บทสรุปสําหรับผู้บริหาร การประเมินผลลัพธ์โครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เป้าหมายของกระทรวงคมนาคม ตามตัวชี้วัดที่ 1.1.1

หัวหน้าโครงการ

กรมทางหลวงชนบท, สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


แหล่งทุน

กรมทางหลวงชนบท


วัตถุประสงค์

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หมวดที่ 8 กําหนดให้ส่วนราชการต้องประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อแสดงถึงผลสัมฤทธิ์ของงานว่าตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่ คุณภาพและความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่โดยวัดจาก ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) รวมถึงการสํารวจความพึงพอใจของผู้รับบริการและความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรกับประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กําหนดกรอบการประเมินผลตามคํารับรองการปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ 2555 ให้กรมทางหลวงชนบทแสดงถึงผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยมีการกําหนดเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบด้านคุณภาพ ความคุ้มค่า ความเชื่อมั่น และความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการในภารกิจของกรมทางหลวงชนบท โดยคัดเลือกโครงการต่างๆ เสนอในคํารับรองการปฏิบัติราชการ การประเมินผลตามคํารับรองการปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2555 เพื่อให้ สอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงและนโยบายสําคัญ / พิเศษของรัฐบาล กรมทางหลวงชนบทจึงได้พัฒนาระบบโลจิสติกส์ตามเป้าหมายของกระทรวงคมนาคม เพื่อรองรับและยกระดับการให้บริการของสายทางตามยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ที่มีความสําคัญ


เผยแพร่

ตุลาคม 2555



[seed_social]
งานวิจัยก่อนหน้า
รายงานการศึกษาวิเคราะห์งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการค้าการขนส่งชายแดน
งานวิจัยถัดไป
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร การประเมินผลระดับความสําเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการดําเนินการ ก่อสร้างทางหลวงเปรียบเทียบกับแผนงาน ตัวชี้วัดที่ 4.1
Google Map
ท่านคือผู้เข้าชมคนที่
Visit counter For Websites
นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566
Facebook
Twitter