จัดทำข้อมูลโดย : สุมาลี สุขดานนท์ ท่องเที่ยวมากกว่าการขนส่งสินค้า เส้นทางสำคัญที่ใช้ในการขนส่งในประเทศเวียดนามมีทั้งสิ้น 55 เส้นทาง ประกอบด้วยภาคเหนือ 17 เส้นทาง ภาคกลาง 10 เส้นทาง และภาคใต้ 18 เส้นทาง โครงข่ายเส้นทางขนส่งทางน้ำ โครงข่ายแม่น้ำในภาคเหนือ หรือโครงข่ายสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแดง แม่น้ำสายสำคัญในโครงข่ายนี้ ได้แก่ แม่น้ำแดง และแม่น้ำถายบิ้ง และแม่น้ำลุค ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางธรรมชาติมีทั้งสิ้น 55 เส้นทาง มีความยาวรวมกัน 2,753 กิโลเมตร แม่น้ำในภาคเหนือมีความกว้างเฉลี่ย 3060 เมตร และความลึกเฉลี่ย 1.53.6 เมตร ความแตกต่างของความลึกระหว่างฤดูฝน คือ พฤษภาคม ตุลาคม และฤดูแล้ง คือ พฤศจิกายน พฤษภาคม ความลึกเฉลี่ย 57 เมตร ช่วงฤดูฝนกระแสน้ำเชี่ยวกราก ส่วนฤดูแล้งแม่น้ำตื้นเขิน อีกปัญหาหนึ่ง คือ การทับถมของตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำ เกิดบ่อย มีผลทำให้แม่น้ำตื้นเขินอย่างรวดเร็ว ![]() รูปที่ 1 โครงข่ายแม่น้ำในภาคเหนือ ที่มา : World Bank Report No. 4341VN Northern Delta Transport Development Project, May 19, 2008. โครงข่ายแม่น้ำในภาคใต้ หรือโครงข่ายสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำโขง และแม่น้ำด่งนาย โครงข่ายสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อมต่อโดยอาศัยระบบคลองที่ขุดขึ้นเป็นหลัก เส้นทางการขนส่งมี 80 เส้นทาง มีความยาวรวมกัน 3,017 กิโลเมตร เส้นทางที่สำคัญ คือ โฮจิมินห์ไปยังสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขง ร่องน้ำมีความเหมาะสมในการเดินเรือมากกว่าภาคเหนือ แม่น้ำในภาคใต้มีความกว้างเฉลี่ย 30100 เมตร และความลึกเฉลี่ย 2.54 เมตร ในฤดูฝนอาจลึกถึง 6 เมตร สันดอนเกิดขึ้นไม่มากนัก ![]() รูปที่ 2 โครงข่ายแม่น้ำในภาคกลาง ที่มา : World Bank Report No. 39432VN Mekong Delta Infrastructure Transport Development Project, April 23, 2008. โครงข่ายแม่น้ำในภาคกลาง แม่น้ำสายสำคัญในโครงข่ายการขนส่งทางลำน้ำในภาคกลางได้แก่ แม่น้ำลัม แม่น้ำดาซัง และแม่น้ำทู้โบน ลักษณะทั่วไปของแม่น้ำในภาคกลาง คือ ไหลจากภูเขาในทิศตะวันตกไปลงทะเลในทิศตะวันออก จึงเป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ และสั้น สูงชัน มีน้ำตกอยู่เป็นจำนวนมาก เส้นทางขนส่งมีความยาวรวมกัน 804 กิโลเมตร ไม่เชื่อมต่อกัน ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำเชี่ยวกราก ในฤดูแล้งตื้นเขิน ท่าเรือที่ใช้ในการขนส่งทางลำน้ำ ท่าเรือในแม่น้ำที่ใช้ในการขนส่งประกอบด้วยท่าเรือสินค้า 73 ท่า ภาคเหนือมีท่าเรือ 41 ขีดความสามารถรับเรือขนาด 200 3,000 dwt ภาคใต้มีท่าเรือ 26 ท่า ขีดความสามารถรับเรือขนาด 300 5,000 dwt และภาคกลางมีท่าเรือ 6 ท่า ขีดความสามารถรับเรือขนาด 300 1,000 dwt นอกจากนี้ยังมีท่าเรือโดยสาร 21 ท่า ตั้งอยู่ภาคเหนือ 6 ท่า ขีดความสามารถรับเรือขนาด 100 200 ที่นั่ง และภาคใต้ 16 ท่า ขีดความสามารถรับเรือขนาด 100 ที่นั่ง สำหรับภาคกลางไม่มีท่าเรือโดยสาร รายละเอียดดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2
การพัฒนาการขนส่งทางลำน้ำ แม่น้ำในประเทศเวียดนามมีความยาวทั้งสิ้น 220,000 กิโลเมตร เป็นเส้นทางคมนาคมประมาณ 41,900 กิโลเมตร อยู่ภายใต้ภายการบริหารจัดการของรัฐบาลกลาง 6,612 กิโลเมตร และรัฐบาลท้องถิ่น 8,824 กิโลเมตร รวมเส้นทางคมนาคมที่ได้รับการบริหารจัดการ 15,436 กิโลเมตร (ตารางที่ 3)
หน่วยงานรัฐบาลกลางที่รับผิดชอบการพัฒนาเส้นทางขนส่งทางน้ำหลักได้แก่ Vietnam Inland Waterways Administration (VIWA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงคมนาคม VIWA ได้จัดแบ่งชั้นลำน้ำออกเป็น 6 ชั้นและเรือที่ใช้ในการขนส่งทางลำน้ำโดยจำแนกตามภูมิภาคของประเทศดังตารางที่ 4 และ 5 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงและยกระดับลำน้ำ การพัฒนาการขนส่งทางลำน้ำซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ VIWA มีทั้งสิ้น 34 โครงการรายละเอียดดังตารางที่ 6 จำแนกตามภูมิภาคดังนี้ ภาคเหนือ มีเส้นทางเดินเรือ 55 เส้นทาง ความยาว 2,753 กิโลเมตร ปัญหาที่สำคัญ คือ แม่น้ำอยู่ในชั้นที่แตกต่างกัน คดเคี้ยว ดังนั้นการพัฒนาเส้นทางขนส่งจึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแม่น้ำสายเดียวกันให้อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน โครงการพัฒนามีทั้งสิ้น 11 โครงการ ภาคใต้ มีเส้นทางเดินเรือ 80 เส้นทาง ความยาว 3,017 กิโลเมตร อุปสรรคสำคัญต่อการเดินเรือ คือ ความสูงของสะพาน รัศมีความโค้งแม่น้ำ และการบุกรุกของประชาชนเพื่อสร้างบ้านเรือนตามฝั่งแม่น้ำ โครงการพัฒนามีทั้งสิ้น 13 โครงการ เป็นโครงการปรับปรุงกายภาพของแม่น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งความกว้างของแม่น้ำ และการรื้อถอนสะพานที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ ภาคกลาง แม่น้ำในภูมิภาคนี้มีข้อจำกัดเรื่องความลึก และไหลลงจากที่สูงชัน ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินเรือ สามารถเดินเรือได้เฉพาะช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 20 กิโลเมตรใกล้ปากแม่น้ำ จึงไม่มีโครงข่ายเส้นทางเดินเรือดังเช่นภูมิภาคอื่น การขนส่งจึงมุ่งเน้นที่การใช้ประโยชน์ในเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก โครงการพัฒนามีทั้งสิ้น 13 โครงการ
1Japan International Cooperation Agency (JICA) and Ministry of Transport, Vietnam, The Comprehensive Study on the Sustainable Development of Transport System in Vietnam, Subsector Report No. 04 Inland Waterway Transportation, chapter 2, p.1 [Online]. Available from: http://open_jicareport.jica.go.jp/pdf/11999984_01.pdf [6 December, 2016]. 2เรื่องเดียวกัน, บทที่ 2 หน้า 13. 3Japan International Cooperation Agency (JICA) and Ministry of Transport, Vietnam, The Comprehensive Study on the Sustainable Development of Transport System in Vietnam, Subsector Report No. 04 Inland Waterway Transportation, (2010) chapter 2, p.2 3. |
|