ท่าเรือมาบตาพุด

จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์
ปีที่จัดทำ : สิงหาคม 2554

        หากพิจารณาระยะเวลาที่ใช้การศึกษาและก่อสร้างท่าเรือไทย จะเห็นได้ว่าท่าเรือมาบตาพุดเป็นท่าเรือที่ใช้เวลาศึกษาและก่อสร้างน้อยมาก กล่าวคือ ในปี 2525 ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง ในปี 2528 ทำการออกแบบด้านวิศวกรรม1 ในปี 2532 เริ่มการก่อสร้างท่าเรือซึ่งแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2535 และมีเรือเข้าเทียบท่าลำแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 25352 ทั้งนี้เป็นผลมาจากโครงการก่อสร้างท่าเรือได้รับการผลักดันให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard)

โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกกับการก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุด

        ความคิดริเริ่มในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งตะวันออกเกิดขึ้น เมื่อมีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในปี 2516
เขตพัฒนาอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529
. [สายตรง]
ส่วนที่สี่: การพัฒนาพื้นที่เฉพาะและการพัฒนาเมือง-บทที่ 2
การพัฒนาพื้นที่สามจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
แหล่งที่มา: http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=87
[8 สิงหาคม 2554].
รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ภายในประเทศ3 ต่อมาในปี 2523 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (กพอ.)4 และโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) โดยกำหนดให้บริเวณมาบตาพุดเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและพลังงาน และท่าเรือมาบตาพุดเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานในการสนับสนุนการดำเนินงานของอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบพาพุด5

        การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือ และการออกแบบด้านวิศวกรรมของท่าเรือมาบตาพุดได้รับความร่วมมือและสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA (Japan International Cooperation Agency)6 หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการก่อสร้างท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในปี 25317 การก่อสร้างท่าเรือเริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม 25328 การพัฒนาท่าเรือ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

        - การพัฒนาท่าเรือระยะที่ 1 (พ.ศ.2531-2535) ประกอบด้วย การถมทะเลเพื่อสร้างพื้นที่อุตสาหกรรมจำนวน 1,400 ไร่ และก่อสร้างท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า และท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป 1 ท่า ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2535 และมีเรือเข้าเทียบท่าลำแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 25359

        - การพัฒนาท่าเรือระยะที่ 2 (พ.ศ.2535-2542) ประกอบด้วย การก่อสร้างท่าเทียบเรือสินค้าเทกอง 1 ท่า10 ขุดลอกร่องน้ำและพื้นที่กลับเรือ และนำวัสดุที่ขุดได้ไปถมทะเลเพื่อเป็นพื้นที่ในการประกอบการอุตสาหกรรม 1,470 ไร่ ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2542 ต่อมาบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด ได้เช่าพื้นที่ของท่าเรือในระยะที่ 2 จำนวน 602 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,400 เม็กกะวัตต์11

        จักรวรรดิยะโฮร์เรืองอำนาจตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 16 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18 แม้ว่าในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 18 จะเริ่มเสื่อมอำนาจลง เนื่องมาจากการรุกรานของชาวบูกิสจากสุลาเวสีและชาวมินังกาเบาจากสุมาตรา6 แต่ยะโฮร์ยังคงความเป็นศูนย์กลางการค้าพริกไทยดำและชาดำ โดยมีแหล่งเพาะปลูกในเกาะรีเยา การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจทั้งสองอาศัยแรงงานจีนซึ่งเคลื่อนย้ายมาจากปีนัง7

ทำเลที่ตั้งของท่าเรือ

        ท่าเรือมาบตาพุดตั้งอยู่ที่ ละติจูดที่ 12 ํ 40' องศาเหนือ ลองกิจูด 101 ํ 10' องศาตะวันออก11 อยู่ในอ่าวมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 220 กิโลเมตร

การบริหารจัดการท่าเรือ

        การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นเจ้าของท่าเรือมาบตาพุด มีสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นผู้บริหารและจัดการท่าเรือ ต่อมาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2546 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้าง บริษัท โกลบอล พอร์ท แมนเนจเมนท์ จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินงานในท่าเรือมาบตาพุด ได้แก่13

        - จัดการระบบการจราจร

        - บำรุงรักษาร่องน้ำให้มีความลึกและกว้างตามที่การนิคม ฯ กำหนด รวมทั้งดูแลระบบสาธารณูปโภคในน้ำ เช่น ทุ่น หลักไฟนำร่อง ฯลฯ

        - บริหารจัดการระบบข้อมูลของท่าเรือ และบริหารสัญญาของท่าเทียบเรือ 6 แห่ง ได้แก่ ท่าเทียบเรือ TTT ท่าเทียบเรือ TPT ท่าเทียบเรือ GLOW ท่าเทียบเรือ NFC ท่าเทียบเรือ RBT และท่าเทียบเรือ MTT

        - บำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคบนฝั่ง เช่น ระบบบำบัด น้ำเสีย ถนน รางระบายน้ำ อาคารต่างๆ เป็นต้น

สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือ

        ท่าเรือมาบตาพุดมีท่าเทียบเรือ 12 ท่า ทั้งหมดประกอบการโดยเอกชน แบ่งท่าเทียบเรือออกเป็น 2 แบบ คือ ท่าเทียบเรือสาธารณะและท่าเทียบเรือเฉพาะกิจ

รายละเอียดท่าเทียบเรือในท่าเรือมาบตาพุด
ที่มา : 1.สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือสาธารณะ [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.maptaphutport.com [16 สิงหาคม 2554].
2. สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ. [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.maptaphutport.com [16 สิงหาคม 2554].


ท่าเทียบเรือสาธารณะ

        ท่าเทียบเรือสาธารณะเป็นท่าเรือที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไป โดยการนิคม ฯ เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น โรงพักสินค้า พื้นที่หน้าท่า และอุปกรณ์หน้าท่า ท่าเทียบเรือสาธารณะมี 2 ท่า คือ ท่าเทียบเรือ TPT และท่าเทียบเรือ TTT14

รายละเอียดผู้ประกอบการท่าเทียบเรือในท่าเรือมาบตาพุด


        - ท่าเทียบเรือ TPT

ท่าเทียบเรือ TPT
ที่มา : โดยสุมาลี สุขดานนท์ 18 ธันวาคม 2550.
        ท่าเทียบเรือ TPT เป็นท่าเทียบเรือสินค้าแห้ง ประกอบการโดย บริษัท ไทยพรอสเพอริตี้ เทอร์มินัล จำกัด ท่าเทียบเรือประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 2 ท่า คือ ท่าเทียบเรือใหญ่ ความยาวหน้าท่า 330 เมตร ความลึกหน้าท่า 12.5 เมตร สามารถรับเรือขนาด 60,000 dwt ส่วนท่าเทียบเรือเล็ก ความยาวหน้าท่า 150 เมตร ความลึกหน้าท่า 6 เมตร สามารถรับเรือขนาด 25,000 dwt15 สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ลานวางสินค้ากลางแจ้งขนาด 75,000 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 1 หลัง ขนาด 4,080 ตารางเมตร16 สินค้าผ่านท่า ได้แก่ สินค้าทั่วไป เช่น เหล็ก และเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานในนิคมฯ สินค้าเทกอง เช่น แร่โปแตส ซึ่งใช้ในการผลิตปุ๋ย17

        - ท่าเทียบเรือ TTT

ท่าเทียบเรือ TTT
ที่มา : โดยสุมาลี สุขดานนท์ 25 ธันวาคม 2550.
        ท่าเทียบเรือ TTT เป็นท่าเทียบเรือสินค้าเหลว ประกอบการโดย บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) ท่าเทียบเรือประกอบด้วยสะพานเทียบเรือ 3 ท่า สะพานเทียบเรือหมายเลข 1 และ 2 มีความยาว 280 เมตร ส่วนสะพานเทียบเรือหมายเลข 3 มีความยาว 120 เมตร ท่าเทียบเรือทั้งหมดมีความลึกหน้าท่า 12.5 เมตร ท่าเทียบเรือมีถังเก็บสินค้า 90 ใบ สามารถบรรจุสินค้าเหลวถังละ 80,000 ตัน18

ท่าเทียบเรือเฉพาะกิจ

        ท่าเทียบเรือเฉพาะกิจ เป็นท่าเรือที่ลงทุนและก่อสร้างโดยเอกชน สินค้าผ่านท่าต้องเป็นสินค้าของบริษัทผู้ประกอบการท่าเรือหรือบริษัทในเครือเท่านั้น19 ดังนี้



        - ท่าเทียบเรือ NFC

        ท่าเทียบเรือ NFC มีความยาว 240 เมตร ความลึกหน้าท่า 11.9 เมตร สามารถรับเรือไม่เกิน 60,000 dwt20 ขนส่งปุ๋ยเคมี ของ บริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ ซึ่งเดิมคือ บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) แต่ในปี 2540 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ในปี 2547 มีการปรับโครงสร้างภายในองค์กร ปัจจุบันท่าเทียบเรือ NFC ประกอบการโดยกลุ่มบริษัทเอสซี21

        - ท่าเทียบเรือ RBT

ท่าเทียบเรือ RBT
ที่มา : โดยสุมาลี สุขดานนท์ 19 ธันวาคม 2550.
        ท่าเทียบเรือ RBT ก่อสร้าง บริหารจัดการ และประกอบการโดย บริษัท ท่าเรือระยอง จำกัด ตั้งแต่ปี 2539 เพื่อขนถ่ายสินค้าเทกองในกิจการของบริษัทปูนซีเมนต์ และบริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ท่าเทียบเรือมีความยาว 1,000 เมตร สามารถรับเรือ 60,000 dwt22 ความลึกหน้าท่า 11.9 เมตร23 ต่อมาในปี 2546 บริษัท ท่าเรือระยอง บริษัทฯ ประสบปัญหาเศรษฐกิจ และนำมาสู่แผนการฟื้นฟูบริษัท24 ส่งผลให้กลุ่มบริษัทเอสซีได้เข้าดำเนินกิจการของบริษัท ท่าเรือระยอง จำกัด ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 254925

        - ท่าเทียบเรือ SPRC

        บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด เป็นเจ้าของและผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ SPRC ประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 7 ท่า สำหรับขนถ่ายน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซ LPG โดยมีความยาวหน้าท่ารวม 1,045 เมตร และความลึกหน้าท่า 6-10.6 เมตร26

        - ท่าเทียบเรือ PTTAR

        
ท่าเทียบเรือ SPRC
ที่มา : โดยสุมาลี สุขดานนท์ ธันวาคม 2550.
ท่าเทียบเรือ PTTAR เดิมคือ ท่าเทียบเรือ RRC ซึ่งบริหารและประกอบการ โดยบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด หรือ RRC27 แต่ตั้งแต่ปี 2550 ท่าเทียบเรือบริหารและประกอบการโดยบริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทั้งนี้เป็นผลมาจากโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด ได้ควบรวมกิจการกับ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และจัดตั้งเป็น บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)28 ท่าเทียบเรือ PTTAR ขนถ่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ประกอบด้วยสะพานเทียบเรือ 3 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 579 เมตร และความลึกหน้าท่า 7.5-11 เมตร29

        - ท่าเทียบเรือ MTT

        ท่าเทียบเรือ MTT ก่อสร้างในปี 2538 แล้วเสร็จในปี 2541
ท่าเทียบเรือ MTT
ที่มา : โดยสุมาลี สุขดานนท์ 19 ธันวาคม 2550.
บริหารและประกอบการโดยบริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล เพื่อขนถ่ายและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของกลุ่มบริษัทในเครือ Siam Cement Group Chemicals หรือ SCG Chemicals ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหลักของบริษัท ฯ30 ท่าเทียบเรือประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 4 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 857 เมตร และความลึกหน้าท่า 9.4-15.0 เมตร31 และถังเก็บสินค้า 25 ถัง ความจุรวม 400,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 280,000 ตัน32

        - ท่าเทียบเรือ Glow

        ท่าเทียบเรือ Glow มีความยาว 225 เมตร ความลึกหน้าท่า 12.5 เมตร สามารถรับเรือขนาด 58,000 dwt ขนถ่ายถ่านหิน เพื่อนำมาให้ผลิตระแสไฟฟ้าของ บริษัท โกลว์ เอสพีพี 3 จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือและผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำจืดแก่โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย33

        - ท่าเทียบเรือ BLCP

         ท่าเทียบเรือ BLCP เป็นท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหิน เพื่อนำมาให้ผลิตระแสไฟฟ้าของ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด
ท่าเทียบเรือ BLCP
ที่มา : โดยสุมาลี สุขดานนท์ 29 มกราคม 2551.
ซึ่งเป็นผู้ประกอบการท่าเรือและผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายไฟฟ้า แก่โรงงานอุตสาหกรรมในนิคม ฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย34 ท่าเทียบเรือยาว 260 เมตร ความลึกหน้าท่า 15 เมตร สามารถรับเรือขนาด 120,000 dwt35

        - ท่าเทียบเรือ PTT LNG

         บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ ปตท. บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ เพื่อขนถ่ายและเก็บรักษาก๊าซ LNG เริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือในปี 2550
แบบจำลองท่าเทียบเรือ PTT LNG
ที่มา : บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด.
Map Ta Phut LPG Terminal -
Project Composition
[สายตรง]. แหล่งที่มา :
http://www.pttlng.com/en/pj_composition.aspx
[15 สิงหาคม 2554].
และคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปี 255436 ท่าเทียบเรือประกอบด้วยสะพานเทียบเรือยาว 345 เมตร ความลึกหน้าท่า 12 เมตร สามารถรับเรือขนาด 125,000-264,000 ลูกบาศก์เมตร37 และถังเก็บรักษาสินค้า 2 ถัง38

        - ท่าเทียบเรือ PTT Tank

        บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ ปตท. บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ เพื่อขนถ่ายและเก็บรักษาปิโตรเลียมเหลว ปัจจุบันท่าเรืออยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง39 ท่าเทียบเรือมีความยาวหน้าท่ายาว 330 เมตร ความลึกหน้าท่า 12.5 เมตร สามารถรับเรือขนาด 60,000 dwt40 และถังเก็บรักษาปิโตรเลียมเหลว 10 ถัง41




แผนผังท่าเรือมาบตาพุดและที่ตั้งท่าเทียบเรือ PTT Tank
บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด. เอกสารประกอบเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือและคลังสินค้าเหลว ในจังหวัดระยอง ของ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด-รายละเอียดโครงการ. [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.greener.co.th/news-attach/file/100428-230821-f.pdf [15 สิงหาคม 2554].

        - ท่าเทียบเรือ RTC

        บริษัท ระยองเทอร์มินัล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท Siam Cement Group Chemicals จำกัด42 เป็นผู้บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปัจจุบันท่าเรืออยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ท่าเทียบเรือมีความยาวหน้าท่ายาว 211 เมตร ความลึกหน้าท่า 12.6 เมตร สามารถรับเรือขนาด 50,000 dwt43

แผนพัฒนาท่าเรือในอนาคต

         ท่าเรือมาบตาพุดมีท่าเทียบเรือใหม่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 3 ท่า คือ ท่าเทียบเรือ PTT LNG ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการปลายปี 2554 และท่าเทียบเรือ PTT Tank และท่าเทียบเรือ RTC อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างและการรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ



1 งานบริการที่ปรึกษาเพื่อการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด. ความคืบหน้า-วัตถุประสงค์ของรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1. [สายตรง]. งาน แหล่งที่มา : http://122.155.17.131/~maptaphut/progress3.html [9 สิงหาคม 2554].

2งานบริการที่ปรึกษาเพื่อการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด. หน้าหลัก. [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://122.155.17.131/~maptaphut/index.html [9 สิงหาคม 2554].

3การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ความเป็นมา. [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.oic.go.th [16 สิงหาคม 2554].

4สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหามติ ครม./ค้นหามติ ครม.รายเรื่อง (ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน)/เรื่อง การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก มติวันที่ 25 พฤศจิกายน 2523 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th [17 สิงหาคม 2554].

5สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525 - 2529 ส่วนที่สี่ การพัฒนาพื้นที่เฉพาะและการพัฒนาเมือง - บทที่ 2 การพัฒนาพื้นที่สามจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก, หน้า 124. [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.nesdb.go.th [8 สิงหาคม 2554].

6สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา/ประกาศ-ค้นหาราชกิจจานุเบกษา/ค้นหาราชกิจจานุเบกษา/ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 169 ฉบับพิเศษ หน้า 26-27, 21 สิงหาคม 2526. [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp [17 สิงหาคม 2554].

7สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหามติ ครม. รายเรื่อง (ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน)/เรื่อง มติคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกครั้งที่ กพอ.1/2531 มติวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2531 [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.cabinet.soc.go.th [17 สิงหาคม 2554].

8สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. ความเป็นมา. [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.maptaphutport.com/index.php [7 กรกฎาคม 2552].

9บริการที่ปรึกษาเพื่อการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด. หน้าหลัก. [สายตรง].

10สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ค้นหามติ ครม. รายเรื่อง (ข้อมูลปี 2500-ปัจจุบัน)/เรื่อง โครงการก่อสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 2 มติวันที่ 29 ธันวาคม 2535 [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.cabinet.soc.go.th [9 สิงหาคม 2554].)

11งานบริการที่ปรึกษาเพื่อการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด. หน้าหลัก. [สายตรง].

12Gulf Agency Company. Fairplay Port Guide 1999-2000, Volume 3 Port Information, (United Kingdom), p.3752.

13บริษัท โกลบอล พอร์ท แมนเนจเมนท์ จำกัด. History. [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.gpm.co.th [9 สิงหาคม 2554].

14สุมาลี สุขดานนท์. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. (กรุงเทพมหานคร: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552), หน้า 443.

15เรื่องเดียวกัน, หน้า 100.

16บริษัท ไทยพรอสเพอริตี้ เทอร์มินัล จำกัด. เกี่ยวกับเรา. [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.tptport.com/mtp/th/mtp.html [9 สิงหาคม 2554].

17สุมาลี สุขดานนท์. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. หน้า 443-444.

18เรื่องเดียวกัน, หน้า 308.

19เรื่องเดียวกัน, หน้า 298.

20สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.maptaphutport.com [10 สิงหาคม 2554].

21สุมาลี สุขดานนท์. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย หน้า 310-311.

22บริษัท ท่าเรือระยอง จำกัด. Home. [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.portrbt.com/index.htm [10 สิงหาคม 2554].

23สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ. [สายตรง].

24ประชาชาติธุรกิจ. ศึกชิงท่าเรือระยอง "ชำนิ" VS "ณัฐภพ" สุดท้ายใครฮุบชิ้นปลา. [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.marinerthai.com/webboard/show.php?Category=news&No=2456 [7 กรกฎาคม 2552].

25สุมาลี สุขดานนท์. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. หน้า 312-313.

26สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ[สายตรง].

27สุมาลี สุขดานนท์. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. หน้า 314-315.

28บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน). ประวัติความเป็นมา [สายตรง]. แหล่งที่มา: http://www.pttar.com/company.asp?smenuid=2&shmenuid=&nlevel=1 [15 สิงหาคม 2554].

29สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ [สายตรง].

30สุมาลี สุขดานนท์. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. หน้า 320.

31สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ [สายตรง].

32สุมาลี สุขดานนท์. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. หน้า 321.

33สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ [สายตรง].

34สุมาลี สุขดานนท์. การศึกษาประเมินสถานภาพการใช้ท่าเรือไทย. หน้า 324-325.

35สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ [สายตรง].

36บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด. Home [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.pttlng.com/en/Default.aspx [15 สิงหาคม 2554].

37สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ [สายตรง].

38บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด. Map Ta Phut LPG Terminal-Project Composition [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.pttlng.com/en/pj_composition.aspx [15 สิงหาคม 2554].

39บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด. Home [สายตรง].

40สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ [สายตรง].

41บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด. เอกสารประกอบเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือและคลังสินค้าเหลว ในจังหวัดระยอง ของ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด-รายละเอียดโครงการ. [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.greener.co.th/news-attach/file/100428-230821-f.pdf [15 สิงหาคม 2554].

42บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) . ธุรกิจเอสซีจี/เอสซีจีเคมีคอลส์ [สายตรง] แหล่งที่มา: http://www.siamcement.com/th/02business_overview [17 สิงหาคม 2554].

43สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด. ผู้ประกอบการ-ท่าเรือเฉพาะกิจ [สายตรง].
ท่านคือผู้เข้าชมคนที่
สงวนลิขสิทธิ์ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 6 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10330 Email : tri@chula.ac.th