ชื่อโครงการ : การศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ท่าเรือระหว่างประเทศของไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ชื่อนักวิจัย : ผศ.ดร. จิตติชัย รุจนกนกนาฏ, สุมาลี สุขดานนท์ และ วิรชา สุขสิริวรบุตร
เดือนปีที่เสร็จสิ้นโครงการ : พฤษภาคม 2556 (ปรับปรุงครั้งที่ 1 - ธันวาคม 2556)

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ท่าเรือระหว่างประเทศของไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ท่าเรือระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ได้จริง การศึกษานั้นประกอบไปด้วยการสำรวจภาคสนามที่ท่าเรือไทย 9 แห่ง คือ ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือบีเอ็มที แปซิฟิค ท่าเรือทีพีที ท่าเรือยูนิไทย ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือศรีราชา ท่าเรือเคอรี่สยามซีพอร์ต ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรือน้ำลึกสงขลา โดยผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวม 39 ท่าน ทั้งผู้บริหารท่าเรือ และเจ้าหน้าที่ศุลกากร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อทราบถึงภาพรวมการดำเนินงาน ปัญหาที่พบ และแนวทางพัฒนาของท่าเรือ และได้ทำแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อทบทวนและประเมินปัญหาการดำเนินงาน และข้อคิดเห็นที่มีต่อการใช้บริการท่าเรือต่าง ๆ รวมถึงได้สำรวจภาคสนามที่ท่าเรือสิงคโปร์เพื่อใช้เป็นท่าเรือต้นแบบในการพัฒนาท่าเรือไทย โดยท้ายที่สุดได้มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางปรับปรุงท่าเรือไทย ผลจากงานวิจัยนี้นำมาซึ่งข้อเสนอแนะการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ท่าเรือไทย ทั้งในภาพรวมและรายท่าเรือ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการวางแผนงาน พัฒนาระบบที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้

คำหลัก :การขนส่งสินค้าทางทะเล, สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า, การบริหารจัดการท่าเรือ, การปฏิบัติงานศุลกากร, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


Project Title : Study of Trade Facilitation at Thailand’s International Ports according to ASEAN Economic Community
Investigator : Assistant Professor Dr. Jittichai Rudjanakanoknad, Sumalee Sukdanont, Wiracha Suksirivoraboot
Month and Year : May 2013 (1st Revision - December 2013)

Abstract

        This research investigates the existing trade facilitation at Thailand’s international ports to understand obstacles and seek a practical development plan to improve and prepare them according to the ASEAN Economic Community. The study consists of field data collection at 9 international ports in Thailand, i.e., Bangkok (Klongtoey), BMT Pacific, TPT, Unithai, Laemchabang, Sriracha Harbour, Kerry Siam Seaport, Mabtaphut Industrial, and Songkhla. 39 Stakeholders including port operators, customs officers, freight forwarders, shipping agents, ship liner, other government officials as well as importers/exporters were interviewed to understand existing situation, obstacles, and ways to improve the goods movement process. In addition, questionnaires were distributed to freight forwarder companies to review and evaluate port management, facilities and customs procedures. Next, Singapore port, as a good practice example, was surveyed to find the gaps between it and Thailand’s ports and is used as a guideline to improve efficiency at Thailand’s ports. Lastly, port stakeholders were invited in a focus group to gather their comments. The findings from this research lead to realistic suggestions of how to improve trade facilitation at Thailand ports, both in overall and individual ports, to prepare Thailand for ASEAN Economic Community.

Key Words :Maritime Transportation, Trade Facilitation, Port Management, Customs Procedures, ASEAN Economic Community.

อ่านงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ที่ห้องสมุดสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สงวนลิขสิทธิ์ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 6 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ ฯ 10330 Email : tri@chula.ac.th