ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย(Silk Road Fund and The Asian Infrastructure Investment Bank)

จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์
ปีที่จัดทำ : พฤษภาคม 2562
ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย หรือ AIIB เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี (Multilateral Development Bank) เป็นองค์กรที่มีลักษณะคล้ายธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asia Development : ADB) มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อสนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการที่เหมาะสมต่อการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย นอกจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ AIIB ให้ความสนใจในโครงการด้านพลังงาน การคมนาคมและโทรคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานในชนบทและการพัฒนาการเกษตร การประปาและสุขาภิบาล การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเมืองและการขนส่ง และอื่นๆ1 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างความมั่งคั่งให้แก่สมาชิก2
AIIB เกิดขึ้นจากการร่วมตัวของประเทศต่าง ๆ ที่สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก และได้รับสิทธิออกเสียง (Voting Share) ตามสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่กำหนดขึ้น โดยประเทศจีนเป็นโต้โผใหญ่ในการจัดตั้ง และเชิญชวนนานาชาติเข้าเป็นสมาชิก จีนได้ลงทุนใน AIIB มากที่สุด มูลค่า 29.78 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และมีสิทธิออกเสียงร้อยละ 26.06 (10 อันดับผู้ถือหุ้นสูงสุดใน AIIB ดังตารางที่ 1)

Original publication Making Inroads: Chinese Infrastructure Investment in ASEAN and Beyond
Available from: https://www.inclusivedevelopment.net/wp-content/uploads/2017/03/2.-Asian-Infrastructure-Investment-bank-TH.pdf [17 December, 2018].
ในวันที่ 29 มิถุนายน 2558 ผู้นำและผู้แทนจากประเทศสมาชิก 57 ประเทศ (รายชื่อประเทศสมาชิกเริ่มต้นดังตารางที่ 2) ได้ร่วมลงนามเพื่อจัดตั้ง “ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย” เริ่มดำเนินการได้จริงในเดือนมกราคม 2559 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง ปัจจุบัน AIIB มีสมาชิกทั้งหมด 93 ประเทศ3 และมีสินทรัพย์สุทธิของสมาชิกรวมกันทั้งหมด ณ เดือน กันยายน 2561 จำนวน 19,366,105 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ

ที่มา: European Institute for One Belt One Road Cooperation and Development. One Belt One Road Initiative [Online]
Available from: http://www.euobor.org/index.php?app=OBOR[17 December, 2018].
ตารางที่ 2 สมาชิกร่วมก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย

Original publication Making Inroads: Chinese Infrastructure Investment in ASEAN and Beyond
Available from: https://www.inclusivedevelopment.net/wp-content/uploads/2017/03/2.-Asian-Infrastructure-Investment-bank-TH.pdf [17 December, 2018].
จีนต้องการเพิ่มบทบาทของตนในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก จึงเป็นสาเหตุหลักที่นำมาสู่จัดตั้ง AIIB โดยนักวิชาการได้วิเคราะห์และเปรียบเทียบสิทธิในการออกเสียงในธนาคาร/สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี 3 แห่ง คือ ธนาคารโลก (World Bank) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) พบว่า จีนมีสิทธิ์ออกเสียงคิดเป็น ร้อยละ 4.9 ร้อยละ 5.5 และร้อยละ 26.1 ตามลำดับ4 การออกเสียงและบริหารงานภายในธนาคารโลกและ ADB มีรายละเอียด ดังนี้
1) ธนาคารโลก
การออกเสียงของสมาชิกจะกระทำผ่านตัวแทนที่แต่ละประเทศที่แต่งตั้งให้เข้าร่วมสภาผู้ว่าการ (Board of Governors) ซึ่งจะมีน้ำหนักแตกต่างกันไปตามสัดส่วนผู้ถือหุ้นของประเทศนั้นๆ สำหรับการตัดสินใจในนโยบายสำคัญและการบริหาร จะกระทำผ่านคณะกรรมการบริหาร (Board of Executive Director) จำนวน 25 คน ซึ่งประกอบด้วย ประเทศสมาชิกที่ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร 5 คนที่เหลือเป็นกรรมการที่มาจากการเสนอโดยประเทศสมาชิกอื่น ๆ ที่รวมกลุ่มกันเสนอชื่อตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ การดำเนินงานตามแนวทางที่คณะกรรมการบริหารให้ความเห็นชอบจะอยู่ในความรับผิดชอบของประธานของกลุ่มธนาคารโลก ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานของทั้ง 5 สถาบันกลุ่ม ได้แก่
- ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development : IBRD)
- สมาพันธ์พัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA)
- บรรษัทการเงินลงระหว่างประเทศ (International Finance Corporation : IFC)
- สถาบันประกับการลงทุนแบบพหุพาคี (Multilateral Investment Guarantee Agency : MIGA)
- ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุน (International Center for Settlement of Investment Dispute : ICSID)
โดยผู้บริหารจะดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยธรรมเนียมปฏิบัติ ประธานกลุ่มธนาคารโลกจะเป็นบุคคลสัญญาติอเมริกัน ส่วนผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะถือสัญชาติในทวีปยุโรป5
2) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)
สัดส่วนอำนาจในการออกเสียงของ ADB ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการถือหุ้นของประเทศสมาชิก โดยญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการถือหุ้นเป็นอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 และเป็น 2 ประเทศหลักที่จัดตั้งธนาคารแห่งนี้ สำหรับด้านการบริหารอยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมการอำนวยการ (Board of Directors) จำนวน 12 ท่าน ซึ่งได้รับเลือกเป็นตัวแทนจากประเทศสมาชิกทั้ง 12 กลุ่ม โดยนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารแห่งนี้มา ตั้งแต่ พ.ศ.2509 ประธานของ ADB เป็นบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นทั้งสิ้น6
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบสิทธิ์ออกเสียงของจีนในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

publication was supported by Heinrich Böll Stiftung Southeast Asia Regional Office, McKnight Foundation และ Planet Wheeler Foundation
Available from: https://www.inclusivedevelopment.net/wp-content/uploads/2016/08/Making-Inroads-China-Infrastructure-Finance.pdf [17 December, 2018].
เนื่องจากทั้งสิทธิในการออกเสียงและสัดส่วนในการบริหารของจีนในธนาคารโลกและ ADB มีอยู่อย่างจำกัด ประกอบกับทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นล้วนเป็นประเทศที่มีข้อพิพาททางการค้าและอยู่ขั้วตรงกันข้ามกับจีน ดังนั้นการก่อตั้ง AIIB จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในฐานะแหล่งเงินทุนที่สำคัญ ที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาและลงทุนตามแนวทางและยุทธศาสตร์จีน โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ One Belt One Road
ตั้งแต่ปี 2559 – 2561 AIIB ได้อนุมัติการลงทุนในโครงการพัฒนาต่าง ๆ 34 โครงการ (ตารางที่ 5) จำแนกเป็นประเภทโครงการเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้
พลังงาน
โครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง พัฒนาและจัดการพลังงานในประเทศนั้น ๆ จำนวน 13โครงการ โดย 9 โครงการ เป็นการการสร้างและ/หรือพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศต่าง ๆ คือ บังคลาเทศ (3 โครงการ) อินเดีย (3 โครงการ) พม่า ทาจิกิสถาน และอียิปต์ ส่วนโครงการเกี่ยวกับพลังงานที่เหลือ 4 โครงการจะเกี่ยวกับการวางท่อก๊าซธรรมชาติในอาเซอร์ไบจาน และบังคลาเทศ การจัดเก็บก๊าซทั้งบนบกและใต้ผิวดินในตุรกี และการพัฒนาพลังงานทดแทนที่ตุรกี
สาธารณประโยชน์
โครงการที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น จำนวน 8 ประกอบด้วย การพัฒนาสลัมในอินโดนีเซีย การพัฒนาคุณภาพอากาศจากการลดใช้ถ่านหินในจีน โครงการตรวจสุขภาพอนามัยในอียิปต์ การจัดหาน้ำสะอาดในอินเดีย ที่เหลือ 4 โครงการ เป็นการจัดการน้ำในอินโดนีเซีย คือ การป้องกันและจัดการปัญหาน้ำท่วม การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ และการพัฒนาระบบชลประทาน
การขนส่งและคมนาคม
โครงการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและคมนาคมมี 8 โครงการ ซึ่งเป็นการพัฒนาเส้นทางถนน 5 โครงการ ในประเทศทาจิกิสถาน ปากีสถาน จอร์เจีย และอินเดีย (2 โครงการ) โครงการพัฒนาด้านพลังงานที่เหลือ 2 โครงการเป็นการสร้างรถไฟฟ้าในอินเดีย และพัฒนาท่าเรือในโอมาน
กองทุน
กองทุน 2 โครงการ คือ กองทุนสำหรับตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย และกองทุนเพื่อลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอินเดีย • การท่องเที่ยว 1 โครงการ คือ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในภูมิภาค Mandalika ของลอมบอก
โทรคมนาคม
โทรคมนาคม 1 โครงการ คือ วางระบบเครือข่ายใยแก้วนำแสงในโอมาน
การเงิน
การเงิน 1 โครงการ คือ พัฒนาระบบการจัดการสินเชื่อภายใน AIIB7
ตารางที่ 5 โครงการที่ได้รับการอนุมัติจากธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย AIIB











2) * Inclusive Development Internationalรุกคืบ: รุกคืบ – การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของจีนในอาเซียนและภูมิภาคอื่น [Online].
Original publication Making Inroads: Chinese Infrastructure Investment in ASEAN and Beyond
Available from: https://www.inclusivedevelopment.net/wp-content/uploads/2017/03/2.-Asian-Infrastructure-Investment-bank-TH.pdf [17 December, 2018].
ตารางที่ 6 โครงการที่ได้รับการอนุมัติจาก AIIB จำแนกตามภูมิภาคและประเทศ

https://www.aiib.org/en/projects/approved/2019/power-system-upgrade-expansion.html [1 April, 2019].
จากตารางที่ 5-6 แสดงให้เห็นว่า โครงการที่ AIIB อนุมัติเงินกู้ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงเดือนมีนาคม 2562 มีทั้งสิ้น 34 โครงการ ซึ่งมากกว่า 1 ใน 3 เป็นโครงการเกี่ยวกับพลังงานทั้งการสร้างโรงไฟฟ้า การวางท่อก๊าซธรรมชาติ และการสร้างพลังงานทดแทน รองลงมาเป็นการโครงการเกี่ยวกับสาธารประโยชน์ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น นอกจากนี้ AIIB ยังให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาเส้นทางถนนและการคมนาคมในประเทศต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน
ภูมิภาคเอเชียใต้ มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุด โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย มีจำนวนมากถึง 14 โครงการ ซึ่งไม่น่าแปลกใจเท่าใดนัก เนื่องจากอินเดียมีหุ้นใน AIIB เป็นอันดับที่ 2 รองจากจีน ส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโครงการท่ได้รับอนุมัติ 7 โครงการ โดย 5 ใน 7 โครงการ อยู่ในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีหุ้นใน AIIB เป็นอันดับที่ 7
ในฐานะที่ AIIB เป็น 1 ใน 2 ของแหล่งเงินทุนที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาโครงการภายใต้เส้นทางสายใหม่ ร่วมกับบริษัทกองทุนสายไหม (อ่านเพิ่มเติม บริษัทกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund Co., Ltd) ความแตกต่างของแหล่งเงินทุนทั้งสอง คือ ความคล่องตัวในการลงทุนตามบริบทและข้อกำหนดของหน่วยงาน เพราะบริษัทกองทุนสายไหม อยู่ในรูปบริษัทและเป็นของจีนทั้งหมด การอนุมัติการลงทุนและทำความตกลงกับคู่สัญญาจะมีความคล่องตัวสูงกว่า ในขณะที่ AIIB เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี ซึ่งเป็นองค์กรอันประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียง ดังนั้นการพิจารณาโครงการใด ๆ ย่อมเน้นเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนดีขึ้น ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติและตามเกณฑ์การออกเสียงก่อน นอกจากนี้ AIIB กำลังพัฒนาและเติบโตขึ้นเพื่อทำหน้าที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศหลักอีกแห่งหนึ่งของโลก ที่พร้อมที่จะตอบรับโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่สอดคล้องและตรงกับจุดมุ่งหมายขององค์กร
1 European Institute for One Belt One Road Cooperation and Development. One Belt One Road Initiative [Online] Available from: http://www.euobor.org/index.php?app=OBOR [17 December, 2018].
2Inclusive Development International. Making Inroads: Chinese Infrastructure Investment in ASEAN and Beyond [Online] publication was supported by Heinrich Böll Stiftung Southeast Asia Regional Office, McKnight Foundation และ Planet Wheeler Foundation
Available from: https://www.inclusivedevelopment.net/wp-content/uploads/2016/08/Making-Inroads-China-Infrastructure-Finance.pdf [17 December, 2018].
3AIIB. AIIB Financial Statements -2018 [Online]. https://www.aiib.org/en/about-aiib/financial-statements/index.html#statement [1 April, 2019].
4Development International. Making Inroads: Chinese Infrastructure Investment in ASEAN and Beyond [Online]. publication was supported by Heinrich Böll Stiftung Southeast Asia Regional Office, McKnight Foundation และ Planet Wheeler Foundation
Available from: https://www.inclusivedevelopment.net/wp-content/uploads/2016/08/Making-Inroads-China-Infrastructure-Finance.pdf [17 December, 2018].
5รอน ศิริวันสาณฑ์. ประเทศไทยกับองค์กรเศรษฐกิจระหว่างประเทศ [สายตรง]. เอกสารประกอบการสอนวิชาไทยกับเศรษฐกิจโลก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แหล่งที่มา : www.stou.ac.th/schoolsweb/sec/UploadedFile/60341-8.pdf [10 พฤษภาคม 2562) 2562].
%B9_EC362_%BA%B7%B7%D5%E8_2_%E0%B7%CD%C1_1_2557___%CD%D1%A1%C9%C3%C8%C3%D5_%BE%D2%B9%D4%AA%CA%D2%CA%EC%B9%5B1%5D.pdf [19 มีนาคม 2562].
6รอน ศิริวันสาณฑ์. ประเทศไทยกับองค์กรเศรษฐกิจระหว่างประเทศ [สายตรง]. เอกสารประกอบการสอนวิชาไทยกับเศรษฐกิจโลก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แหล่งที่มา : www.stou.ac.th/schoolsweb/sec/UploadedFile/60341-8.pdf [10 พฤษภาคม 2562].
7AIIB. PROJECT – Approved Project – List [Online]. https://www.aiib.org/en/projects/approved/2019/power-system-upgrade-expansion.html [1 April, 2019].