จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์ ดีบุก สินแร่เศรษฐกิจจากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ ภูเก็ตเป็นเมืองที่เติบโตมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุกซึ่งเป็นแร่ที่เคลือบโลหะกันสนิม และผสมทองแดงเป็นสำริดมากกว่า 500 ปี2 การทำเหมืองแร่ดีบุกของไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 300 ปี ความสำคัญของดีบุกปรากฏหลักฐานขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากจะปรากฏในพงศาวดารของไทยแล้ว ยังมีบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวต่างประเทศซึ่งเข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา โดยใน พ.ศ. 2061 พระเจ้ามานูแอลของโปรตุเกส (ครองราชย์ พ.ศ. 20382064) ให้คอร์เตเดอโคแอลโล เป็นราชทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ พ.ศ. 20342072) โดยโปรตุเกสได้รับอนุญาตให้ตั้งห้างร้านเพื่อรับซื้อและจำหน่ายสินค้าที่พระนครศรีอยุธยา ปัตตานี นครศรีธรรมราช และมะริด สินค้าสำคัญที่โปรตุเกสรับซื้อมาจากทางใต้โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชนั้นมีแร่ดีบุก โดยชาวโปรตุเกสเรียกแร่ดีบุกว่า คาเลี่ยม (Calaem) ซึ่งมีอยู่มากที่เมืองถลาง (Gunsalan) หรือภูเก็ตในปัจจุบัน แต่โปรตุเกสอยู่ได้ไม่นานก็เสื่อมอำนาจ หลังจากนี้กรุงศรีอยุธยาต้องตกอยู่ในภาวะสงครามกับพม่าจนเสียเอกราช3 การติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกซบเซาลง เมื่อโปรตุเกสเสื่อมอำนาจลง ชาวตะวันตกอื่น ๆ ได้แก่ สเปนและฮอลันดาเข้ามาทำการค้ากับกรุงศรีอยุธยาแทน ใน พ.ศ. 2150 ตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ (ครองราชย์ พ.ศ. 21482153) กรุงศรีอยุธยาได้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฮอลันดา4 ในระยะนี้กรุงศรีอยุธยาว่างจากสงครามกับพม่า จึงมีการขุดแร่ดีบุกในภาคใต้มากขึ้น ยุโรปต้องการดีบุกไปทำภาชนะต่าง ๆ ใน พ.ศ. 2169 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม (ครองราชย์ พ.ศ. 21542171) ฮอลันดามีอำนาจมากขึ้นบริษัท ดัสท์อีสท์อินเดียของฮอลันดาได้ตั้งสถานีไว้สินค้าที่ปากน้ำเจ้าพระยา เรียกว่า New Amsterdam และยังตั้งสาขาขึ้นที่เกาะภูเก็ตและนครศรีธรรมราช เพื่อทำการค้ารับซื้อแร่ดีบุกที่ภูเก็ต แต่อยู่ได้ถึง พ.ศ. 2210 เกิดวิวาทกับชาวเมือง และถูกฆ่าตายหมด5 ฝรั่งเศสเป็นชาติตะวันตกอีกชาติหนึ่งที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (ครองราชย์ พ.ศ. 21992231) ฝรั่งเศสได้ส่งราชทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี โดยราชทูตคนแรก คือ คือ เชวาเลีย เดอโชมอง มาถึงกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2228 ได้ทำสัญญาฉบับแรกกับไทย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ปีเดียวกัน ข้อความในสัญญามีอยู่ข้อหนึ่งเกี่ยวกับการค้าแร่ดีบุกที่ภูเก็ต โดยฝรั่งเศสขอให้บริษัท Compagme Derindis ผูกขาดการค้าแร่ดีบุกที่ภูเก็ตแต่ฝ่ายเดียว โดยขอปลูกห้างขึ้นในเมืองนั้น เพื่อเป็นการตอบแทนฝ่ายไทยบริษัทฝรั่งเศสส่งเรือจากคอรอมันเดลในอินเดีย บรรทุกสินค้าต่าง ๆ มายังเมืองภูเก็ตปีละ 1 ลำ ราคาซื้อขายแร่ดีบุกในประเทศไทยขณะนั้นตามบันทึกของ เวเรด์ ซึ่งมากับราชทูตเขียนไว้ว่าราคาหาบละ 15 ปอนด์ฝรั่งเศส ซึ่งควรจะเป็นราคาหาบละ 105 บาทในสมัยนี้6 ในสมัยรัตนโกสินทร์ อังกฤษเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้เพื่อค้าขายดีบุกและยางพารา โดยเข้ามาทางด้านแหลมมลายู หลังจากที่ได้ครอบครองแหลมมลายูทั้งหมดได้ทำการพัฒนาท่าเรือแคลงเพื่อใช้ในการขนส่งดีบุกและยางพารา จึงไม่ได้เข้ามาติดต่อกับสยามเช่นเดียวกับชาติอื่น ๆ ในทางตรงกันข้ามภายใต้สนธิสัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า AngloSiamese Treaty 1909 เนื่องจากสนธิสัญญาฉบับที่ลงนามก้นที่กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม รศ.127 (ตรงกับพ.ศ. 24527) จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สนธิสัญญากรุงเทพ (Bangkok Treaty) ได้มีการแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน โดยอังกฤษยกเมืองสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสให้เป็นของสยาม และอังกฤษได้เมืองไทรบุรี (หรือรัฐเคดาห์ในปัจจุบัน) กลันตัน และตรังกานู เปอร์ลิสและสตูลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทรบุรีให้เปอร์ลิสเป็นของอังกฤษ ส่วนสูตลเป็นของสยาม8 จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า แม้ประเทศไทยจะมีการทำเหมืองแร่และค้าแร่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ประกอบกับช่วงเวลานั้นมีชาวต่างชาติเข้ามาขอสัมปทานเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 24112453) จึงได้โปรดเกล้าให้ตั้งกรมราชโลหกิจและภูมิพิทยา9 สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434 โดยมีหน้าที่ควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องด้วยแร่และโลหะธาตุ ทั้งประทานบัตรและสัญญาอาทานในการแร่ โลหะธาตุ และภูมิวิทยา แต่คนทั่วไปมักเรียกกรมนี้ว่า กรมแร่ ต่อมาใน พ.ศ. 2441 ได้เปิดกองโลหกิจที่มณฑลภูเก็ตขึ้นแห่งแรก ปีต่อมาก็เปิดกองโลหกิจที่มณฑลนครศรีธรรมราช10และในวันที่ 23 กันยายน 2544 ได้ออกพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่11 พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินประพาสภาคใต้ และเสด็จพระราชดำเนินชมการทำเหมืองแร่ดีบุกซึ่งเป็นอาชีพหลักของภาคใต้ที่จังหวัดภูเก็ต โดยในวันที่ 9 มีนาคมได้เสด็จทอดพระเนตรการทำเหมืองสูบของเหมืองเจ้าฟ้า ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต (เหมืองนี้เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2460 และปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2535 ที่มาของชื่อเหมือง เป็นชื่อที่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจทรงเสด็จมาทอดพระเนตรกิจการเหมืองที่ตำบลวิชิต และทำพิธีเปิดจ่ายกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าของเหมืองเมื่อ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2473 ได้ทรงลงลายพระหัตถ์พระราชทานชื่อเหมืองนี้ว่า "เหมืองเจ้าฟ้า"12) และทรงทราบว่าประเทศไทยไม่มีโรงถลุงแร่ดีบุก แร่ดีบุกที่ขุดได้ส่งไปขายโรงถลุงที่ปีนัง จึงมีพระราชปรารภว่าประเทศไทยน่าจะมีโรงถลุงดีบุกเป็นโลหะเพื่อใช้ในประเทศ เช่น ทำกระป๋องบรรจุอาหาร หรือทำแผ่นเหล็ก การมีโรงถลุงยังช่วยให้ราษฎรมีงานทำมากขึ้น13 ใน พ.ศ. 2506 จึงมีนักลงทุนชาวสหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งบริษัท ไทยแลนด์สเมลติ้งแอนด์รีไฟนิ่ง จำกัด (Thailand Smelting and Refining Co.,Ltd.) เรียกกันย่อ ๆ ว่า ไทยซาร์โก้ (THAISARCO) ที่ภูเก็ตเพื่อดำเนินกิจการถลุงแร่ดีบุก โดยเริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 250814 สามารถผลิตดีบุกแท่งออกขายในตลาดลอนดอน โดยใช้ตรา THAISARCO เป็นเครื่องหมาย ส่งผลให้ชาวเหมืองภูเก็ตไม่ต้องเอาแร่ดีบุกใส่กระสอบส่งลงเรือไปขายปีนัง และไม่ต้องเสียค่าขนส่งแร่ออกนอกประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลได้เก็บค่าภาคหลวงหรือภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากการทำเหมืองได้มากขึ้น ตลอดจนมีความเติบโตของกิจการถลุงเหล็ก และส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น การตั้งโรงงานแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก (Tin Plate) โรงทำตะกั่วบัดกรี เป็นต้น แทนทาลัม สินแร่เศรษฐกิจใหม่ของภูเก็ต ในช่วง พ.ศ. 25032523 ราคาดีบุกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการค้าแร่ดีบุกในภูเก็ตที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ราคาดีบุกในตลาดโลกเริ่มต่ำลง15 การค้าดีบุกจึงซบเซา พร้อม ๆ กับปริมาณดีบุกที่มีการขุดพบลดลง ในระหว่างที่อุตสาหกรรมการผลิตและการค้าดีบุกชะลอตัว ใน พ.ศ. 2520 ชาวภูเก็ต ได้รับรู้และพบว่าขี้ตะกรันดีบุกหรือสะแหลกดีบุก เป็นแร่ที่สามารถขายได้ในราคาดี เพราะมีแร่โคลัมไบต์แทนทาไลต์ ซึ่งเป็นแร่ยุทธปัจจัยใช้สำหรับทำยานอวกาศ หรือหัวจรวดนำวิถี และขีปนาวุธต่างๆ ทั้งนี้เพราะมีคุณสมบัติพิเศษที่ทนต่อความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เสียดสีของอากาศได้สูงมาก แร่โคลัมไบต์แทนทาไลต์ มีราคากิโลกรัมละ 6070 บาท16และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการสกัดต่อจนได้แร่แทนทาลัมจะมีราคาสูงกล่ากว่าแร่แทนทาไลต์หรือขี้ตะกรันดีบุกประมาณ 40-50 เท่า17 ![]() ที่มา: รวบรวมจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สุมดสถิติรายปีประเทศไทย พ.ศ. 25072531. อ้างถึงใน อัปสร ณ ระนอง, "การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเหมืองแร่ดีบุกสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในจังหวัดภูเก็ต 24842530" (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550), หน้า 116. แทนทาลัม คือ แร่ที่ได้จากโคลัมไบต์แทนทาไลต์ (Columbite-tantalite) ซึ่งเกิดร่วมอยู่กับแหล่งแร่ดีบุก ฝังปะปนอยู่ในหินแกรนิตที่ให้แร่ดีบุก หรือฝั่งอยู่ในเนื้อดีบุก เมื่อนำแร่ดีบุกไปถลุง ก็จะได้โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ ปนอยู่ในตะกรันดีบุกในปริมาณต่างๆ กัน ดังนั้น ขี้ตะกรันดีบุกจึงเกิดจากน้ำแร่และกากแร่ธาตุที่ยังถลุงออกไม่หมด ซึ่งมีโคลัมไบต์-แทนทาไลต์อยู่ด้วย แต่เดิมขี้ตะกรันเหล่านี้ชาวบ้านคิดว่าเป็นของเสีย จึงถูกคัดทิ้งมาตั้งแต่สมัยโบราณ และถูกนำไปถมถนน ถมที่สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือน18 โดยเฉพาะสมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ หรือคอซิมบี้19 เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต20 ตั้งแต่ พ.ศ. 2444 ได้ให้เจ้าของเหมืองทำถนนหนทางแลกเปลี่ยนกับการสัมปทานขุดแร่ บรรดาเหมืองต่างๆ ได้ขนขี้ตะกรันดีบุกที่กองทิ้งเกะกะบริเวณเตาหลอมมาถมถนน หรือเอาไปถมที่สำหรับปลูกบ้านเรือน บ้านโบราณหลังใหญ่ๆ และถนนแทบทุกสายในเมืองภูเก็ต หรือเมืองตะกั่วป่า จึงสร้างทับสะแหลกดีบุก ![]() ![]() (ซ้าย) ขี้ตะกรันดีบุกหรือสะแหลกดีบุก ที่มา : ณัฐกร พินโน. ขี้ตะกรันทองคำบนท้องถนน [สายตรง]. โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, แหล่งที่มา: http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-991/pic1.jpeg [12 มิถุนายน 2557]. (ขวา) โคลัมไบต์แทนทาไลต์ (ColumbiteTantalite) ที่มา: กรมทรัพยากรธรณี. โคลัมไบต์แทนทาไลต์ (ColumbiteTantalite) [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.dmr.go.th/main.php?filename=columbite [12 มิถุนายน 2557]. เมื่อชาวบ้านทราบว่าขี้ตะกรันเป็นของมีราคาจึงแตกตื่น ส่งผลให้บรรดานายทุนต่างๆ ยื่นประมูลต่อทางการขอขุดถนนเก่าๆ ทุกสายในตัวเมืองภูเก็ตใน พ.ศ. 2521 โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อขุดเสร็จแล้วจะสร้างถนนใหม่ทดแทน ส่วนบ้านที่ปลูกสร้างอยู่บนเตาถลุงที่มีขี้ตะกรันฝังอยู่มากๆ ก็จะถูกรื้อหรือทุบพื้นทิ้งเพื่อขุดเอาขี้ตะกรันดังกล่าวขึ้นมา21 ในขณะนั้นคนภูเก็ตสามารถทำรายได้จากการขุดขายสะแหลกเองหรือรับจ้างขุด โดยกรรมกรรับจ้างขุดสะแหลกได้ค่าแรงสูงถึงวันละ 180 บาท22 จากผลประโยชน์สู่ความขัดแย้ง ผลจากการตื่นตัวในแร่แทนทาลัมส่งผลให้เกิดแนวคิดที่จะสร้างโรงถลุงแทนทาลัมขึ้น โดยในวันที่ 28 ธันวาคม 2522 บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท โดยมีโครงการก่อสร้างโรงงานที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ต่อมาได้รับใบอนุญาตให้สร้างโรงงาน ใน พ.ศ. 2526 จนก่อสร้างแล้วเสร็จ และคาดว่าจะเปิดดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 2529 แต่โรงงานไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ เพราะประสบปัญหาการคัดค้านจากหลายภาคส่วนทั้งในระดับจังหวัดและประเทศอย่างรุนแรง เนื่องจากชาวภูเก็ตได้รับข้อมูลจากฝ่ายคัดค้านการเปิดโรงงานว่า โรงงานแทนทาลัมจะก่อให้เกิดมลพิษต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ต จนนำมาสู่ความขัดแย้งแผ่ขยายตัวและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ![]() ![]() ภาพการประท้วงของประชาชนและการเผาโรงงานแทนทาลัม ที่มา : สภากาแฟไทย. เหตุการณ์ประท้วงโรงงานแทนทาลั่ม จ.ภูเก็ต เมื่อ 23 มิถุนายน 2529 [สายตรง] แหล่งที่มา : http://thaicafe.blogspot.com/2011/06/blog-post_4345.html [29 มิถุนายน 2557]. ในวันที่ 13 มิถุนายน 2529 ตัวแทนจากจังหวัดภูเก็ตได้ขอพบนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้ปิดโรงงานแทนทาลัมภายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2529 กระทรวงอุตสาหกรรมประสงค์จะได้ข้อคิดเห็นในการคัดค้านในครั้งนี้ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ตเพื่อรับฟังความคิดเห็นตามความต้องการของตัวแทนกลุ่มคัดค้าน โดยนัดหมายที่ศาลาประชาคม แต่เมื่อไปถึงผู้ชุมนุมกลับแสดงทีท่าต่อต้านรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะด้วยความรุนแรง โดยผู้ชุมนุมจำนวนหลายพันคนพยายามเข้าประชิดและขว้างปาและทุบรถ แม้ว่ารัฐมนตรีได้ชี้แจงให้ผู้ชุมนุมทราบว่ารัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและให้คำตอบแก่ชาวภูเก็ตในวันที่ 2 กรกฎาคม ตามที่ผู้ชุมนุมกำหนด และระหว่างนี้ได้ให้โรงงานยุติการดำเนินการชั่วคราว แต่วันที่ 23 มิถุนายน 2529 การประท้วงได้รุนแรงขึ้นและมีการเผาโรงงานแทนทาลัมและโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลินซึ่งเป็นที่พักของนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคณะ23 จนรัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต24 และมีการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์ กว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ปกติก็ใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์ และประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 1 กรกฎาคม 252925 ![]() การเผาโรงงานแทนทาลัม ที่มา : สภากาแฟไทย. เหตุการณ์ประท้วงโรงงานแทนทาลั่ม จ.ภูเก็ต เมื่อ 23 มิถุนายน 2529 [สายตรง] แหล่งที่มา : http://thaicafe.blogspot.com/2011/06/blog-post_4345.html [29 มิถุนายน 2557]. ลำดับเหตุการณ์นำไปสู่การเผาโรงงานแทนทาลัม ![]() ที่มา: ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ . ชีวิตนักข่าว...วันต่อวัน แทนทาลัม [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://narongthai.com/news3.html [20 มิถุนายน 2557]. นิตยสารผู้จัดการ. เบื้องหลัง "แทนทาลัม" ความขัดแย้งทางธุรกิจตามวิถีทางประวัติศาสตร์ [สายตรง] กรกฎาคม 2529, แหล่งที่มา: http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8590 [20 มิถุนายน 2557]. นิตยสารผู้จัดการ. แทนทาลัมเตรียมเจรจาหาข้อยุติเรื่องเทคนิคการผลิต ปตท. สร้างคลังแอลพีจีที่สงขลา [สายตรง] เมษายน 2530, แหล่งที่มา: http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8184 [20 มิถุนายน 2557]. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต [กรณีการเผาโรงงานแทนทาลั่ม จังหวัดภูเก็ต สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี.ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอน 106 ก ฉบับพิเศษ วันที่ 23 มิถุนายน 2529 หน้า 3 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/106/3.PDF [20 มิถุนายน 2557].ราชกิจจานุเบกษา. แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ [พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๔๙๕ กรณีความไม่สงบในจังหวัดภูเก็ต สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี. ราชกกิจจานุเบกษาเล่มที่ 103 ตอน 106 ง ฉบับพิเศษ วันที่ 23 มิถุนายน 2529 หน้า 1 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/106/1.PDF [29 มิถุนายน 2557]. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต [กรณีการเผาโรงงานแทนทาลั่ม จังหวัดภูเก็ต] [สายตรง], เล่มที่ 103 ตอน 111 ก ฉบับพิเศษ วันที่ 30 มิถุนายน 2529 หน้า 4 แหล่งที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/111/4.PDF[29 มิถุนายน 2557]. เบื้องหน้า เบื้องหลัง การจลาจล สิ่งแวดล้อมดูเหมือนจะเป็นต้นเหตุในการคัดค้านการเปิดโรงงานถลุงแทนทาลัมที่ภูเก็ต ทั้งนี้เพราะได้มีการให้ข้อมูลว่าโรงงานแทนทาลัมจะก่อให้เกิดมลพิษต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ต โดยมีการนำอุบัติเหตุการรั่วไหลของก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์ และสารพิษอื่น ๆ จากโรงงานผลิตยาฆ่าแมลงของบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองโภปาล เมืองหลวงของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่งเกิดขึ้นวันที่ 2 ธันวาคม 2527 เป็นผลให้ชาวอินเดียได้รับผลกระทบมากกว่า 500,000 คน26มาเชื่อมโยงกับโรงงานแทนทาลัมที่ภูเก็ต กล่าวคือ บริษัท ยูเนียนคาร์ไบด์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ไทยแลนด์สเมลติ้งแอนด์รีไฟนิ่ง จำกัด หรือ ไทยซาร์โก้ ซึ่งเป็นบริษัทถลุงแร่ดีบุกที่ทันสมัยที่สุดในภูเก็ต และเป็นบริษัทที่ขอเปิดโรงงานแทนทาลัม27 จึงเกิดความตื่นตระหนกจนเกิดการต่อต้านการเปิดโรงงานเป็นวงกว้าง ประกอบกับท่าทีของบริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด ต่อการคัดค้านในช่วงแรกไม่เอาใจใส่ในการสร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลที่เพียงพอในการตอบข้อสงสัยของนักวิชาการและประชาชนในพื้นที่ ในขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำเหมืองแร่ก็ไม่สามารถตอบข้อสงสัยหรือยืนยันเกี่ยวกับความปลอดภัยของโรงงานแทนทาลัมได้ ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ข้อมูลที่คลุมเครือเกี่ยวกับการถลุงแทนทาลัม ข้อมูลที่ให้แก่สาธารณะมีเพียงว่าการวิธีการถลุงแทนทาลัมเป็นเทคโนโลยีใหม่จากเยอรมันเท่านั้น ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและเพิ่มความหวาดระแวงของคนในพื้นที่มากขึ้น28 การแย่งชิงผลประโยชน์ นับเป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการคัดค้านการเปิดโรงงานแทนทาลัม การเผาโรงงานแทนทาลัมสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งและการแย่งชิงทรัพยากรในเกาะภูเก็ตที่มาช้านาน ตั้งแต่อดีตผู้ได้รับประโยชน์จากกิจการเหมืองแร่ คือ นายทุนชาวต่างชาติ โดยเริ่มแรกเป็นชาวตะวันตก ต่อมาเป็นชาวจีน ซึ่งเป็นผู้กำหนดทิศทางและราคาในอุตสาหกรรมแร่นี้ ส่วนเจ้าของพื้นที่หรือชาวภูเก็ตดั้งเดิมได้รับประโยชน์น้อยมาก ดังจะเห็นได้จากไม่เคยมีโอกาสเป็นผู้ประกอบการหรือการได้รับประทานสิทธิในการทำเหมือง ความรู้สึกไม่พอใจจึงสั่งสมมายาวนาน การเผาโรงงานแทนทาลัม ไม่ใช่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบเป็นครั้งแรก ในอดีตเคยเกิดเหตุความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบชาวฮอลันดากับชาวพื้นเมือง เป็นผลในชาวฮอลลันดาถูกสังหารจนหมด ในช่วงที่มีการตื่นตัวเรื่องแร่แทนทาลัม ประเทศไทยเป็นแหล่งส่งขายสะแหลกดีบุกสูงถึงร้อยละ 46 ของการผลิตทั่วโลก ซึ่งสะแหลกดีบุกส่วนใหญ่มาจากจังหวัดภูเก็ต สะแหลกดีบุกจึงเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้ประเทศจนนำมาสู่การแนวคิดที่จะก่อสร้างโรงงงานถลุงแทนทาลัมในประเทศไทย อย่างไรตามมีข้อสันนิษฐานว่า ก่อนที่ชาวบ้านจะรับรู้ว่าขี้ตะกรันดีบุกเป็นของมีราคา จนนำมาสู่กระแสแตกตื่นของแทนทาลัมนั้น นายทุนขนาดใหญ่โดยเฉพาะไทยซาร์โก้ เป็นผู้ส่งออกขี้ตะกรันดีบุกมาเป็นเวลานานและทำกำไรให้กับบริษัทอย่างมหาศาล จึงสร้างความไม่พอใจแก่เจ้าของเหมืองขนาดเล็กและชาวเหมืองโดยทั่วไป เนื่องจากโรงงานถลุงขนาดใหญ่มักกดราคาเมื่อดีบุกมีขี้ตะกรันปนอยู่และรับซื้อขี้ตะกรันดีบุกในราคาถูก โดยที่นายเหมืองขนาดเล็กและประชาชนทั่วไปไม่เคยได้รับรู้ว่าขี้ตะกรันดีบุกมีมูลค่ามาก จนกระทั่งใน พ.ศ. 2520 และนำมาสู่การตื่นตัวของแทนทาลัม29 สถิติที่เปิดเผยโดยกรมทรัพยากรธรณีเฉพาะปี 2518 บริษัท ไทยซาร์โก้ ส่งขี้ตะกรันดีบุกไปขายเป็นมูลค่า 26.2 ล้านบาท คำนวณกลับไปในช่วง 9 ปีก่อนการตั้งโรงถลุง ก็เชื่อว่าบริษัทนี้น่าจะได้กำไรจากแทนทาลัมเพนต็อกไซด์ซึ่งโรงงานแห่งนี้ผูกขาดโรงงานถลุงแร่ไว้เพียงโรงเดียว ประมาณ 200600 ล้านบาท พร้อม ๆ กับได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่กับมาตรการห้ามนำสินแร่ออกขายต่างประเทศ เว้นแต่ได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล30 อาจกล่าวได้ว่าโรงงานถลุงสามารถสร้างกำไรจากความไม่รู้ของผู้เจ้าของเหมืองคนงานเหมือง และชาวภูเก็ต ความรู้สึกไม่พอใจดังกล่าวถูกสะสมอย่างต่อเนื่องและทับถมอย่างยาวนานจนนำมาสู่การเผาโรงงาน ที่กล่าวมานี้อาจสรุปได้ว่า การมีโรงงานแทนทาลัม ไม่สามารถสร้างความผลประโยชน์แก่คนในหมู่มากได้ ในทางกลับกันหากโรงงานแทนทาลัมไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ อาจเป็นประโยชน์ต่อหลายกลุ่ม สิ้นสุดยุคแทนทาลัม เริ่มต้นท่าเรือภูเก็ต แนวความคิดในการก่อสร้างท่าเรือภูเก็ตเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นท่าเรือหลักด้านชายฝั่งอันดามันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งดีบุกและยางพารา การก่อสร้างท่าเรือผ่านกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือถึง 4 ครั้ง คือ พ.ศ. 2510, 2514, 2517, และ 2519 ในช่วง พ.ศ. 25212524 ได้ทำการสำรวจออกแบบรวมถึงหาแหล่งเงินกู้เพื่อก่อสร้างท่าเรือ ท่าเรือภูเก็ตเริ่มก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2527 และเสร็จสมบูรณ์ ใน พ.ศ. 2531 ดังนั้น การศึกษาและก่อสร้างท่าเรือแห่งนี้จึงใช้เวลาทั้งสิ้นยาวนานกว่า 21 ปี31 จะเห็นได้ว่าในช่วง พ.ศ. 25102524 ซึ่งทำการศึกษาเพื่อก่อสร้างท่าเรือ ซึ่งเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ของภูเก็ตอยู่กำลังเฟื่องฟู เมื่อรัฐบาลตัดสินใจก่อสร้างท่าเรือแห่งนี้เป็นช่วงที่ราคาดีบุกตกต่ำมาโดยตลอด ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์จลาจลเผาโรงงานแทนทาลัม พ.ศ. 2529 เป็นช่วงที่กำลังก่อสร้างท่าเรือภูเก็ต และเมื่อท่าเรือก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2531 ความเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในภูเก็ตมีบทบาทลดลง ทั้งจากปัญหาราคาดีบุกตกต่ำ จากวิกฤตอุตสาหกรรมดีบุกถดถอยทั่วโลก ส่งผลโดยตรงต่อเหมืองแร่ดีบุกในภูเก็ตต้องยกเลิกกิจการเป็นจำนวนมาก และนำมาสู่การจบยุคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกในภูเก็ต32 ในความเป็นจริงนอกจากดีบุกแล้ว จังหวัดภูเก็ตยังมีสินค้าอื่นที่สามารถขนส่งผ่านท่าเรือภูเก็ตได้ เช่น ยางพารา สินค้าประมง ในช่วงที่ราคาดีบุกเริ่มตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ได้มีนายทุนจำนวนหนึ่งเห็นถึงความไม่ยั่งยืนของธุรกิจ จึงได้หันไปลงทุนในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติซึ่งภูเก็ตมีอย่างอุดมสมบูรณ์ไม่แพ้เหมืองแร่ หลังจากเหตุการณ์เผาโรงงานแทนทาลัมใน พ.ศ. 2529 รัฐบาลส่งเสริมการท่องเที่ยวภูเก็ตครั้งใหญ่ จึงนับเป็นเหตุการณ์ที่พลิกโฉมเศรษฐกิจภูเก็ตไปพึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นหลัก33เป็นผลให้ที่ดินและแรงงานมีราคาสูง เกษตรกรรมเริ่มลดลงและแทนที่ด้วยอุสาหกรรมท่องเที่ยว ส่งผลให้ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือภูเก็ตมีปริมาณน้อยมากตั้งแต่ท่าเรือเริ่มเปิดดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน ท่าเรือภูเก็ต เป็นสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการศึกษาและก่อสร้างท่าเรือที่ยาวนานและช้าเกินการ ส่งผลให้ท่าเรือซึ่งนับเป็นท่าเรือที่มีทำเลที่ตั้งทางชายฝั่งที่ดีที่สุดของไทยในชายฝั่งอันดามัน แต่กลับไม่สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมการค้าดีบุกให้ทันในช่วงที่กำลังเติบโตได้ และทำหน้าที่เป็นท่าเรือหลักที่สนับสนุนการส่งออกของประเทศได้ตามที่วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ในปัจจุบันแม้ว่าในท่าเรือจะมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของภูเต โดยรับท่าเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่เป็นครั้งคราว และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า แต่นับว่าการใช้ประโยชน์ท่าเรือที่ไม่สอดคล้องกับการออกแบบและการลงทุนก่อสร้างท่าเรือตั้งแต่แรก นับเป็นอุทาหรณ์ให้เห็นถึงปัญหาของการพัฒนาในประเทศไทย ![]() ![]() ตัวอย่างเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่เข้ามเทียบท่าที่ท่าเรือภูเก็ต ![]() ![]() (ซ้าย) เรือยอร์ชขนาดใหญ่ (ขวา) เรือทหาร ![]() ![]() การนำเครื่องบินเก่าทิ้งทะเลเพื่อเป็นแหล่งเพาะปะการัง ที่มา : ท่าเรือภูเก็ต จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม วันที่ 2 พฤษภาคม 2551. 1ชาติชาย มุกสง. เหตุการณ์จลาจลแทนทาลั่ม[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/เหตุการณ์จลาจลแทนทาลัม [12 มิถุนายน 2557]. 2ASTV ผู้จัดการออนไลน์. มหาลัยชีวิต พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (ภูเก็ต)[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000087839 [10 มิถุนายน 2557]. 3สุทธิดา กระแสชัย. ศิลปากร 2522 หน้า 43 อ้างถึงใน ไชยยุทธ ปิ่นประดับ. การทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต [สายตรง]. มูลนิธิท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร แหล่งที่มา : http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=1 [10 มิถุนายน 2557]. 4วิชา เศรษฐบุตร. ครบรอบ 72 ปี กรมโลหกิจ 2506 หน้า 7. อ้างถึงใน ไชยยุทธ ปิ่นประดับ.การทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต [สายตรง]. มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร แหล่งที่มา : http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=1 [10 มิถุนายน 2557]. 5ไชยยุทธ ปิ่นประดับ. การทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต [สายตรง]. มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร แหล่งที่มา: http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=1 [10 มิถุนายน 2557]. 6วิชา เศรษฐบุตร. ครบรอบ 72 ปี กรมโลหกิจ 2506 หน้า 8. อ้างถึงใน ไชยยุทธ ปิ่นประดับ. การทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต [สายตรง]. มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร แหล่งที่มา : http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=1 [10 มิถุนายน 2557]. 7สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 26 ตอนที่ ง หน้า 701705 วันที่ 18 กรกฎาคม รศ. 128 (พ.ศ.2453) [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/701.PDF [18 กันยายน 2557]. 8สัญญาว่าด้วยเขตร์แดน ในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 26 ตอนที่ ง หน้า 701705 วันที่ 18 กรกฎาคม รศ. 128 (พ.ศ.2453) [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/701.PDF [18 กันยายน 2557]. 9ประกาศตั้งกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 8 ตอนที่ 51 หน้า 461 462 วันที่ 20 มีนาคม 2434 (1891) [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/051/461.PDF [16 กันยายน 2557]. 10ญาติมา ทองคำ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ชีวิตและผลงาน วารสารดำรงราชานุภาพ 43 (เมษายนมิถุนายน 2555) : 16. 11พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18 ตอนที่ 26 หน้า 390406 วันที่ 29 กันยายน รศ 120 (พ.ศ. 2444) [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/026/390.PDF [16 กันยายน 2557]. 12Anupas Group Company. เหมืองเจ้าฟ้า [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.anuphas.co.th/anuphas/genaral_information_page4.htm [13 ตุลาคม 2557]. 13วิชา เศรษฐบุตร. ๑๐๐ ปี กรมทรัพยากรธรณี หน้า 28 อ้างถึงใน ไชยยุทธ ปิ่นประดับ. การทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต [สายตรง]. มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร แหล่งที่มา: http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=1 [12 มิถุนายน 2557]. 14Thaisarco. Overview [Online]. Available from: http://www.thaisarco.com/overview.html [17 September, 2014]. 15Helgi Analytics. Tin (USD cents per kg) [Online] Available from : http://helgilibrary.com/indicators/index/tin-usd-cents-per-kg [12 June, 2014]. 16โรจนี นนทพันธาวาทย์. "ขี้ตะกรัน" (ทองคำบนถนน) [สายตรง], โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, แหล่งที่มา : http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-131.html [12 มิถุนายน 2557]. 17นิตยสารผู้จัดการ. แทนทาลั่ม: ธาตุที่รู้ว่าเอาไปใช้ทำอะไร? [สายตรง], กรกฎาคม 2529, แหล่งที่มา : http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8591[12 มิถุนายน 2557]. 18กองบรรณาธิการ. เบื้องหลังแทนทาลั่ม ความขัดแย้งทางธุรกิจตามวิถีทางประวัติศาสตร์, ผู้จัดการรายเดือน ปีที่3 ฉบับที่ 34 (กรกฎาคม 2529), หน้า 4950. 19โรจนี นนทพันธาวาทย์. "ขี้ตะกรัน" (ทองคำบนถนน) [สายตรง], โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย,แหล่งที่มา: http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-131.html [12 มิถุนายน 2557]. 20วิกิพีเดีย. พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) [12 มิถุนายน 2557]. 21กองบรรณาธิการ. เบื้องหลัง แทนทาลั่ม ความขัดแย้งทางธุรกิจตามวิถีทางประวัติศาสตร์ ผู้จัดการรายเดือน ปีที่ 3 ฉบับที่ 34 (กรกฎาคม 2529), หน้า 4950. 22โรจนี นนทพันธาวาทย์. "ขี้ตะกรัน" (ทองคำบนถนน) [สายตรง]. โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย,แหล่งที่มา : http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-131.html [18 มิถุนายน 2557]. 23ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ . ชีวิตนักข่าว...วันต่อวัน แทนทาลั่ม [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://narongthai.com/news3.html [20 มิถุนายน 2557]. 24แถลงการณ์รัฐบาล สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 106 หน้า 12 วันที่ 23 มิถุนายน 2529 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/106/1.PDF [13 ตุลาคม 2557]. 25ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต [กรณีการเผาโรงงานแทนทาลั่ม จังหวัดภูเก็ต] สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอน 111 ก ฉบับพิเศษ หน้า 4 วันที่ 30 มิถุนายน 2529 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/111/4.PDF [29 มิถุนายน 2557]. 26วิกิพีเดีย. พิบัติภัยโภปาล [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/พิบัติภัยโภปาล [29 มิถุนายน 2557]. 27อัปสร ณ ระนอง, "การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเหมืองแร่ดีบุกสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 24842530" (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550), หน้า 115 และ 119. 28นิตยสารผู้จัดการ. เบื้องหลัง "แทนทาลั่ม" ความขัดแย้งทางธุรกิจตามวิถีทางประวัติศาสตร์ [สายตรง]. กรกฎาคม 2529, แหล่งที่มา: http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8590 [20 มิถุนายน 2557]. 29นิตยสารผู้จัดการ. เบื้องหลัง "แทนทาลั่ม" ความขัดแย้งทางธุรกิจตามวิถีทางประวัติศาสตร์ [สายตรง]. กรกฎาคม 2529, แหล่งที่มา : http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8590 [20 มิถุนายน 2557]. 30นิตยสารผู้จัดการ. เบื้องหลัง "แทนทาลั่ม" ความขัดแย้งทางธุรกิจตามวิถีทางประวัติศาสตร์ [สายตรง]. กรกฎาคม 2529, แหล่งที่มา : http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8590 [20 มิถุนายน 2557]. 31สุมาลี สุขดานนท์. การประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย (สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ, 2552) หน้า 349. 32สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 (ภูเก็ต). ตลาดดีบุกในสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2542 [สายตรง]. กรมทรัพยากรธรณี แหล่งที่มา: http://library.dmr.go.th/library/DMR_Technical_Reports/2544/1444.pdf [29 มิถุนายน 2557]. 33ญาณ์นภัส สกุลบุญพาณิชย์, "ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ตสมัยใหม่ พ.ศ. 25002550" (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554), หน้า 135. |
|