีแห่งแรกของประเทศโครงการพัฒนาเขตท่าเรือระยะที่ 1 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การก่อสร้างท่าเทียบเรือขั้นที่ 1 และ 2 สะพานตงไห่ (Donghai)ซึ่งเชื่อมเกาะเสี่ยวหยางซานกับเมืองเซี่ยงไฮ้และหลูเฉียวก่างโลจิสติกส์ปาร์ค(Luchaogang Logistic Park)28

ท่าเทียบเรือตามโครงการพัฒนาทั้งสองขั้นได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือน้ำลึก 9 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 3,000 เมตร พื้นที่กองเรียงตู้สินค้า 1.4 ล้านตารางเมตร ตามแผนพัฒนาได้กำหนดไว้ว่าภายในปี 2020 เขตท่าเรือหยางซานประกอบด้วยท่าเทียบเรือตู้สินค้า 30 ท่าซึ่งมีระดับน้ำหน้าท่าลึก 15 เมตร และมีขีดความสามรถในการรับตู้สินค้า 13 ล้าน TEUs ต่อปี29 ท่าเทียบเรือระยะที่ 1 เริ่มประกอบการครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2005และท่าเทียบเรือระยะที่ 2 เริ่มประกอบการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 200630

ท่าเทียบเรือในเขตท่าเทียบเรือน้ำลึกหยางซาน
ที่มา: * China Europe International Business School, Port of Barcelona. December 2007.
Organization of the Logistics Chain in the Chinese International Trade. [Online].
Available from: http://www.ceibs.edu/barcelona/images/20110705/33373.pdf [11 July, 2011].
** Shanghai Shengdong International Container Terminals Co Ltd. เกี่ยวกับ Shengdong/ข้อมูลท่าเทียบเรือ. [สายตรง].
แหล่งที่มา: http://www.shsict.com/shebei.jsp [12 กรกฎาคม 2554]. (แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).
*** คำนวณจาก 1,490,000 – 860,000 = 630,000 ตารางเมตร

บริษัทที่ประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าในเขตหยางซานมี 2 บริษัท ได้แก่

  • บริษัท Shanghai Shengdong International Container Terminal จำกัดก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2005 ถือหุ้นโดย SIPG วัตถุประสงค์เพื่อประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าในเขตหยางซานทั้งขั้นที่ 1 ซึ่งเริ่มให้บริการวันที่ 12 ธันวาคม 2005 และขั้นที่ 2ซึ่งเริ่มให้บริการในวันที่ 10 ธันวาคม 200631
  • บริษัท Shanghai Guadong International Container Terminal จำกัดเป็นบริษัทที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย SIPG ประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าในเขตหยางซานทั้งระยะที่ 3 และ 432
แผนผังที่ตั้งเขตท่าเทียบเรือตู้สินค้าในเขตอู๋ซงโข่วว่ายเกาเฉียว และหยางซาน
หมายเหตุ: อักษรสีแดง หมายถึง ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 3 ท่า ในเขตอู๋ซงโข่วและ WGO 1-5 หมายถึง ท่าเทียบเรือระยะที่ 1-5 ในเขตว่ายเกาเฉียว
ที่มา: Shanghai Container Terminal Ltd. Geographical Location[Online]. Available from: http://www.sctport.com.cn [12 June, 2011].

การบริหารและประกอบการท่าเทียบเรืออื่นๆ

นอกจากสินค้าตู้ ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ยังประกอบด้วยท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป สินค้าเทกอง และสินค้ารถยนต์ ซึ่งประกอบการโดยบริษัทในเครือ SIPG ดังนี้

  • บริษัท SIPG Coal Branchจำกัด เป็นบริษัทสาขาของ SIPG ประกอบการท่าเทียบเรือบรรทุกขนถ่ายถ่านหิน 17 ท่าซึ่งตั้งเรียงรายอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำฮวังผู่ความยาวหน้าท่ารวม 2,008.35 เมตร ในจำนวนนี้มี 8 ท่าที่สามารถรับเรือขนาด 10,000 ตัน มีพื้นที่ในการกองเก็บถ่านหิน 204,000 ตารางเมตร และมีขีดความสามารถในการรับสินค้ารวมกัน 30 ล้านตันต่อปี33
  • บริษัท SIPG Zhanghuabangจำกัด เป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปและสินค้าเทกองในเขตท่าเรือจางหัวป่าง ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำฮวังผู่ตอนล่างไปจนถึงปากแม่น้ำแยงซี ท่าเทียบเรือมีพื้นที่ทั้งสิ้น 200,000 ตารางเมตร ความยาวหน้าท่ารวม 540 เมตร ประกอบด้วยท่าเทียบเรือซึ่งสามารถรับเรือขนาด 10,000 ตัน 3 ท่า มีขีดความสามรถในการรับสินค้ารวมกัน 1.8 ล้านตันต่อปีสินค้าผ่านท่าที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องจักรหนัก สินค้าเทกองและสินค้าตู้34
  • บริษัท SIPG Jungong Road Branchจำกัด เป็นบริษัทสาขาของ SIPG ซึ่งประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปและสินค้าเทกองในเขตท่าเรือจวินกงลู่ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกแม่น้ำฮวังผู่ตอนล่างห่างจากเขตอู๋ซงโข่ว 7 กิโลเมตรท่าเทียบเรือมีพื้นที่ 251,000 ตารางเมตร ท่าเทียบเรือมีความยาวรวม 743 เมตร ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 4 ท่า สามารถรับเรือขนาด 10,000 ตัน มีพื้นที่ในการเก็บรักษาสินค้าทั้งคลังสินค้าและลานสินค้ากลางแจ้ง 143,000 ตารางเมตร สินค้าผ่านท่าที่สำคัญได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักร ยานพาหนะ สินค้าตู้ และสินค้าเทกอง35
  • บริษัท SIPG Baoshan Branchจำกัด เป็นบริษัทสาขาของ SIPG ซึ่งประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปและสินค้าเทกองและสินค้าตู้ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ในเขตท่าเรือเป่าซานซึ่งอยู่ด้านเหนือของนครเซี่ยงไฮ้บนฝั่งแม่น้ำแยงซีห่างจากเขตอู๋ซงโข่ว 4 กิโลเมตร ท่าเทียบเรือมีพื้นที่ทั้งสิ้น 270,000 ตารางเมตร ความยาวหน้าท่า 780 เมตร ประกอบท่าเทียบเรือซึ่งสามารถรับเรือขนาด 10,000 ตัน 3 ท่า และเรือขนาด 1,000 ตัน 2 ท่า36
  • บริษัท SIPG Longwu Branchจำกัด เป็นบริษัทสาขาของ SIPG ซึ่งประกอบการท่าเทียบเรือที่ตั้งอยู่ในเขตท่าเรือหลงอู๋ตอนบนของแม่น้ำฮวังผู่37มีพื้นที่บนฝั่ง 740,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยท่าเทียบเรือสินค้าตู้ซึ่งสามารถรับเรือเดินสมุทรขนาด 10,000 ตัน 9 ท่า และท่าเทียบเรือลำเลียงขนส่งสินค้าภายในประเทศขนาด 500 ตัน 20 ท่า สินค้าผ่านที่สำคัญ เช่น ปลาป่น ผลไม้38
  • บริษัท SIPG Luojing Subsidiary Company จำกัด เป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าเทกองตั้งอยู่ด้านใต้ของแม่น้ำแยงซี39ห่างจากอู๋ซงโข่ว 17 กิโลเมตร สินค้าผ่านท่าส่วนใหญ่เป็นสินแร่เหล็กซึ่งนำเข้าเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กบนฝั่งแม่น้ำแยงซี ท่าเทียบเรือหลอจิงประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 2 ท่า คือ40

– ท่าเทียบเรือหลอจิง 1 เป็นท่าเทียบเรือที่บรรทุกขนถ่ายถ่านหิน ตั้งอยู่ทิศใต้ของปากแม่น้ำแยงซี มีพื้นที่บนฝั่งรวม 500,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 5 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 721 เมตร

– ท่าเทียบเรือหลอจิง 2 เป็นท่าเทียบเรือที่บรรทุกขนถ่ายสินแร่ ถ่านหิน และเหล็ก ตั้งอยู่ทิศใต้ของปากแม่น้ำแยงซีและมีอาณาบริเวณติดกับท่าเทียบเรือหลอจิง 1 เป็นท่าเทียบเรือสินค้าเทกองที่ใหญ่ที่สุดของท่าเรือเซี่ยงไฮ้ โดยมีท่าเทียบเรือย่อย 9 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 2,720 เมตร และมีพื้นที่บนฝั่งรวม 1.5 ล้านตารางเมตร

  • บริษัท SIPG Luojing Ore Terminals จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท HongkongRuijue Investment บริษัท Boa Steel และบริษัท Ma Steel41 เพื่อประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าเทกองประเภทสินแร่ตั้งอยู่ด้านใต้ของปากแม่น้ำแยงซีห่างจากอู๋ซงโข่ว 17 กิโลเมตรมีขีดความสามารถในการรับเรือขนาด 200,000 ตันได้พร้อมกัน 2 ลำในคราวเดียว42
  • บริษัท Shanghai Haitong International Automotive Terminal จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง SIPG บริษัท Anji Automotive Logistics บริษัท Nippon Yusen Kabushiki Kaisha บริษัท WalleniusWilhelmsen Terminal Central AB และบริษัท SAIC HK43 เพื่อประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าโร-โร ซึ่งบรรทุกขนถ่ายสินค้ารถยนต์ 2 ท่า คือ44

– ท่าแรกตั้งอยู่ที่เขตท่าเรือว่ายเกาเฉียว ระยะที่ 4 ความยาวหน้าท่า 219.4 เมตร หน้าท่าลึก 14 เมตร พื้นที่บนฝั่งรวม 265,000 ตารางเมตร สามารถจอดรถยนต์ได้ 7,000 คันในคราวเดียว

– ท่าเทียบเรือใหม่ตั้งอยู่ที่ เขตท่าเรือว่ายเกาเฉียว ระยะที่ 6 ความยาวหน้าท่า 530 เมตร ประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อยรับเรือเดินสมุทร 2 ท่า และท่าเทียบเรือย่อยรับเรือขนส่งตามแม่น้ำแยงซี 1 ท่า

  • บริษัท Shanghai Port International Cruise Terminal Development จำกัด ประกอบการท่าเทียบเรือท่องเที่ยวซึ่งตั้งอยู่เขตแม่น้ำฮวังผู่ มีความยาวรวม 1,197 เมตร ระดับน้ำลึก 10 เมตร สามารถรับเรือท่องเที่ยวขนาด 70,000 ตัน ได้พร้อมกัน 3 ลำในคราวเดียว มีขีดความสามารถในการรับผู้โดยสาร 1 ล้านคนต่อปี ท่าเทียบเรือเริ่มเปิดให้บริการในปี 200845

1Shanghai Municipal Transport and Port Authority. About the Port of Shanghai[Online]. Available from: http://www.shanghaiport.gov.cn/English/introduction/info_001.html [8 June, 2011].

2 The Straits Times.8 January, 2011.Shanghai Overtakes S’pore as world busiest port [Online]. Available from: http://www.straitstimes.com/BreakingNews/Singapore/Story/STIStory_621944.html[9 June, 2011].

3Wikipedia, the free Encyclopedia. Port of Shanghai.[Online]. Available from: http://en.wikipedia.org.wiki/Port_of_Shangha [7 June, 2011].

4Chinaport.org. Port of Shanghai.[สายตรง].แหล่งที่มา: http://www.chainaports.org [10มิถุนายน 2554].(แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).

5 World Port Source.Port of Shanghai.[Online]. Available from: http://www.worldportsource.com/ports/CHN_Port_of_shanghai_411.php [8 June, 2011].

6Shanghai Municipal Transport and Port Authority. About the Port of Shanghai.[Online].Available from: http://www.shanghaiport.gov.cn/English [10 June, 2011].

7Ibid.

8Ibid.

9 Watson, C. Fairplay Ports Guide 1999-2000 Volume 1. (Mercury Press: Fairplay Publications Ltd, 1998) p.967.

10 Shanghai Municipal Transport and Port Authority. About the Port of Shanghai.[Online].

11Ibid.

12Ibid.

13Shanghai. Government/Organization Directly under the Shanghai Municipality/Shanghai Municipal Transport and Port Authority.[Online]. Available from: http://www.shanghai.gov.cn/shanghai [19 March, 2011].

14 Shanghai International Port (Group) About SIPG [Online]. Available from: http://www.portshanghai.com.cn/channel/channel12.html [10June, 2011].

15Ibid.

16Shanghai International Port (Group) Co., Ltd. Main Business/Container Terminals/Shanghai Container Terminals Co Ltd. [Online].Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/sct.html [12 March, 2012].

17Shanghai International Port (Group) Co., Ltd. Main Business/Container Terminals/Shanghai Container Terminals Co Ltd. [Online].Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/sct.html [12 March, 2012].

18China Ports and Harbours Association.16 November, 2011.The Port of Shanghai-Oriented to the World, to the Future [Online].Available from: http://english.chinaports.org/info/201011/000133.html[8 June, 2011].

19Shanghai Pudong International Container Terminals Ltd. เกี่ยวกับ SPICT[สายตรง] แหล่งที่มา:http://www.spict.com/dotnetweb/docc/pdgj_b.aspx[11กรกฎาคม, 2554].(แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).

20Shanghai East Container Terminal.ข้อมูลท่าเทียบเรือ[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.sect.com.cn/hdwbs/webpages/general/hdgk/sbss.jsp [12กรกฎาคม 2554]. (แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).

21Shanghai Mingdong Container Terminals Ltd. ข้อมูลท่าเทียบเรือ[สายตรง]. แหล่งที่มา:http://www.smct.com.cn/web/webpages/general/miss/jsp [12 กรกฎาคม 2554]. (แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).

22Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Main Business/Container Terminals/Shanghai Pudong International Container Terminals Co Ltd.[Online]. Available from:http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/w1.html [12 March, 2012].

23Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Main Business/Container Terminals/Shanghai Zhendong International Container Terminals Co Ltd. [Online].Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/w2.html[12 March, 2012].

24Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Main Business/Container Terminals/Shanghai East Container Terminals Co Ltd.[Online]. Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/w4.html[12 March, 2012].

25Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Main Business/Container Terminals/Shanghai Mindong International Container Terminals Co Ltd.[Online]. Available from:http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/w4.html[12 March, 2012].

26 China Ports and Harbours Association.25 September, 2008Techonology/Data/WaigaoqiaoContainer Terminal (12-4).[Online]. Available from: http://english.chinaports.org/info/200809/000081.html [10June, 2011].

27Svendsen, J and Tiedemann, J. 2006.

28China Ports and Harbours Association.The Port of Shanghai-Oriented to the World, to the Future [Online]

29Ibid.

30Shanghai International Port (Group) Co Ltd. Profiles of the Major Companies/Container Terminals/Shanghai Shengdong International Container Terminals Co Ltd. [Online].Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/sct.html[10June, 2011].

31Shanghai International Port (Group) Co Ltd. Main Business/Container Terminals/Shanghai Shendong International Container Terminals Co Ltd. [Online].Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/sd.html[12 March, 2012].

32Shanghai International Port (Group) Co., Ltd. Main Business/Container Terminals/Shanghai Guandong International Container Terminals Co Ltd. [Online]. Available from:http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/gd.html[20 March, 2012].

33Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Main Business/Non-container Terminals/SIPGCoal Branch Ltd. [Online]. Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/coal.html[12 March, 2012].

34Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Non-container Terminals/SIPG ZhanghaubangCo.,Ltd. [Online]. Available from: http://http:/www.portshanghai.com.cn/en/subcompany/zhb.html [12 July, 2011].

35Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Non-container Terminals/SIPG Jungong Road Branch Ltd..[Online]. Available from: http:/www.portshanghai.com.cn/en/subcompany/jgl.html[12 July, 2011].

36Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Non-container Terminals/SIPG Baoshan Terminal Branch Ltd.[Online]. Available from:http:/www.portshanghai.com.cn/en/subcompany/bs.html[12 July, 2011].

37Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Main Business/Non-container Terminals/SIPGBaoshan Terminal Branch Ltd. [Online]. Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/lw.html[12 March, 2012].

38Shanghai International Port (Group) Co Ltd.Non-container Terminals/SIPG Longwu Branch Ltd. [Online]. Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/lj.htm[13July, 2011].

39Shanghai International Port (Group) Co., Ltd.Main Business/Non-container Terminals/SIPGLuojing Subsidiary Co Ltd..[Online]. Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/lj.html[12 March, 2012].

40China Ports and Harbours Association. 25 September, 2008.Wusongkou Container Terminal Facilities (12-6) [Online]. Available from: http://english.chinaports.org/info/200809/000083.html [10June, 2011].

41Shanghai International Port (Group) Co., Ltd.Main Business/Non-container Terminals/SIPGLuojing Ore Terminal Co Ltd. [Online]. Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/lj-ore.html[12 March, 2012].

42 SIPG Luojing Ore Terminal Co Ltd.หน้าหลัก.[สายตรง].แหล่งที่มา:http://www.shljks.com/login.jsp[20มีนาคม 2555]. (แปลจากต้นฉบับภาษจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).

43Shanghai International Port (Group) Co., Ltd. Main Business/Port Logistics/SIPGShanghai Haitong International Automotive Terminal Co Ltd. [Online].Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/ht.html [12 March, 2012].

44SIPG Haitong International.ข้อมูลท่าเทียบเรือ.[สายตรง].แหล่งที่มา: http://www.haitongauto.com/service.asp[13กรกฎาคม 2554]. (แปลจากต้นฉบับภาษจีนโดยสุมาลี สุขดานนท์).

45Shanghai International Port (Group) Co Ltd. Main Business/Port Service/Shanghai Port International Cruise Terminal Development Co Ltd. [Online]. Available from: http://www.porthanghai.com.cn/en/subcompany/ct.html[12 March, 2012].

[seed_social]
บทความก่อนหน้า
สายเดินเรือแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National Shipping Lines)
บทความถัดไป
ท่าเรือย่างกุ้ง
Google Map