จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์ การครอบครองคาบสมุทรมลายูของชาติตะวันตกและการพัฒนาท่าเรือแคลง โปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ ล้วนเป็นชาติตะวันตกที่เคยครอบครองและมีอิทธิพลเหนือคาบสมุทรมลายูอย่างยาวนาน โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาครอบครองมะละกาในศตวรรษที่ 16 และครอบครองยาวนานกว่า 130 ปี ในศตวรรษที่ 17 ก็เสียมะละกาให้แก่ฮอลันดาซึ่งแผ่อิทธิพลทั่วคาบสมุทรมลายูตลอดจนถึงเกาะบอร์เนียว ในศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้เข้ามาในดินแดนแถบนี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าและเพิ่มแสนยานุภาพทางทะเลในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งต้องการคานอำนาจของฮอลันดา และในศตวรรษที่ 19 ก็สามารถครอบครองพื้นที่ในแถบนี้ทั้งหมดซึ่งเคยเป็นของฮอลลันดา อังกฤษเป็นชาติแรกที่พัฒนาท่าเรือแคลงอย่างจริงจัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นท่าเรือส่งออกแร่ดีบุกและยางพารา ซึ่งมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดยุโรป ทั้งนี้เพราะรัฐเซลังงอร์ซึ่งเป็นรัฐที่ท่าเรือแคลงตั้งอยู่อุดมด้วยแหล่งแร่ดีบุก และมีภูมิประเทศภูมิอากาศที่เหมาะสมในการปลูกยางพารา โดยในปี ค.ศ.1882 เซอร์แฟรง สเวทเทนฮัม (Sir Frank Athlestane Swettenham) ผู้แทนอังกฤษประจำรัฐเซลังงอร์ (Resident of Selangor) เป็นผู้พัฒนาท่าเรือแคลงให้ทันสมัย จนท่าเรือแคลงถูกเรียกว่า "ท่าเรือสเวทเทนฮัม" ต่อมาในปี ค.ศ.1898 เมื่อการค้าและการขนส่งสินค้ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จึงได้ออกแบบและก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่โดยย้ายท่าเรือจากฝั่งแม่น้ำแคลงมาสู่ฝั่งทะเล1 พร้อม ๆ กับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างท่าเรือแคลงกับเมืองกัวลาลัมเปอร์ซึ่งแล้วเสร็จในปี ค.ศ.1900 และท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่เริ่มประกอบการการในปี ค.ศ.19012 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1614 - 1918) และสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939 - 1945) ท่าเรือแคลงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกองกำลังอากาศยานของอังกฤษ3 ต่อมาเมื่อสหพันธรัฐมาเลเซียก่อตั้งขึ้นเป็นประเทศเอกราช อังกฤษได้ยุติบทบาทในท่าเรือแคลง ท่าเรือยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นท่าเรือหลักของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ทำเลที่ตั้งของท่าเรือ ท่าเรือตั้งอยู่ที่ ละติจูดที่ 03 ํ00' องศาเหนือ ลองกิจูด 101 ํ24' องศาตะวันออก ห่างจากเมืองกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมาเลเซียไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร ท่าเรือตั้งอยู่ในเขตแคลง รัฐเซลังงอร์ ชายฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู ใกล้ช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือหลักจากยุโรป4 และห่างจากท่าเรือสิงคโปร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 332 กิโลเมตร5 การบริหารจัดการท่าเรือ ในยุคอาณานิคมท่าเรือแคลงเป็นประตูการค้าที่สำคัญของอังกฤษนานกว่า 90 ปี (ค.ศ.1873 - 1963) ในช่วงนี้หน่วยงานที่ดูแลและพัฒนาท่าเรือแคลง คือ Malaya Railway Administration ซึ่งนอกจากบริหารและประกอบการท่าเรือแคลงแล้ว ยังมีรับผิดชอบในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างท่าเรือแคลงถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์เพื่อใช้เป็นเส้นทางการขนส่งแร่ดีบุก กาแฟ และยางพาราที่มีแหล่งผลิตหลักอยู่ในรัฐซาลังงอร์ จนกระทั่งประเทศมาเลเซียประกาศเป็นประเทศเอกราช ได้มีการจัดตั้งการท่าเรือแคลง (Port Klang Authority: PKA) เพื่อบริหารจัดการท่าเรือแคลงในปี ค.ศ.1963 ในปี ค.ศ.1986 รัฐบาลมาเลเซียมีแนวคิดในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) เพื่อดึงดูดภาคเอกชนเข้ามาลงทุนร่วมกับภาครัฐ และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารและจัดการในหน่วยงาน ท่าเรือแคลงเป็นท่าเรือแห่งแรกที่ได้รับการแปรรูป โดยมีการศึกษาอย่างรอบคอบ เพื่อให้การแปรรูปท่าเรือแคลงเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของมาเลเซีย จึงกล่าวได้ว่า การแปรท่าเรือแคลงเป็นต้นแบบของการแปรรูปท่าเรืออื่น ๆ ของมาเลเซีย การแปรรูปท่าเรือประกอบด้วย การแปรรูป North Port ครั้งที่ 1 การแปรรูป North Port เริ่มต้นจากการแปรรูปท่าเทียบเรือตู้สินค้าชุดแรกซึ่งเริ่มประกอบการตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ.19726 โดยในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1986 ได้ก่อตั้งบริษัท Klang Container Terminal Sdn. Bhd. (Private Limited) หรือ KCT ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงขนส่งและกระทรวงการคลัง ให้ประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าแห่งนี้7 บริษัท KCT มีผู้ถือหุ้นหลัก 2 ราย คือ การท่าเรือแคลงถือหุ้นร้อยละ 49 และบริษัท Kannas Terminal Klang Sdn. Bhd. (KTK) ร้อยละ 518 ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท Kontena Nasional Sdn. Bhd. บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ของมาเลเซีย กับ บริษัท P&O สายเดินเรือของประเทศออสเตรเลีย9 ต่อมาได้มีการนำ KCT เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur Stock Exchange) สัดส่วนผู้ถือหุ้นได้กระจายไปยังบริษัทและหน่วยงานต่าง ๆ ในปัจจุบันผู้ถือหุ้นของ KCT ประกอบด้วย การท่าเรือแคลงร้อยละ 20 บริษัท Kannas Terminal Klang ร้อยละ 40 พนักงานของ KCT ร้อยละ 5 และประชาชนทั่วไป ร้อยละ 3510 การแปรรูป North Port ครั้งที่ 2 ในเดือนมกราคม ค.ศ.1992 ได้มีการแปรรูปการบริหารท่าเทียบเรือที่เหลือใน North Port ประกอบด้วยท่าเทียบเรือตู้สินค้าชุดที่ 2 และท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป โดยให้บริษัท Klang Port Management (KPM) เป็นผู้บริหารจัดการและประกอบการท่าเทียบเรือเหล่านี้แทนการท่าเรือแคลง11 เนื่องจากท่าเทียบเรือที่มีการแปรรูปทั้งสองล้วนตั้งอยู่บริเวณ North Port ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1998 จึงได้รวม บริษัท KCT และ บริษัท KPM จัดตั้งเป็นบริษัท Northport (Malaysia) Sdn. Bhd. เพื่อบริหารและจัดการท่าเทียบเรือฝั่งเหนือทั้งหมด12 การแปรรูป West Port การท่าเรือแคลงก่อสร้างและพัฒนาท่าเทียบเรือเพิ่มเติมในบริเวณฝั่งตะวันตกหรือ West Port โดยให้สัมปทานแก่บริษัท Kelang Multi Terminal Sdn. Bhd. เป็นระยะเวลา 30 ปี เพื่อก่อสร้างและพัฒนาท่าเรือตามแผนหลักพัฒนาท่าเรือ ค.ศ.1990 - 2010 ปัจจุบันบริษัท Kelang Multi Terminal ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Westport (Malaysia) Sdn Bhd โดยบริษัทประกอบการท่าเทียบเรือและจ่ายค่าสัมปทานแก่การท่าเรือแคลง ดังนี้13 สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือ ท่าเรือแคลงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ South Port, North Port และ West Port นอกจากนี้ยังมีท่าเทียบเรือโดยสารและท่าเทียบเรือขนถ่ายเชื้อเพลิงซึ่งบริหารและประกอบการโดยเอกชน ดังนี้ South Port South Port ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ 9 ท่า ความลึกหน้าท่าประมาณ 5 - 10.5 เมตร ความยาวหน้าท่ารวม 1,122 เมตร ให้บริการขนถ่ายสินค้าเหลวในท่าเทียบเรือที่ 1 - 2 เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันยางเป็นต้น14 ส่วนท่าเทียบเรือที่ 3 - 4 เป็นท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป สินค้าผ่านท่า เช่น แป้ง ข้าวสาลี ข้าวโพดเป็นต้น15 ท่าเทียบเรือที่เหลือให้บริการแก่เรือข้ามฟาก และเรือโดยสารขนาดเล็กไปยังประเทศอินโดนีเซีย
North Port North Port ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือ 18 ท่า ความลึกหน้าท่าประมาณ 10 - 15 เมตร ความยาวหน้าท่ารวม 3,997 เมตร16 รายละเอียดท่าเทียบเรือ มีดังนี้ - ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 13 ท่า สามารถรับตู้สินค้าได้ปีละ 5 ล้าน TEUs17 - ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป 1 ท่า มีพื้นที่โรงเก็บสินค้า 47,165 ตารางเมตร และลานสินค้ากลางแจ้ง 57,805 ตารางเมตร18 สินค้าผ่านท่า ได้แก่ ขนถ่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรม เหล็ก ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า19
- ท่าเทียบเรือสินค้าเทกอง 2 ท่า มีพื้นที่โรงเก็บสินค้า 36,623 ตารางเมตร และลานสินค้ากลางแจ้ง 17,520 ตารางเมตร20 สินค้าผ่านท่า เช่น ขนถ่ายซีเมนต์ ข้าวโพด ธัญพืช อาหารสัตว์ เป็นต้น21 - ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า สินค้าผ่านท่า ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ และน้ำมันพืชกลั่นสำเร็จรูป เช่น น้ำมันปาล์ม สินค้าเหลวส่วนใหญ่เป็นของบริษัท Petronas และบริษัท BP ซึ่งมีโรงกลั่นอยู่บริเวณใกล้เคียง22
West Port West Port เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าและท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ที่สร้างขึ้นใหม่ ความยาวหน้าท่ารวม 6,090 เมตร และความลึกหน้าท่าประมาณ 10 - 16 เมตร มีท่าเทียบเรือ 23 ท่า ประกอบด้วย - ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 10 ท่า สามารถรับตู้สินค้าได้ปีละ 6 ล้าน TEUs23
- ท่าเทียบเรือสินค้าเทกองและสินค้าทั่วไป 6 ท่า มีพื้นที่โรงเก็บสินค้ารวม 45,470 ตารางเมตร และลานสินค้ากลางแจ้ง 80,357 ตารางเมตร24 สินค้าผ่านท่า เช่น เครื่องจักรอุตสาหกรรม เหล็ก ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า25 ข้าวโพด ธัญพืช อาหารสัตว์ เป็นต้น26 นอกจากนี้มีท่าเทียบเรือขนถ่ายกากแร่ (Slag) 1 ท่า ท่าเทียบเรือขนถ่ายซีเมนต์ 1 ท่า - ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 5 ท่า สินค้าผ่านท่า เช่น สินค้าน้ำมันจากพืช และน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น27
ท่าเรือโดยสาร บริษัท Star Cruises Terminal Sdn. Bhd. และบริษัท Glamorous Trendy Sdn. Bhd. เข้าถือหุ้นในบริษัท Port Klang Cruise Center Sdn. Bhd. (PKCC)28 เพื่อบริหารจัดการท่าเรือโดยสาร (Port Klang Cruise Center) เปิดให้บริการท่าเทียบเรือแรก ซึ่งอยู่ติดกับท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปบริเวณ West Port ในปี ค.ศ.1995 ท่าเรือประกอบด้วยท่าเทียบเรือจำนวน 3 ท่า ให้บริการแก่เรือโดยสารและเรือสำราญขนาดใหญ่29 ในปี ค.ศ.2009 บริษัท Star Cruises Terminal Sdn Bhd ขายหุ้นให้แก่บริษัท Glenn Defense Marine Asia Sdn Bhd (GDMA) ส่งผลให้บริษัทแห่งนี้เป็นผู้บริหารและประกอบการ PKCC ในปัจจุบัน
ท่าเทียบเรือขนถ่ายเชื้อเพลิง ท่าเทียบเรือ Kapar Power Station เป็นท่าเทียบเรือสำหรับขนถ่ายเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าในท่าเรือแคลง (Port Klang Power Station) เป็นที่รู้จักในนาม Sultan Salahuddin Abdul Aziz Power Station30 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย มีกำลังการผลิต 2,420 เมกะวัตต์ โดยมีบริษัท Kapar Energy Ventures เป็นผู้ประกอบการ โรงไฟฟ้าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงได้ทั้ง 3 ชนิด คือ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ31 ท่าเทียบเรือประกอบด้วย สะพานเทียบเรือ (jetty) 2 ท่า ได้แก่ - สะพานสำหรับขนถ่ายน้ำมันและก๊าซ ยาว 245 เมตร ความลึกหน้าท่า 14.5 เมตร ขีดความสามารถในการขนถ่าย 40,000 ตัน - สะพานเทียบเรือสำหรับขนถ่ายถ่านหิน ยาว 335 เมตร ความลึกหน้าท่า 14.5 เมตร ขีดความสามารถในการขนถ่าย 80,000 ตัน32
สิ่งอำนวยความสะดวกที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของท่าเรือ ท่าเรือแคลงมีเขตปลอดอากร (Port Klang Economic Free Zone) ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 1,000 เอเคอร์ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมเบา โรงพักสินค้า คลังสินค้า ศูนย์กลางทางธุรกิจ (Business Complex) เพื่อให้บริการแก่โรงงานทำการผลิตหรือบริษัทด้านโลจิสติกส์ ให้สามารถใช้บริการท่าแคลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ33 บทความที่เกี่ยวข้อง สุมาลี สุขดานนท์. การครอบครองคาบสมุทรมาลายูของมหาอำนาจตะวันตก. [สายตรง]. สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 แหล่งที่มา : http://www.tri.chula.ac.th/triresearch/malau/malau.html 1 North Port (Malaysia) Sdn Bhd. Company Profile. [Online]. Available from: http://www.northport.com.my/corp_compro.php [23 February 2011]. 2North Port (Malaysia) Sdn Bhd. Heritage. [Online]. Available from: http://www.northport.com.my/corp_heritage.php [10 March 2011]. 3Ibid. 4การท่าเรือแห่งประเทศไทย. รายงานการศึกษาดูงานของคณะศึกษาดูงานระบบการจักการด้านความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมท่าเรือและพนักงานจากท่าเรือกรุงเทพ ณ Port Klang ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 25 - 27 กุมภาพันธ์ 2552 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www1.port.co.th/pshems/klang.pdf [1 มีนาคม 2554]. 5World Port Source. Port Klang. [Online]. Available from: http://www.worladportsource.com/ports/MYS_Port_Klang_273.php [1 March 2011]. 6North Port (Malaysia) Sdn Bhd. Heritage. [Online]. 7Datin Phang. Privatisation - Regulatory Perspective (Port Klang's Experience). [Online]. Available from: http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [16 March 2011]. 8Northport (Malaysia). Heritage. [Online]. Available from: http://www.northport.com.my/corp_heritage.php#top [2 May 2011]. 9Han J. Peters. Private Sector Involvement in East and Southeast Asian Ports An Overview of Contractual Arrangements. [Online]. Available from: http://siteresources.worldbank.org/INTTRANSPORT/Resources/336291-1119275973157/td-ps10.pdf [2 May 2011]. 10Datin Phang. PRIVATISATION - REGULATORY PERSPECTIVE (PORT KLANG'S EXPERIENCE). [Online]. Available from : http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [16 March 2011]. 11Northport (Malaysia) Sdn Bhd. Heritage. [Online]. Available from: http://www.northport.com.my/corp_heritage.php#top [2 May 2011]. 12Datin Pang. Privatisation - Regulatory Perspective (Port Klang's Experience). [Online]. Available from: http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf [10 March 2011]. 13Ibid. 14Port Klang Authority. Liquid Bulk. [Online]. Available from : http://www.pka.gov.my/LB.asp [10 March 2011]. 15Port Klang Authority. Dry Bulk. [Online]. Available from : http://www.pka.gov.my/DB.asp [10 March 2011]. 16Port Klang Authority. Port Klang Malaysia Marine Information Handbook. [Online]. Available from: http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [10 March 2011]. 17Port Klang Authority. Crossing Trade Boundaries. [Online]. Gateway - Publication of Port Klang Authority Available from: http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [4 May 2011]. 18Port Klang Authority. Crossing Trade Boundaries. [Online]. Gateway - Publication of Port Klang Authority Available from: http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [4 May 2011]. 19Port Klang Authority. Conventional. [Online]. Available from : http://www.pka.gov.my/Conven.asp [10 March 2011]. 20Port Klang Authority. Crossing Trade Boundaries. [Online]. Gateway - Publication of Port Klang Authority Available from : http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [4 May 2011]. 21Port Klang Authority. Dry Bulk. [Online]. Available from : http://www.pka.gov.my/DB.asp [10 March 2011]. 22Port Klang Authority. Liquid Bulk. [Online]. Available from : http://www.pka.gov.my/LB.asp [10 March 2011]. 23Port Klang Authority. Crossing Trade Boundaries. [Online]. Gateway - Publication of Port Klang Authority Available from : http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [4 May 2011]. 24Port Klang Authority. Crossing Trade Boundaries. [Online]. Gateway - Publication of Port Klang Authority Available from : http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [4 May 2011]. 25Port Klang Authority. Conventional. [Online]. Available from : http://www.pka.gov.my/Conven.asp [10 March 2011]. 26Port Klang Authority. Dry Bulk. [Online]. Available from : http://www.pka.gov.my/DB.asp [10 March 2011]. 27Port Klang Authority. Liquid Bulk. [Online]. Available from: http://www.pka.gov.my/LB.asp [10 March 2011]. 28Star Cruises. Press Release 30 August 2009. [Online]. Available from : http://www.gentinghk.com/pdf/news/2009/20090830_pkl_en.pdf [2 May 2011]. 29Star Cruises. Star Cruises Terminal - Port Klang. [Online]. Available from : http://www.starcruises.com/newweb/about_starcruises/port_klang.aspx [2 May 2011]. 30Tenaga Nasional Berhad . Port Klang Power Station Project (Phase 3 /Phase 3-Stage2). [Online]. Available from: http://www.jica.go.jp/english/operations/evaluation/oda_loan/post/2006/ pdf/project12_ full.pdf [2 May 2011]. 31Kapar Energy Ventures Sdn Bhd. History. [Online]. Available from: http://kaparenergy.com.my/website/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=6 [2 May 2011]. 32Port Klang Authority. Port Klang Malaysia Marine Information Handbook. [Online]. Available from: http://www.kmi.re.kr/english/data/publication/10-2.pdf (revised 1 March 2010) [10 March 2011]. 33Port Klang Free Zone. PKFZ's profile. [Online]. Available from: http://www.pkfz.com/content/profile/profile.html [10 March 2011]. |
|