สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัด Graduate Research Academy ในหัวข้อ Inclusive Urban Mobility in Developing Countries.
สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรม Graduate Research Academy ในหัวข้อ Inclusive Urban Mobility in Developing Countries ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการ “International Knowledge Platform: Urban Mobility and Urban Logistics in Southeast Asia” เมื่อวันที่ 13 – 17 พฤษภาคม 2567 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาช่องทางการสร้างเครือข่ายและโอกาสความร่วมมือทางวิชาการกับอาจารย์ นักวิจัย และนักวิจัยรุ่นเยาว์จากมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ ที่มีความสนใจเกี่ยวกับงานวิจัยหัวข้อดังกล่าว เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของนักวิจัยรุ่นใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีงานวิจัยในหัวข้อ Inclusive Urban Mobility in Developing Countries จำนวน 19 คน
กิจกรรมในวันแรก วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2567
ช่วงเช้า ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง เป็นผู้กล่าวแนะนำโครงการและผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จากนั้น Prof. Hirono Kato จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้บรรยายในหัวข้อ “Exploration of Study Topics” เป็นการบรรยายเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้วิจัยได้ดำเนินงานวิจัยในสิ่งที่ตนสนใจ
ช่วงบ่าย มีกิจกรรมสำหรับให้ผู้เข้าร่วมได้นำเสนองานวิจัยของตนเอง ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Urban Mobility and Urban Logistics และมีกิจกรรมกลุ่มโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มและมีอาจารย์ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เป็นผู้คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำประจำกลุ่ม
กิจกรรมในวันที่สอง วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567
ช่วงเช้า รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้บรรยายในหัวข้อ “Experiences in research career/ how to develop research career?” พร้อมกับวิทยากรอีก 5 ท่านได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์, Dr.Lisa Kenny, Dr.Irawan Zudhy, Dr.Daniel Del Barrio Alvarez และ ดร.ประสงค์ชัย เศรษฐสุรวิชญ์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถวางแผนในการนำงานวิจัยที่ตนเองสนใจ ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อประกอบอาชีพในอนาคต
ช่วงบ่าย ได้มีการจัดกิจกรรม Amazing Race โดยให้ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่ม เรียนรู้และวางแผนการเดินทางไปยังจุดหมายที่กำหนด ผ่านการเดินทางหลากหลายรูปแบบทั้งขนส่งสาธารณะ รถยนต์ เรือ เพื่อให้ได้รู้จักกรุงเทพมหานครมากขึ้น โดนเริ่มต้นเดินทางจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ไปยัง Museum Siam ท่าเรือราชินี ปากตลองตลาดและไปสิ้นสุดยังสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา
กิจกรรมในวันที่สาม วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567
ช่วงเช้า ออกเดินทางไปเยี่ยมชมออฟฟิศของ มูฟมี (MuvMi) ซึ่งให้บริการโดยบริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด โดยมี Supapong Kitiwattanasak Co-founder และ Tawit Sangveraphunsiri Operation manager บรรยายถึงแรงบันดาลใจ ในการจัดตั้งบริษัทและการให้บริการรถสามล้อไฟฟ้าสาธารณะขึ้น รวมไปถึงมีการให้เยี่ยมชมภายในสถานที่ของบริษัท
ช่วงบ่าย หลังจากเดินทางกลับจากการเยี่ยมชม Muvmi ได้มีการบรรยายในหัวข้อ International Research Network Collaboration Experiences โดยมีวิทยากรที่ให้เกียรติในการบรรยายคือ Prof. Hirono Kato, Prof. Alexis Fillone, Dr.Veng Kheang Phun, Dr. Nguyen Hoang Tung and Dr.Phathinan Thaithatkul มาแบ่งปันแนวทางในการวิจัย
กิจกรรมในวันสุดท้าย วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567
มีการบรรยายในหัวข้อ Publication Process โดย Prof.Marlon Boarnet และได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอโปสเตอร์ทของตนเองที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ Inclusive Urban Mobility in Developing Countries โดยมีคณะอาจารย์ให้คำแนะนำในการทำวิจัย
รับชมวีดีโอบรรยากาศตลอดงาน