จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์ ท่าเรือภูเก็ตก่อสร้างพร้อมกับท่าเรือสงขลาตามแนวทางในการพัฒนาการขนส่งทางทะเลซึ่งได้ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 51 โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ประวัติการก่อสร้างท่าเรือ เช่นเดียวกับท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือสงขลา ท่าเรือภูเก็ตเป็นท่าเรือที่มีประวัติความเป็นมาในการก่อสร้างที่ยาวนาน โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 จนกระทั่งการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ใน พ.ศ.2531 ใช้เวลากว่า 21 ปี รายละเอียดการก่อสร้างท่าเรือสงขลาแบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะการศึกษาความเป็นไปในการก่อสร้างท่าเรือภูเก็ต (พ.ศ.2510 2519) ก่อนการก่อสร้างท่าเรือภูเก็ตได้มีการสำรวจความเหมาะสมเพื่อสร้างท่าเรือภูเก็ต 5 ครั้ง โดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ โดยการศึกษาทุกครั้งระบุว่าทำเลที่เหมาะสมในการก่อสร้างท่าเรือ คือ อ่าวขาม พ.ศ. 2510 บริษัท Oversea Technical Cooperation Agency (ประเทศญี่ปุ่น) และ พ.ศ.2513 บริษัท Rendel Palmer and Triton (ประเทศอังกฤษ) ได้ทำการสำรวจเบื้องต้น เพื่อหาสถานที่ตั้งที่เหมาะสมและมีข้อเสนอแนะให้ก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกที่อ่าวขาม รวมถึงก่อสร้างท่าเทียบเรือประมงที่คลองท่าจีน2 พ.ศ. 2514 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน 450,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการสำรวจท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต3 โดยบริษัท Peter Fraenkel and Partner (ประเทศอังกฤษ) ได้ทำการสำรวจขั้นรายละเอียดทางเศรษฐกิจและวิศวกรรม และแนะนำว่าควรก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่อ่าวขามโดยด่วน เพราะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 244 พ.ศ. 2517 บริษัท Hunting Technical Service Limited (ประเทศอังกฤษ) ได้ทำการบททวนผลการศึกษาของ บริษัท Peter Fraenkel and Partner (ประเทศอังกฤษ) แล้วเสนอแนะให้ปรับปรุงร่องน้ำทางเข้าท่าเรือไทยซาโก้ที่อ่าวขามให้มีความลึกเมื่อน้ำลงต่ำสุด 8 เมตร และปรับปรุงท่าเรือซาโก้ เพื่อให้เรือขนาด 8,000 ตัน เข้าเทียบท่าได้ และสามารถขนถ่ายสินค้าได้ปีละ 50,000 ตัน5 พ.ศ. 2519 ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการโดยการจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา Rendel and Partners มาทำการปรับปรุงผลการศึกษาความเหมาะสมที่ผ่านมา และให้ตรวจสอบพร้อมกับให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานที่สำหรับพิจารณาเลือกทำการก่อสร้าง ผลการศึกษาของบริษัท Rendel and Partners ได้เสนอแนะว่า ควรก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตโดยเร็ว สถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด คือ อ่าวขาม จังหวัดภูเก็ต6 ระยะการสำรวจและออกแบบการก่อสร้างท่าเรือภูเก็ต (พ.ศ.2521 2524) การดำเนินงานหลังจากได้มีการสำรวจความเหมาะสมเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต คือ การสำรวจและออกแบบท่าเรือ พ.ศ. 2521 คณะรัฐมนตรีได้มีมติในวันที่ 5 มกราคม 2521 อนุมัติการกู้เงินเพื่อทำการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตและท่าเรือสงขลา7 และได้มีมติอีกครั้งในวันที่ 8 สิงหาคม 2521 ให้มีการสำรวจท่าเรือนำลึกภูเก็ตถึงขั้นออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรม8 โดยให้กู้เงินเพื่อการดังกล่าวจากธนาคารพัฒนาเอเชีย รัฐบาลได้ลงนามในสัญญากู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2521 เป็นจำนวน 1.5 เหรียญสหรัฐ ฯ หรือเท่ากับประมาณ 30.3375 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เท่ากับ 20.225 บาท) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.7 ต่อปี ระยะเวลาชำระหนี้เงินต้นทั้งสิ้น 10 ปี ทั้งนี้นับรวมระยะปลอดชำระหนี้เงินต้นประมาณ 2 ปี ด้วย การชำระหนี้เงินต้นแบ่งออกเป็น 16 งวด โดยเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 1 มีนาคม 25249 เงินกู้จำนวนนี้รัฐบาลนำไปสมทบกับเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการสำรวจท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตและสงขลาจำนวน 12 ล้านบาท10 พ.ศ. 2523 คณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่ 29 มกราคม 2523 อนุมัติให้กรมเจ้าท่า ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท Sir William Halcrow and Partners (UK) Maunsell Consultants Ltd. (UK) และห้างหุ้นส่วนจำกัด สินธุ พูนศิริวงศ์และสหาย เป็นวิศวกรที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการสำรวจออกแบบและทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตและสงขลา11 การศึกษาเริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม 2523 และแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2524 ผลการศึกษาปรากฏว่า บริเวณอ่าวขามเป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมที่จะสร้างท่าเรือ เนื่องจากมีอัตราการตกตะกอนต่ำ กระแสน้ำและกระแสลมไม่เป็นอุปสรรคสำหรับท่าเรือ และไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนกั้นคลื่น ส่วนร่องน้ำทางเข้าท่าเรือเป็นร่องน้ำทางเดินเรือธรรมชาติที่มีขนาดสั้น การขุดลอกน้อย เป็นผลให้ต้นทุนในการขุดลอกต่ำ อีกทั้งมีที่กำบังลมธรรมชาติ มีบริเวณชายหาดกว้างที่สามารถพัฒนาท่าเรือได้มาก คือ 6 ท่า นอกจากนี้ยังมีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ ช่วยให้ประหยัดค่าขนส่งขนส่งสินค้าหลัก คือ ยางพารา และดีบุก นอกจากนี้การสร้างท่าเรือน้ำลึกจะช่วยเสริมสร้างระบบการขนส่งชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือ จะมีการใช้เรือชายฝั่งสนับสนุน (Feeder Port) ซึ่งได้แก่ ท่าเรือกระบี่ กันตัง และสตูล ขนถ่ายสินค้ามากขึ้น อีกทั้งมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยมาก12 แผนแม่บทท่าเรือภูเก็ตที่ได้ออกแบบไว้ ท่าเรือประกอบด้วยเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 319 ไร่ มีท่าเทียบเรือ 6 ท่า พร้อมโรงพักสินค้า มีแอ่งกลับเรือเส้นผ่าศูนย์กลาง 360 เมตร สามารถรับเรือขนาดยาวไม่เกิน 173 เมตร กว้าง 25 เมตร กินน้ำลึกไม่เกิน 8.60 เมตร อย่างไรก็ตามการก่อสร้างท่าเรือระยะที่ 1 ท่าเรือมีเนื้อที่เพียงประมาณ 106 ไร่ เป็นพื้นที่ที่เกิดจาการถมทะเล ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ 2 ท่า ความยาวท่าละ 180 เมตร รวมความยาวทั้งสิ้น 360 เมตร บริเวณหน้าท่าท่าเทียบเรือขุดให้มีความลึก 10 เมตร หน้าท่า (Quay Apron) มีความกว้าง 30 เมตร โรงพักสินค้าอยู่ทางด้านเหนือของท่าเทียบเรือ ขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 90 เมตร รวมพื้นที่ 3,600 ตารางเมตร ร่องน้ำทางเข้าท่าเรือมีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร กว้าง 120 เมตร และลึก 9 เมตร (ที่ระดับน้ำทะเลต่ำสุด) และแอ่งกลับเรือเส้นผ่าศูนย์กลาง 360 เมตร และลึก 9 เมตร (ที่ระดับน้ำทะเลต่ำสุด)13 ระยะดำเนินการก่อสร้างท่าเรือภูเก็ต (พ.ศ.25242531) ท่าเรือภูเก็ตเริ่มดำเนินการก่อสร้างในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 25252529) ซึ่งสนับสนุนให้มีการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ ส่งผลให้นอกจากท่าเรือภูเก็ตแล้วยังมีท่าเรือที่ก่อสร้างในแผนพัฒนา ฯ นี้ อีก 4 ท่า คือ ท่าเรือสงขลา ซึ่งตั้งอยู่ภาคใต้ด้านชายฝั่งอ่าวไทย ท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุดซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศ การก่อสร้างท่าเรือภูเก็ตมีรายละเอียดสังเขปดังนี้ พ.ศ. 2524 คณะรัฐมนตรีได้มีมติในวันที่ 13 ตุลาคม 2524 เห็นชอบในหลักการให้งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างท่าเรือส่วนหนึ่งมาจากเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย และอีกส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดิน14 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2524 ให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียเพื่อก่อสร้างท่าเรือ15 พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ลงนามทำสัญญากู้เงินกับธนาคารพัฒนาเอเชีย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2525 เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างท่าเรือสงขลา ท่าเรือภูเก็ต และสะพานข้ามเกาะยอที่จังหวัดสงขลา จำนวน 71.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ หรือเท่ากับ 1,640.418 ล้านบาท16 พ.ศ. 2528 กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการประกวดราคาเพื่อคัดเลือกหาผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งได้พิจารณาคัดเลือกบริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด คือ บริษัท Tokyu ConstructionWakachikuCH. KarnchangCH.Karnchan & Tokyu Construction เมื่อคัดเลือกบริษัทได้แล้วจึงนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติทำสัญญาจ้างก่อสร้าง17 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติในวันที่ 3 กันยายน 2528 อนุมัติให้กรมเจ้าท่าก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 25292532 เพื่อทำการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ตามโครงการกู้เงินธนาคารพัฒนาเอเชีย ในวงเงิน 333,129,321.70 บาท18 เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแล้ว กรมเจ้าท่าจึงได้ลงนามสัญญาจ้างกับกลุ่มบริษัท Tokyu ConstructionWakachikuCH.KarnchangCH.Karnchan & Tokyu Construction เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2528 เพื่อทำการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ระยะเวลาการดำเนินการ 27 เดือน ซึ่งบริษัทผู้รับเหมาได้เริ่มงานการก่อสร้างเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2528 กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 6 เมษายน 253119 ทำเลที่ตั้ง ท่าเรือภูเก็ตตั้งที่ละติจูด 07° 49.0 เหนือ ลองกิจูด 98° 24.3 ตะวันออก20 ตั้งอยู่บนชายฝั่งอันดามันด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต บริเวณอ่าวมะขาม หมู่ที่ 7 บ้านอ่าวมะขาม ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
การบริหารและประกอบการท่าเรือ ท่าเรือภูเก็ตก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 เมษายน 253121 เนื่องจากท่าเรือก่อสร้างด้วยงบประมาณแผ่นดินจึงเป็นที่ราชพัสดุ ซึ่งตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ระบุให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ โดยมีกรมธนารักษ์เป็นผู้บริหารและจัดการ สำหรับการประกอบการท่าเรือนั้น ในครั้งแรกคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2524 ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้ประกอบการท่าเรือภูเก็ตและท่าเรือสงขลา22 แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2528 เห็นชอบในหลักการกับรูปแบบวิธีการและเงื่อนไขให้เอกชนเข้ามาดำเนินการกิจการท่าเรือของรัฐ23 เมื่อท่าเรือภูเก็ตก่อสร้างแล้วเสร็จ คณะรัฐมนตรีได้มีมติในวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 ให้ บริษัท C.T. International Line จำกัด (CTIC) หรือ บริษัท เจ้าพระยาท่าเรือสากล จำกัด เป็นผู้บริหารท่าเรือสงขลาและท่าเรือภูเก็ต เป็นเวลา 10 ปี โดยให้กรมธนารักษ์เป็นผู้รับผิดชอบในการทำสัญญาให้บริษัท CTIC เข้าบริหารท่าเรือทั้งสองแห่ง อีกทั้งให้กระทรวงคมนาคมแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและส่งเสริมการบริหารท่าเรือ ซึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน อธิบดีกรมธนารักษ์เป็นรองประธาน และกรรมการอื่นอีก 9 คน24 โดยได้มีการลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 253125 สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือ ร่องน้ำที่เข้าสู่ท่าเรือภูเก็ตมีความยาว 1.5 กิโลเมตร กว้าง 120 เมตร ลึก 9 เมตร ที่กลับลำเรือทางด้านตะวันตกของท่าเรือ มีศูนย์กลางประมาณ 360 เมตร26 ท่าเรือภูเก็ตมีพื้นที่ท่าเรือ 106 ไร่ พื้นที่ทั้งหมดเกิดจากการถมทะเล ลักษณะท่าเรือเป็นเขื่อนเทียบเรือตามแนวฝั่งน้ำ27 เรือที่เข้าเทียบท่ามีทั้งท่าเรือสินค้าและท่าเรือโดยสาร28 สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือประกอบด้วย29 ท่าเทียบเรือความยาว 360 เมตร เป็นท่าเทียบเรือสินค้า 2 ท่า และท่าเทียบเรือลำเลียง 2 ท่า สามารถรับเรือความยาวไม่เกิน 180 เมตร กินน้ำลึกไม่เกิน 9.4 เมตร พื้นที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าประกอบด้วยโรงพักสินค้า 3,600 ตารางเมตร และลานสินค้ากลางแจ้ง 15,700 ตารางเมตร ท่าเรือไม่มีอุปกรณ์ยกขนหน้าท่า การบรรทุกขนถ่ายสินค้าจึงต้องอาศัยปั้นจั่นเรือ ขีดความสามารถในการบรรทุกขนถ่ายสินค้าทั่วไป 450,000 ตันต่อปี
แผนพัฒนาท่าเรือในอนาคต แม้ว่าท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตได้รับการออกแบบให้เป็นท่าเรือสินค้าเป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีเรือท่องเที่ยวใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาท่าเรือภูเก็ตท่าให้สามารถรองรับเรือโดยสารท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ดังนี้ 30 1. ขยายหน้าท่าเพิ่มอีก 60 เมตร จากเดิมที่มี 360 เมตร โดยวิธีเพิ่มหลักผูกเรือ จำนวน 2 ตัว เพื่อให้สามารถจอดเรือโดยสารท่องเที่ยวและเรือสินค้าได้พร้อมกัน แต่หน้าท่าที่เพิ่มนั้นจะใช้สำหรับจอดเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวเป็นหลัก 2. ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกพร้อมลานจอดรถ เป็นอาคารผู้โดยสาร 16 X 25 เมตร หรือ 400 ตารางเมตร มีความสูง 8 เมตร ภายในประกอบด้วย ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหารเครื่องดื่ม ที่นั่งพักคอยของผู้โดยสารและห้องน้ำ นอกจากนี้ในส่วนของลานจอดรถสามารถรองรับรถยนต์ 4 ล้อ ได้ 56 คัน และรถโดยสารขนาดใหญ่ได้ 29 คัน 3. ก่อสร้างถนนเข้าสู่อาคารที่พักผู้โดยสาร เป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร กว้าง 7 เมตร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น โดยแยกกันชัดเจนระหว่างการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร 4. ขยายร่องน้ำเพื่อให้เรือขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าได้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สุมาลี สุขดานนท์และคณะ. การศึกษาศักยภาพจลของท่าเรือไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. สืบค้นได้จาก: การศึกษาศักยภาพจลของท่าเรือไทย สุมาลี สุขดานนท์และคณะ. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. สืบค้นได้จาก: การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย 1สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 2529) หน้า 105. (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เอกสารเผยแพร่/แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=62 [26 กุมภาพันธ์ 2557]). 2กองวิชาการ กรมเจ้าท่า, โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต, วารสารพาณิชยนาวี ปีที่ 8 ฉบับ 2 (พฤษภาคมสิงหาคม 2532): 4748. 3 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 26 มกราคม 2514 เรื่อง การสำรวจท่าเรือน้ำลึกที่ภูเก็ต [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/ [27 กุมภาพันธ์ 2557]. 4 กองวิชาการ กรมเจ้าท่า, โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต, วารสารพาณิชยนาวี ปีที่ 8 ฉบับ 2 (พฤษภาคมสิงหาคม 2532): 48. 5 เรื่องเดียวกัน, หน้า 48. 6 เรื่องเดียวกัน, หน้า 48. 7 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 5 มกราคม 2521 เรื่อง การกู้เงินธนาคารพัฒนาเอเชียสำหรับโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ตของกระทรวงคมนาคม [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/[27 กุมภาพันธ์ 2557]. 8สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 8 สิงหาคม 2521 เรื่อง โครงการสำรวจท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ตของกรมเจ้าท่า [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/ [27 กุมภาพันธ์ 2557]. 9 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียสำหรับโครงการสำรวจท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ตของกรมเจ้าท่า สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 148 หน้า 9510 วันที่ 24 ธันวาคม 2521 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th[4 มีนาคม 2557 2557]. 10 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 8 สิงหาคม 2521 เรื่อง โครงการสำรวจท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ตของกรมเจ้าท่า [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/[27 กุมภาพันธ์ 2557]. 11สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2501ปัจจุบัน) )/มติวันที่ 29 มกราคม 2523 เรื่อง ขออนุมัติสัญญาว่าจ้างบริษัท Sir William Halcrow and Partner, Maunsell Consultants Ltd. และห้างหุ้นส่วนจำกัด สินธุ พูนศิริวงศ์และสหาย เป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการโครงการสำรวจออกแบบและทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ต ตามโครงการช่วยเหลือเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/[24 มกราคม 2557]. 12กองวิชาการ กรมเจ้าท่า, โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต, วารสารพาณิชยนาวี ปีที่ 8 ฉบับ 2 (พฤษภาคมสิงหาคม 2532): 4850. 13กองวิชาการ กรมเจ้าท่า, โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต, วารสารพาณิชยนาวี ปีที่ 8 ฉบับ 2 (พฤษภาคมสิงหาคม 2532): 5355. 14สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 13 ตุลาคม 2524 เรื่อง โครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ต ระยะที่ 1[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/ [24 มกราคม 2557]. 15สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 15 ธันวาคม 2524 เรื่อง การกู้เงินธนาคารพัฒนาเอเชียสำหรับโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ตและสะพานเกาะยอที่จังหวัดสงขลา[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/ [24 มกราคม 2557]. 16ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง โครงการท่าเรือสงขลาภูเก็ต และสะพานข้ามเกาะยอ สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 36 หน้า 12 วันที่ 11 มีนาคม 2525 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th [7 กุมภาพันธ์ 2557]. 17กองวิชาการ กรมเจ้าท่า. โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต, วารสารพาณิชยนาวีปีที่ 8 ฉบับ 2 (พฤษภาคมสิงหาคม 2532): 4756. 18สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 15 ธันวาคม 2524 เรื่อง ขออนุมัติผูกพันงบประมาณข้ามปี เพื่อทากรก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตตามโครงการกู้เงินธนาคารพัฒนาเอเชีย[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/[24 มกราคม 2557]. 19กองวิชาการ กรมเจ้าท่า. โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต, วารสารพาณิชยนาวีปีที่ 8 ฉบับ 2 (พฤษภาคมสิงหาคม 2532): 4756. 20Chaophaya Terminal International Co.,Ltd. Port of Phuket/Location and Access[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://cntr.ctic.co.th/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36 [6 มีนาคม 2557]. 21กรมเจ้าท่า, แนวทางการวางแผนพัฒนาท่าเรือในประเทศไทย (รายละเอียดขั้นต่ำ), (กรุงเทพ ฯ: กระทรวงคมนาคมม 2542), หน้า 24. 22สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี (ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 7 กรกฎาคม 2524 เรื่อง การสำรวจออกแบบและทำแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลาและภูเก็ตของบริษัท Sir William Halcrow and Partner, Maunsell Consultants Ltd. และห้างหุ้นส่วนจำกัด สินธุ พูนศิริวงศ์และสหาย [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/ [24 มกราคม 2557]. 23สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี(ข้อมูลปี 2500ปัจจุบัน)/มติวันที่ 22 มกราคม 2528 เรื่อง นโยบายสนับสนุนให้เอกชนดำเนินงานท่าเรือพาณิชย์ [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th [24 มกราคม 2557]. 24สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี(ข้อมูลปี 2501ปัจจุบัน)/มติวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 เรื่อง การคัดเลือกเอกชนเข้ามาบริหารท่าเรือสงขลาและภูเก็ต [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/ [24 มกราคม 2557]. 25สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี(ข้อมูลปี 2501ปัจจุบัน)/มติวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 เรื่อง การบริหารท่าเรือสงขลาและภูเก็ต [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th/[24 มกราคม 2557]. 26Chaophaya Terminal International Co., Ltd. Port of Phuket/Location&Access [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://.ctic.co.th/index.php?option=com_content&task=view&id=43&Itemid=69 [6 มีนาคม 2557]. 27กรมเจ้าท่า, แนวทางการวางแผนพัฒนาท่าเรือในประเทศไทย (รายละเอียดขั้นต่ำ), หน้า 24. 28Chaophaya Terminal International Co., Ltd. Port of Phuket/Location&Access [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://.ctic.co.th/index.php?option=com_content&task=view&id=43&Itemid=69 [6 มีนาคม 2557]. 29Chaophaya Terminal International Co., Ltd. Port of Phuket/Facilities[สายตรง]. แหล่งที่มา: http://.ctic.co.th/index.php?option=com_content&task=view&id=45&Itemid=71[6 มีนาคม 2557]. |
|