ท่าเรือย่างกุ้ง

จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์
ปีที่จัดทำ : เมษายน 2557
ท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือหลักของประเทศพม่าตั้งแต่พม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ปัจจุบันมีสินค้านำเข้า–ส่งออก ผ่านท่าเรือนำเข้าคิดเป็นร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งประเทศ1 ท่าเรือย่างกุ้งมีปริมาณเรือและสินค้าเพิ่มมากขึ้นมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2003–2012) ซึ่งประมาณร้อยละ 75 ของปริมาณเรือที่เทียบท่าเรือย่างกุ้งทั้งหมดเข้าเทียบในท่าเทียบเรือหลัก ได้แก่ ท่าเทียบเรือ Bo Aung Gyaw ท่าเทียบเรือ Sule Pagoda ท่าเทียบเรือ Ahlone ท่าเทียบเรือ MITT โดยสินค้านำเข้าและส่งออกอยู่ในอัตราใกล้เคียงกัน สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์การก่อสร้าง รถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ ส่วนสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ถั่ว อาหารทะเลสด ข้าวโพด ปัจจุบันสินค้าตู้ผ่านท่าเรือยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ใน ค.ศ. 2002 มีตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือเพียง 195,713 TEUs ใน ค.ศ. 2012 เพิ่มขึ้นเป็น 394,431 TEUs2
ความเป็นมาของท่าเรือ
ท่าเรือย่างกุ้งเดิมเป็นท่าเรือในหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ต่อมาใน ค.ศ. 1755 พระเจ้าอลองพญาเข้ามายึดครองและเริ่มมีประชาชนตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้ โดยชื่อท่าเรือตั้งตามชื่อเมืองย่างกุ้ง การพัฒนาท่าเรือย่างกุ้งปรากฏอย่างชัดเจนจนกลายเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและการค้าในช่วงสงครามอังกฤษ–พม่า (Anglo–Burmese Wars) ซึ่งเกิดขึ้น 3 ครั้ง3ในช่วงสงครามอังกฤษ–พม่า ครั้งที่ 1 (ค.ศ.1824–1826) อังกฤษยึดครองท่าเรือแห่งนี้เพื่อใช้ในกิจการของอังกฤษ และส่งคืนแก่รัฐบาลพม่าเมื่อสงครามจบลง4 และในสงครามอังกฤษ–พม่า ครั้งที่ 2 (ค.ศ.1852–1853) และครั้งที่ 3 (ค.ศ.1885–1886) อังกฤษยึดครองท่าเรือแห่งนี้อีกครั้ง โดยในช่วงนี้มีการก่อตั้ง Commissioners for the Port of Rangoon ขึ้นใน ค.ศ.1880 เพื่อบริหารและจัดการท่าเรือ อังกฤษได้สร้างสาธารณรูปโภคพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เช่น ไฟฟ้า โรงพยาบาล วิทยาลัย สวนสาธารณะ เป็นต้น ส่งผลให้มีการหลั่งไหลเข้ามาของประชากร และมีสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่าเรือแห่งนี้ถูกครอบครองโดยญี่ปุ่น ทำให้ท่าเรือถูกโจมตีและได้รับความเสียหายอย่างหนัก และเมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง ท่าเรือจึงเป็นอิสระจากการยึดครองของต่างประเทศตั้งแต่ ค.ศ. 1948 การพัฒนาท่าเรือถูกกำหนดโดยรัฐบาลพม่า โดยใน ค.ศ. 1954 มีการจัดตั้ง Board of Management for the Port of Rangoon เข้ามาบริหารจัดการท่าเรือ และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน่วยงานที่ดูแลท่าเรืออีกครั้งใน ค.ศ.1972 คือ Burma Ports Corporation จนกระทั่ง ค.ศ. 1989–ปัจจุบัน หน่วยงานที่รับผิดชอบในท่าเรือย่างกุ้ง คือ Myanmar Port Authority5

ที่มา: Myanmar Port Authority. History of MPA [Online] The Encyclopedia of War.
Available from: http://www.mpa.gov.mm/index.php?option=com_content&view=article&id=9&Itemid=9&lang=en [6 March, 2014].
ทำเลที่ตั้งของท่าเรือ
ท่าเรือย่างกุ้งตั้งอยู่ที่ ละติจูด 16° 47′ เหนือ ลองกิจูด 96° 15′ ตะวันออก ตอนกลางริมฝั่งแม่น้ำย่างกุ้ง ณ เมืองย่างกุ้ง6 อยู่ห่างจากจุดช้างบนอ่าวเมาะตะมะ (Elephant Point on the Gulf of Martaban) เข้าไปในแม่น้ำเป็นระยะทาง 32 กิโลเมตร เรือที่มีขนาดใหญ่กว่า 200 grt ต้องมีการนำร่อง โดยสถานีนำร่องตั้งอยู่ห่างจากจุดช้างในอ่าวเมาะตะมะออกไปในทะเล 32 กิโลเมตร7

ที่มา : Ministry of Transport, Myanmar. SERVICES–PORT OF YANGON [Online].
Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].

ที่มา : Ramasamy, V.; Rao, P.S.; Rao, K.H.; Thwin Swe, Rao, N.S.; Raiker, V. Tital influence on suspended sediment distribution and dispersal
in the northern Andaman Sea and Gulf of Martaban. Mar. Geol. 208; 2004; 33-42.
Available from: http://www.nio.org/index/option/com_nomenu/task/show/tid/85/sid/92/id/75 [6 March, 2014].
การบริหารและประกอบการท่าเรือ
ตั้งแต่ ค.ศ. 1989 ท่าเรือย่างกุ้งบริหารจัดการโดย Myanmar Port Authority (MPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคม (Ministry of Transport)8 MPA นอกจากบริหารจัดการท่าเรือย่างกุ้งแล้วยังบริหารท่าเรือในเขตและรัฐอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เขตอิรวดี เขตตะนาวศรี รัฐยะไข่ และรัฐมอญ (ดูแผนผังโครงสร้างองค์กร MPA)

ที่มา : ภาพถ่ายโดยผู้เขียน 14 พฤษภาคม 2556.

ที่มา : Ministry of Transport, Myanmar. Organization [Online]. Available from: www.mot.gov.mm/mpa/organization.html [6 March, 2014].
สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือ
ร่องน้ำเข้าสู่ท่าเรือย่างกุ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ร่องน้ำด้านนอก (Outer Bar) เริ่มที่ปากแม่น้ำย่างกุ้ง และร่องน้ำด้านใน (Inner Bar) บริเวณจุดลิง (Monkey Point) ใกล้กับท่าเรือย่างกุ้ง9 ท่าเรือย่างกุ้งสามารถรับเรือขนาด 167 เมตร กินน้ำลึก 9 เมตร ขนาด 15,000 dwt สำหรับท่าเรือติละวา (Thilawa) ซึ่งเป็นท่าเรือย่อยท่าหนึ่งในท่าเรือย่างกุ้งสามารถรับเรือขนาด 20,000 dwt ที่มีความยาวไม่เกิน 200 เมตร และกินน้ำลึก 9 เมตร10

ที่มา: Ministry of Transport, Myanmar. Services/Yangon River Estuary and Approches[Online].
Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].

ที่มา: Aung Khin Myint. Myanmar Logistics System[Online].
Available from: http://www.aec.com.mm/download/presentations/LOGISTICSPRESENTATIONFORUAungKhinMyint.pdf [6 March, 2014].
ท่าเรือย่างกุ้งประกอบด้วยท่าเทียบเรือที่ตั้งเรียงรายอยู่ตลอดฝั่งแม่น้ำย่างกุ้งจำนวน 9 ท่า ซึ่งมี หน่วยงานรัฐหรือเอกชน เป็นเจ้าของและ/หรือเป็นผู้บริหารประกอบการท่าเรือ โดย Myanmar Port Authority เป็นเจ้าของท่าเทียบเรือมากที่สุด คือ จำนวน 4 ท่า ส่วนหน่วยงานอื่นๆ เป็นเจ้าของท่าเรือ หน่วยงานละ 1 ท่า ได้แก่
• Myanmar Economic Corporation
• Asia World Port Management
• Myanmar Industrial Port
• Myanmar Five Star Line
• Myanmar Integrated Port Ltd
รายละเอียดของท่าเทียบเรือแต่ละท่า มีดังนี้
1) ท่าเทียบเรือ Hteedan (Hteedan Berth)
ท่าเทียบเรือ Hteedan เป็นท่าเทียบเรือของเอกชนท่าแรกก่อสร้างขึ้นใน ค.ศ. 199611 โดยมี Myanmar Economic Corporation (MEC) เป็นเจ้าของ MEC เป็นหน่วยงานธุรกิจที่ภายใต้กระทรวงกลาโหมของพม่า MEC ลงทุนในกิจการหลากหลายประเภท อาทิ การค้าระหว่างประเทศ การเกษตร การผลิต โรงแรมและการท่องเที่ยว อัญมณี การถลุงแร่ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ การสื่อสารโทรคมนาคม12 ท่าเทียบเรือ Hteedan จึงก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้ขนถ่ายสินค้าทั่วไปในกิจการของ MEC
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2010 ได้มีการลงนามในสัญญาโครงการพัฒนาท่าเรือ Hteedan (Hteedan Wharves Development Project) ระหว่าง บริษัท Shwe Nar Wah กับ MEC โดยบริษัท Shwe Nar Wahได้รับสัมปทาน 30 ปี เพื่อก่อสร้างและพัฒนาท่าเรือ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
– ระยะที่ 1 การก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำมัน และท่าเทียบเรือสินค้าตู้
– ระยะที่ 2 การก่อสร้างท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ เพื่อขนถ่ายสินค้าเทกอง และสินค้าอื่นๆ
ปัจจุบันการก่อสร้างมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง และมีเรือเข้าเทียบท่าครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 201113

ที่มา : Shwe Nar Wah Co.,Ltd. Development of Hteedan Wharves Project [Online].
Available from: http://www.aseanportsassociation.org/wp-content/uploads/2010/11/CountryPaper-Myanmar.pdf [16 March, 2014].

ที่มา : Asia World Company Limited. Infrastructure[Online].
Available from: http://asiaworldmm.com/hteedanPort.html#Hteedan04 [16 March, 2014].
2) ท่าเทียบเรือ Hteedan Rice (Hteedan Rice Berth)
ท่าเทียบเรือ Hteedan Rice มีความยาวท่า 139 เมตร ความกว้างหน้าท่า 12.5 เมตร และโรงพักสินค้ามีพื้นที่ 6,689 ตารางเมตร ท่าเทียบเรือนี้ใช้ขนส่งข้าว และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยมี Myanmar Port Authority เป็นเจ้าของ ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 ท่าเทียบเรือแห่งนี้ถูกรื้อถอนเพื่อก่อสร้างและพัฒนาท่าเทียบเรือใหม่ตามแผนโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือ Hteedan ร่วมท่าเทียบเรือ Hteedan ของ Myanmar Economic Corporation14

ที่มา : Shwe Nar Wah Co.,ltd. Development of Hteedan Wharves Project [Online].
Available from: http://www.aseanportsassociation.org/wp-content/uploads/2010/11/CountryPaper-Myanmar.pdf [16 March, 2014].
3) ท่าเทียบเรือ Ahlone (Ahlone Wharf หรือ AW)
ท่าเทียบเรือ Ahlone เป็นท่าเทียบเรือที่ก่อสร้างด้วยเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยมี Asia World Port Management ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Asia world Port Terminal (AWPT) เป็นเจ้าของ15 ท่าเทียบเรือ Ahlone ประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 3 ท่า มีความยาวหน้าท่ารวม 614 เมตร ใช้สำหรับขนสินค้าตู้และสินค้าทั่วไป16 โดยรายละเอียดของท่าเทียบเรือย่อยมีดังนี้
• AW 1 มีความยาวท่า 198 เมตร ความกว้างหน้าท่า 30.5 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 43,630 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 2,676 ตารางเมตร17 เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 1998 และแล้วเสร็จวันที่ 24 พฤษภาคม 200218
• AW 2 มีความยาวท่า 156 เมตร ความกว้างหน้าท่า 19.5 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 3,483 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 1,895 ตารางเมตร19 เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน 1996 และแล้วเสร็จวันที่ 24 พฤษภาคม 200120
• AW 3 มีความยาวท่า 260 เมตร ความกว้างหน้าท่า 30.5 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 7,928 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 1,895 ตารางเมตร21 เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2001 และแล้วเสร็จวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 200622
สภาพทั่วไปท่าเทียบเรือ Ahlone
ที่มา: Myanma Port Authority. Handling Wharfs of Myanma Port Authority[Onli
Available from:http://myanmaportauthority.com/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=1&Itemid=126&lang=en [6 March, 2014].
4) ท่าเทียบเรือ Myanmar Industrial Port (MIP)
ท่าเทียบเรือ Myanmar Industrial Port มีความยาวท่า 310 เมตร ความกว้างหน้าท่า 18 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 102,385 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 6,140 ตารางเมตร23 นอกจากนี้ท่าเทียบเรือยังประกอบด้วย ICD (Inland Container Depot) จำนวน 3 แห่ง โดย ICD แห่งที่ 1 และ 2 มีขีดความสามารถรวม 10,000 TEUs และแห่งที่ 3 มีขีดความสามารถ 6,000 TEUs24 ท่าเรือเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 200325 ท่าเทียบเรือนี้ใช้ขนถ่ายสินค้าตู้และสินค้าทั่วไป โดยมี Myanmar Industrial Port เป็นเจ้าของ26
ท่าเทียบเรือ MIP เป็นท่าเทียบเรือที่ลงทุนโดยรัฐ27 แต่บริหารและประกอบการโดยบริษัท Myanmar Annawar Swan Ah Shin Groups (MAS) ซึ่งก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2003 เพื่อบริหารและประกอบการท่าเรือแห่งนี้ คณะกรรมการบริหารของ MAS มาจากหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน เช่น State Peace and Development Council กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม28

ที่มา : Myanmar Industrial Port. Gates & Terminals [Online].
Available from: http://www.myanmarindustrialport.com/gate_terminals.php [6 March, 2014].
5) ท่าเทียบเรือ Sule Pagoda (Sule Pagoda Wharves หรือ SPW)
ท่าเทียบเรือ Sule Pagoda เป็นท่าเทียบเรือเก่าแก่แห่งหนึ่งของพม่า สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1912 เพื่อขนถ่ายและเก็บรักษาสินค้าเกษตร ท่าเทียบเรือแห่งนี้จึงมีโรงพักสินค้าหลังท่าเทียบเรือย่อยแต่ละท่า29 ท่าเทียบเรือ Sule Pagoda นับเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในท่าเรือย่างกุ้งประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อยถึง 7 ท่า มีความยาวหน้าท่ารวม 1,027 เมตร ใช้สำหรับขนสินค้าทั่วไป โดยมีเจ้าของท่าเรือ คือ Myanmar Port Authority รายละเอียดของท่าเทียบเรือย่อย ดังนี้30
• SPW 1 มีความยาวท่า 137 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 6,968 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 5,017 ตารางเมตร
• SPW 2 มีความยาวท่า 137 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 5,574 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 5,202 ตารางเมตร
• SPW 3 มีความยาวท่า 137 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 10,684 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 3,855 ตารางเมตร
• SPW 4 มีความยาวท่า 137 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 3,252 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 6,689 ตารางเมตร
• SPW 5 มีความยาว 160 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 6,039 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 17,595 ตารางเมตร
• SPW 6 มีความยาวท่า 160 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 3,252 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 16,062 ตารางเมตร
• SPW 7 มีความยาวท่า 158.5 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 1,042 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 13,099 ตารางเมตร


ที่มา : Ministry of Transport, Myanmar. INVITATION TO PROPOSAL OF BAG LOADING PLANT (SHIP LOADER) [Online].
Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 April, 2014].
6) สะพานเทียบเรือ Port Health (Port Health Jetty)
สะพานเทียบเรือ Port Health มีความยาว 91 เมตร ความกว้าง 12.2 เมตร และมีโรงพักสินค้าพื้นที่ 4,366 ตารางเมตร ท่าเทียบเรือนี้ใช้บรรทุกขนถ่ายสินค้าทั่วไป โดยมี Myanmar Port Authority เป็นเจ้าของท่าเรือ31
7) ท่าเทียบเรือ Bo Aung Gyaw (Bo Aung Gyaw Wharves หรือ BAGW)
ท่าเทียบเรือ Bo Aung Gyaw ประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 3 ท่า มีความยาวหน้าท่ารวม 457 เมตร โดยมี Myanmar Port Authority เป็นเจ้าของ รายละเอียดของท่าเทียบเรือย่อย ดังนี้32
• BAGW 1 มีความยาวท่า 137 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร ขนถ่ายสินค้าตู้และสินค้าทั่วไป
• BAGW 2 มีความยาวท่า 137 เมตร ความกว้างหน้าท่า 15.2 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 48,000 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 400 ตารางเมตร ขนถ่ายสินค้าตู้และสินค้าทั่วไป
• BAGW 3 มีความยาวท่า 183 เมตร ความกว้างหน้าท่า 30 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานสินค้ากลางแจ้ง 10,684 ตารางเมตร ขนถ่ายสินค้าตู้

ที่มา : Irrawaddy Publishing Group. Auction of State Assets Depressing Burmese Private Sector [Online]. THE IRRAWADDY Friday, April 1, 2011
Available from: http://www2.irrawaddy.org/article.php?art_id=21058 [6 March, 2014].
8) ท่าเทียบเรือ Thaketa (Thaketa Wharves)
ท่าเทียบเรือ Thaketa ประกอบด้วยท่าเทียบเรือย่อย 2 ท่า มีความยาวและความกว้างหน้าท่าเท่ากัน คือ 106.2 เมตร และ 19.5 เมตร ตามลำดับ พื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 16,294 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 4,462 ตารางเมตร เจ้าของท่าเรือ คือ Myanmar Five Star Line ซึ่งเป็นสายเรือแห่งชาติของรัฐบาลพม่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1959 เพื่อตอบสนองความต้องการด้านขนส่งของการนำเข้าส่งออกสินค้า ใน ค.ศ. 2010 MFSL แปรรูปเป็นองค์กรของรัฐ (State owned organization) ภายใต้ชื่อ Myanmar Economic Holding Limited เพื่อให้สามารถบริหารและจัดการได้คล่องตัวมากขึ้น33 ปัจจุบันสายเรือนี้มีกองเรือจำนวน 22 ลำ มีขีดความสามารถในการขนส่งสินค้ารวม 138,388 ตัน34
ท่าเทียบเรือ Thaketa เป็นท่าเรือเอนกประสงค์ สามารถขนถ่ายสินค้าได้หลากหลาย ได้แก่ สินค้าทั่วไป สินค้าชายฝั่ง ผู้โดยสาร35 ใน ค.ศ. 1997 มีการปรับปรุงท่าเรือและเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐานสากล โดยสามารถรับเรือความยาว 100 เมตร กินน้ำลึกลึก 5.75 เมตร ได้พร้อมกัน 2 ลำ36

ที่มา: Myanma Five Star Line. WHARFS–Thaketa Wharf [Online].
Available from: http://www.mfsl-shipping.com/five_star/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=13 [6 March, 2014].
9) ท่าเทียบเรือ MIPL (Myanmar Integrated Port Limited หรือ MIPL Wharf)
ท่าเทียบเรือ MIPL เป็นท่าเรือเอกชน ซึ่งมีบริษัท Austin Navigation Asia Pte. Ltd., (สายเดินเรือของสิงคโปร์) และบริษัท Boustead and Wah Seong (กลุ่มบริษัทในมาเลเซีย) เป็นเจ้าของ ท่าเทียบเรือเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ ค.ศ. 1998 โดยสินค้าที่ผ่านท่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทั่วไป ได้แก่ ยานยนต์ และน้ำมันสำหรับบริโภค37
ท่าเทียบเรือ MIPL มีความยาวท่า 200 เมตร ความกว้างหน้าท่า 17 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 20,000 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 3,000 ตารางเมตร38 ปัจจุบันการพัฒนาท่าเทียบเรือแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา39 โดยเป็นท่าเทียบเรือหมายเลข 4 ในท่าเรือติละวา40

ที่มา: The European Times. Top-Performing Port Expanding Its Facilities And Services [Online].
Available from: www.european-times.com/countries/Myanmar–integrated-port-limited/ [6 April, 2014].
แผนพัฒนาท่าเรือในอนาคต
ตั้งแต่รัฐบาลพม่าเปิดประเทศ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในพม่า รวมทั้งมีเงินทุนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในด้านต่าง ๆ ดังนั้นรัฐบาลพม่าจึงได้ปรับปรุงกฎระเบียบและมีมาตรการส่งเริมการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายการลงทุนต่างชาติ (Foreign Investment Law) ฉบับใหม่ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 โดยสาระสำคัญในกฎหมายฉบับนี้ ได้กำหนดรูปแบบการลงทุน สิทธิพิเศษ สิทธิในการเช่าที่ดิน การจ้างพนักงาน ฯลฯ ให้มีความยืดหยุ่นต่อการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น41 ในด้านการพัฒนาท่าเรือย่างกุ้ง ใน ค.ศ. 2010 ได้มีโครงการก่อสร้างสะพานเทียบเรือใหม่ในท่าเรือย่างกุ้ง จำนวน 13 แห่ง มีโครงการปรับปรุงและพัฒนาท่าเทียบเก่าหลายท่า และเปิดโอกาสให้เอกชนและนักลงทุนชาวต่างประเทศเข้ามาร่วมทุนกับหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของพื้นที่ในท่าเรือมากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่มา: Aung Khin Myint Myanmar Logistics System [Online].
Available from: http://www.aec.com.mm/download/presentations/LOGISTICSPRESENTATIONFORUAungKhinMyint.pdf [6 March, 2014].
1. การพัฒนาท่าเทียบเรือ Hteedan และ ท่าเทียบเรือ Hteedan Rice อยู่ในโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือ Hteedan (Hteedan Wharves Development Project) ซึ่งมีการลงนามเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2010 โดยมี บริษัท Shwe Nar Wah เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ในการปรับปรุงท่าเทียบเรือให้ทันสมัย สามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าได้มากขึ้น โดยท่าเทียบเรือ Hteedan จะพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า ส่วนท่าเทียบเรือ Hteedan Rice จะทำการรื้อท่าเทียบเรือเดิม เนื่องจากอยู่ในสภาพชำรุดและทรุดโทรมมาก และก่อสร้างใหม่เพื่อให้สามารถขนถ่ายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้42
2. การพัฒนาท่าเทียบเรือ Ahlone โดยบริษัท Asia World Port Management ซึ่งเป็นเจ้าของท่าเทียบเรือมีแผนจะปรับปรุงท่าเทียบเรือย่อยที่ 1–3 และดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือย่อยที่ 4 เพิ่มเติม โดยโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือแห่งนี้ มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาของท่าเทียบเรือ Hteedan เนื่องจากบริษัทผู้เป็นเจ้าของท่าเรือทั้งสองแห่งเป็นบริษัทเครือบริษัทเดียวกัน43 สำหรับท่าเทียบเรือย่อยที่ 4 ที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่มีความยาวหน้าท่า 241.8 เมตร ความลึกหน้าท่า 9 เมตร สามารถรับสินค้าขนาด 1,5000 dwt โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2006 และปัจจุบันยังกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง44

ที่มา: Myanmar Port Authority. Home-Port Information-Port Development & Modernization [Online].
Available from: http://www.mpa.gov.mm/index.php?option=com_content&view=article&id=126&Itemid=111&lang=en [17 April, 2014].
3. การพัฒนาท่าเรือติละวา ซึ่งมีแผนจะพัฒนาทั้งหมด 37 แปลง (plot) ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa Special Economic Zone) ซึ่งรัฐบาลพม่าได้กำหนดให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ เขตเศรษฐกิจพิเศษประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เขตอุตสาหกรรมพิเศษติละวา (Thilawa Special Industrial Zone) และท่าเทียบเรือน้ำลึกติละวาประกอบด้วย
• ท่าเทียบเรือ MIPL หรือท่าเทียบเรือที่ 4 ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่มีอยู่เดิม จะพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
• ท่าเทียบเรือ MITT ได้แก่ ท่าเทียบเรือที่ 5–9 เป็นท่าเทียบเรือที่ก่อสร้างใหม่ทั้งหมด โดยมีกลุ่มบริษัท Hutchison Port Holding Group เป็นผู้ได้รับสัมปทานในการพัฒนาท่าเทียบเรือ ซึ่งคาดว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ
ท่าเรือติละวาจะสามารถสนับสนุนการนำเข้าและส่งออกของโรงงานอุตสาหกรรมต่างในเขตอุตสาหกรรมพิเศษติละวาที่ดำเนินการก่อสร้างไปพร้อม ๆ กับท่าเทียบเรือ ท่าเทียบเรือ MITT มีความยาวท่า 1,000 เมตร ความกว้างหน้าท่า 30 เมตร และพื้นที่เก็บรักษาสินค้า ประกอบด้วย ลานกลางแจ้ง 500,000 ตารางเมตร และโรงพักสินค้า 20,000 ตารางเมตร45 ท่าเทียบเรือมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 190 ไร่46

ที่มา: Hutchison Port Holdings Limited. Myanmar International Terminals Thilawa (MITT) – Layout [Online].
Available from: http://www.hph.com/globalbusiness/business.aspx?gid=110 [6 March, 2014].


1Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon [Online]. Available from:http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].
2Aung Khin Myint. Myanmar Logistics System [Online]. Available from: http://www.aec.com.mm/download/presentations/LOGISTICSPRESENTATIONFORUAungKhinMyint.pdf [6 March, 2014].
3World Port Source. Port of Yangon [Online]. Available from: http://www.worldportsource.com/ports/review/MMR_Port_of_Yangon_2341.php [6 March, 2014].
4Douglas M. Peers. Anglo–Burmese Wars (1823–1826, 1852–1853, 1885–1886) [Online] The Encyclopedia of War. Available from: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/9781444338232.wbeow021/abstract [6 March, 2014].
5Ministry of Transport, Myanmar. History/History of MPA [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/history.html [6 March, 2014].
6Ministry of Transport, Myanmar. Services/Yangon River Estuary and Approaches [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].
7Ministry of Transport, Myanmar. Services/Vessel Size [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].
8Ministry of Transport, Myanmar. Objectives [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/policies.html [6 March, 2014].
9Ministry of Transport, Myanmar. Services/Yangon River Estuary and Approches [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].
10Ministry of Transport, Myanmar. Services/Vessel Size [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].
11Asia World Company Limited. Infrastructure [Online]. Available from: http://asiaworldmm.com/hteedanPort.html#Hteedan04 [16 March, 2014].
12The Center for Media and Democracy. Myanmar Economic Corporation [Online]. Available from: http://www.sourcewatch.org/index.php/Myanmar_Economic_Corporation[16 March, 2014].
13Shwe Nar Wah Co. Ltd. Development of Hteedan Wharves project [Online]. Available from: http://www.aseanportsassociation.org/wp-content/uploads/2010/11/CountryPaper-Myanmar.pdf [16 March, 2014].
14Shwe Nar Wah Co.,ltd. Development of Hteedan Wharves project [Online]. Available from: http://www.aseanportsassociation.org/wp-content/uploads/2010/11/CountryPaper-Myanmar.pdf [16 March, 2014].
15Ministry of Transport, Myanmar. SERVICES–DEVELOPMENT AND MODERNIZATION OF YANGON PORT [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].
16Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
17Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
18Myanmar Port Authority. Home-Port Information-Port Development & Modernization [Online]. Available from: http://www.mpa.gov.mm/index.php?option=com_content&view=article&id=126&Itemid=111&lang=en [17 April, 2014].
19Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
20Myanmar Port Authority. Home-Port Information-Port Development & Modernization [Online]. Available from: http://www.mpa.gov.mm/index.php?option=com_content&view=article&id=126&Itemid=111&lang=en [17 April, 2014].
21Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
22Myanmar Port Authority. Home-Port Information-Port Development & Modernization [Online]. Available from: http://www.mpa.gov.mm/index.php?option=com_content&view=article&id=126&Itemid=111&lang=en [17 April, 2014].
23Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
24Myanmar Industrial Port. About US [Online]. Available from: http://www.myanmarindustrialport.com/about_us.php [6 March, 2014].
25Ministry of Transport, Myanmar. SERVICES–DEVELOPMENT AND MODERNIZATION OF YANGON PORT [Online]. Available from:http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].
26Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
27Ministry of Transport, Myanmar. SERVICES–DEVELOPMENT AND MODERNIZATION OF YANGON PORT [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/ygn_ports.html [6 March, 2014].
28Myanmar Industrial Port. Inland Container Depot [Online]. Available from: www.myanmarindustrialport.com/inland_container_depot.php [6 March, 2014].
29Ministry of Transport, Myanmar. INVITATION TO PROPOSAL OF BAG LOADING PLANT (SHIP LOADER) [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 April, 2014].
30Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
31Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
32Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
33Myanma Five Star Line. Home [Online]. Available from: http://www.mfsl-shipping.com/five_star/ [6 March, 2014].
34Myanma Five Star Line. Principal Activities [Online]. Available from: http://www.mfsl-shipping.com/five_star/index.php?option=com_content&view=article&id=13&Itemid=22 [6 March, 2014].
35Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
36Myanma Five Star Line. WHARFS -Thaketa Wharf [Online]. Available from: http://www.mfsl-shipping.com/five_star/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=13 [6 March, 2014].
37The European Times. Top-Performing Port Expanding Its Facilities and Services [Online]. Available from:www.european-times.com/countries/myanmar-integrated-port-limited/ [6 April, 2014].
38Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from:http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
39สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ผะอัน-เมียวดี-เมาะละแหม่ง- ทวาย [สายตรง]. Available from: http://www.nesdb.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=UsPv7zvm%2BAc%3D&tabid=210&mid=735 [6 เมษายน 2557].
40The European Times. Top-Performing Port Expanding Its Facilities and Services [Online]. Available from: http://www.european-times.com/countries/myanmar-integrated-port-limited/ [6 April, 2014].
41บริษัท LS Horizon Limited. ข้อแนะนําเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาร์ ฉบับวันที่ 2 พ.ย. ค.ศ. 2012 [สายตรง]. แหล่งที่มา : http://www.thaiembassy.org/yangon/contents/files/business-20121120-102047-651947.pdf [17 April, 2014].
42Shwe Nar Wah Co.,ltd. Development of Hteedan Wharves project [Online]. Available from: http://www.aseanportsassociation.org/wp-content/uploads/2010/11/CountryPaper-Myanmar.pdf [16 March, 2014].
43Shwe Nar Wah Co.,ltd. Development of Hteedan Wharves project [Online]. Available from: http://www.aseanportsassociation.org/wp-content/uploads/2010/11/CountryPaper-Myanmar.pdf [16 March, 2014].
44Myanmar Port Authority. Home-Port Information-Port Development & Modernization [Online]. Available from: http://www.mpa.gov.mm/index.php?option=com_content&view=article&id=126&Itemid=111&lang=en [17 April, 2014].
45Ministry of Transport, Myanmar. Services/Port of Yangon/Port Facilities [Online]. Available from: http://www.mot.gov.mm/mpa/port_facilities.html [6 March, 2014].
46สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ผะอัน-เมียวดี-เมาะละแหม่ง- ทวาย [สายตรง]. Available from: http://www.nesdb.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=UsPv7zvm%2BAc%3D&tabid=210&mid=735 [6 เมษายน 2557].